แพทย์–นักวิชาการเดือด! ต้าน ทอท. ดันห้องสูบบุหรี่ในสนามบิน “ถอยหลังเข้าควัน” ทำไทยเสียภาพลักษณ์ หวั่นรื้อกฎหมายย้อนยุค ทำลายเขตปลอดบุหรี่ในสุวรรณภูมิ
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2568 ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย (สสท.) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ รวมพลังยื่นหนังสือถึง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ค้านเต็มตัวต่อแผนของ ทอท. ที่เสนอให้ “แก้กฎหมาย” เพื่ออนุญาตให้สร้าง “ห้องสูบบุหรี่ในอาคาร SAT-1” สนามบินสุวรรณภูมิ
⸻
เตือนแรง! แค่คิดจะย้อนกลับ “ห้องสูบ” ก็ผิดหลักการสุขภาพโลก
ประเทศไทยได้ยกเลิกห้องสูบบุหรี่ในอาคารสนามบินมาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้โดยสารจากควันบุหรี่มือสอง และเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ การแก้กฎหมายเพื่อเปิดทางให้กลับมาใช้ห้องสูบ จึงเป็นการ “ถอยหลังในนโยบายสาธารณสุข”
⸻
3 ข้อเสนอคัดง้าง ทอท. – ชี้ทางเลือกที่ไม่ต้องสูบ
รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า ผอ.สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย เสนอแนวทางแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ในพื้นที่เปลี่ยนเครื่องของอาคาร SAT-1 โดยไม่ต้องสร้างห้องสูบบุหรี่ ต่อคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ดังนี้
1. ชะลอการแก้กฎหมาย – ขอให้ชะลอการพิจารณาปรับแก้ประกาศกระทรวงฯ และให้ ทอท. อนุญาตให้มีการวิจัยสำรวจพฤติกรรมการลักลอบสูบบุหรี่ในพื้นที่พักคอยเปลี่ยนเครื่องก่อน Transit Area ก่อน
2. เปลี่ยนเป็น “ห้องไร้ควัน” – ใช้ห้องสำหรับให้บริการสารทดแทนนิโคติน เช่น หมากฝรั่งนิโคติน, Snus หรือยา cytisine ให้กับผู้โดยสารที่ต้องการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คุ้มค่ากว่าการสร้างห้องสูบบุหรี่
3. ห้องสูบต้องอยู่นอกอาคารเท่านั้น – หากยังยืนยันจะมีห้องสูบบุหรี่ ต้องตั้งอยู่นอกอาคารสนามบิน ตามกฎหมายเดิม เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนและภาพลักษณ์ประเทศ
⸻
เสียงเตือนจากวิชาการ: อย่าให้ไทยเสียศักดิ์ศรีบนเวทีโลกเพราะ “ห้องสูบ”
นักวิชาการเตือนว่า หากรัฐยอมแก้กฎหมายตามข้อเสนอ ทอท. จะไม่สอดคล้องกับนโยบายที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบในอนาคต #ThePublisherTH#สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม#สนามบินสุวรรณภูมิ#ถอยหลังเข้าควัน#ทอท#เขตปลอดบุหรี่ #สาธารณสุข #ห้องสูบบุหรี่ในสนามบิน#ห้องสูบบุหรี่ในอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ