• Hero
  • Original
  • Writer
  • About us
  • คุยกับสส
  • The Persona
  • Interview
  • Thai Treasure
  • Homeland
  • On this day
  • News
  • Home
  • Editor Picks
  • Goods
  • Good Business
  • Good Product
  • Good Society
  • Business
  • Politics
  • Lifestyle
  • Home
  • Technology
  • Culture
  • Social
  • Enviroment
  • Sport

Subscribe to Updates

Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

What's Hot

การแพทย์สุดก้าวหน้า มนุษย์ไร้หัวใจคนแรกของโลก ดำรงชีพได้แม้ปราศจากชีพจร

13/01/2022

เซฟอย่างสวย ! หนุ่มสวมวิญญาณ ผู้รักษาประตู พุ่งปัดบอล ไม่ให้โดนผู้หญิง

13/01/2022

รวมพลคนรัก “ในหลวง ร.9” ในงาน “หัวหินบ้านของพ่อ” ที่อุทยานราชภักดิ์ 5 ธ.ค.นี้

30/11/2021
Facebook Twitter Instagram
Facebook Twitter Instagram
The PublisherThe Publisher
  • News
    • Politics
    • Business
    • Lifestyle
    • Technology
    • Culture
    • Social
    • Enviroment
    • Sport
  • Good
    • Good Business
    • Good Product
    • Good Society
  • Hero
  • Interview
  • Original
    • The Persona
    • Thai Treasure
  • Writer
    • Homeland
    • On this day
  • About us
The PublisherThe Publisher
You are at:Home » Blog » ครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
On this day

ครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

06/10/20211 Min Read
Facebook Twitter
เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 หรือ การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการปราบปรามอย่างรุนแรงถึงชีวิตของตำรวจและการลงประชาทัณฑ์ของกำลังกึ่งทหารและคนมุงฝ่ายขวา ต่อนักศึกษาและผู้ประท้วงฝ่ายซ้าย ในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง
 
เป็นการปิดฉากการประท้วง การเดินขบวนและการยึดพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของนักศึกษา กรรมกรและผู้ประท้วงซึ่งต่อต้านการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2519
 
ในวันที่ 6 ตุลาคม ตำรวจใช้อาวุธสงครามปราบปรามการประท้วง ตามด้วยกลุ่มฝ่ายขวาที่ลงประชาทัณฑ์ในลักษณะร่วมมือกับตำรวจ
 
เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ สถิติพบผู้เสียชีวิต 46 คนที่มีการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี และถูกเผา
 
แต่สถิติไม่เป็นทางการจากมูลนิธิป๋วยคาดว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน ภายหลังโครงการบันทึก 6 ตุลา พบว่าหนึ่งใน 41 ผู้ประท้วงนั้นเสียชีวิตหลังจากถูกคุมขัง ทำให้จำนวนผู้ประท้วงเสียชีวิตเป็น 40 คน และ ผู้ก่อการเสียชีวิต 5 คน
 
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา (พ.ศ. 2516) ทำให้รัฐบาลทหารหมดอำนาจ บ้านเมืองมีบรรยากาศเสรีภาพ และเกิดการเฟื่องฟูของความคิดฝ่ายซ้ายต่าง ๆ ตลอดจนการประท้วงของกรรมกรและชาวนาอยู่เนือง ๆ ร่วมกับความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง
 
กลุ่มฝ่ายขวาต่าง ๆ ซึ่งรู้สึกกังวลกับชัยของคอมมิวนิสต์ในประเทศเพื่อนบ้าน ใช้วิธีการก่อกวนขบวนการฝ่ายซ้ายจนมีผู้เสียชีวิตอยู่หลายโอกาส ขณะเดียวกัน มีฝ่ายกองทัพอย่างน้อยสองฝ่ายพยายามวางแผนให้เกิดรัฐประหารอีกครั้ง
 
โดยฝ่ายหนึ่งใช้วิธีการนำตัว “สามทรราช” กลับประเทศเพื่อหวังให้เกิดสถานการณ์บานปลาย วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับประเทศ และบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จฯ เยี่ยม นักศึกษาปักหลักประท้วงที่สนามหลวง และย้ายไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน
 
ในวันที่ 4 ตุลาคม นักศึกษาจัดการแสดงล้อเหตุฆ่าคนงานฝ่ายซ้ายที่จังหวัดนครปฐม วันที่ 5 ตุลาคม มีการตีพิมพ์ข่าวการแสดงดังกล่าว โดยมีสื่อฝ่ายขวาลงว่าบุคคลที่ถูกแขวนคอนั้นมีใบหน้าคล้ายกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เป็นผลให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น ท่ามกลางสื่อฝ่ายขวาที่โหมปลุกความเกลียดชังอยู่ต่อเนื่อง มีผู้ประท้วงอยู่ในมหาวิทยาลัยราว 4,000 คน และมีตำรวจและคนมาล้อมไว้ราว 8,000 คน
 
เหตุการณ์ 6 ตุลาและรัฐประหารเป็นจุดสิ้นสุดของ “ยุคการทดลองประชาธิปไตย” ซึ่งมีอายุไม่ถึงสามปี และกระแสสังคมนิยมเสื่อมลง มีการตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลมีความคิดขวาจัดและเกิดการกวาดล้างฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรงทำให้บางส่วนหนีไปเข้ากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
 
ทำให้การก่อการกำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น การเมืองต่อจากนี้ไม่มีกระทบผลประโยชน์ของชนชั้นนำอีก ไม่มีกระบวนการสอบสวนความจริงและชดเชยแก่ญาติผู้เสียหายของรัฐ มีแกนนำผู้ประท้วง 19 คนถูกฟ้องฐานพยายามก่อจลาจล แต่สุดท้ายรัฐบาลนิรโทษกรรมในปี 2521 รัฐบาลใช้วิธีการปล่อยให้สังคมลืม
 
เมื่อถึงประมาณพุทธทศวรรษ 2530 มติมหาชนเปลี่ยนมาเห็นใจนักศึกษามากขึ้นแล้วแต่สังคมยังคาดหวังให้เงียบเพื่อความสมานฉันท์ของบ้านเมือ
 
#OnThisDay
#ThePublisher #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม
#picks #Onthisday #ThePublisher
admin
  • Website

Related Posts

UNESCO รับรอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ-พระยาศรีสุนทรโวหาร ขึ้นเป็นบุคคลสำคัญของโลก

By admin17/11/2021

ต้อนรับเปิดประเทศ !! เยาวชน SEED Thailand ไอเดียสร้างสรรค์ แต่งเพลง “คิดถึงหัวหิน”

By admin01/11/2021

สร้างประวัติศาสตร์นักกีฬาไทยคนแรก พงศกร แปยอ คว้าทองที่ 3 800 เมตรชาย รุ่น T 53 ทำลายสถิติพาราลิมปิก

By admin08/10/2021

สืบ นาคะเสถียร วีรบุรุษผู้ใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่ออนุรักษ์สัตว์ และผื่นป่า

By admin08/10/2021

Leave A Reply Cancel Reply

Demo
Editor Choices

คนไทยรู้หรือไม่ ?เทศกาล กินเจไม่มีในประเทศจีน!เปิดประวัติการถือศิลกินเจในประเทศไทย

Culture 08/10/2021

“ขอให้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรือง สถาพร สืบไป” นักเรียนไทยในจีน โพสต์คลิปอวยพร วันชาติจีน เนื่องในโอกาสครบรอบ 72 ปี ส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน

Culture 07/10/2021

ศาสตร์พระราชา ‘โคกหนองนา’ สุโขทัย รอดพ้นวิกฤติน้ำท่วม จากการจัดการพื้นทึ่ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่

News 06/10/2021

ในหลวง โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง “มูลนิธิภูบดินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์”เป้าหมายพัฒนาความเป็นอยู่ให้กับประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ดินของรัฐทุกประเภท

Good Society 06/10/2021
Trendy

การแพทย์สุดก้าวหน้า มนุษย์ไร้หัวใจคนแรกของโลก ดำรงชีพได้แม้ปราศจากชีพจร

Hero 13/01/2022
Facebook Twitter Instagram TikTok

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.