.
ในการทำสงคราม นอกจากกระสุน ระเบิด อาวุธครบมือและกำลังพลของทหาร ก็ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถคร่าชีวิตมนุษย์ได้อย่างเลือดเย็น นั่นก็คือ สารเคมีอันตราย ซึ่งมันมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ในระยะยาว ทั้งทำลายระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังได้รับความเสียหาย เกิดแผลพุพอง เสียโฉม อาจหนักถึงขั้นทำให้เหยื่อตาบอด และหากสารเหล่านี้ตกค้างไปถึงอวัยวะภายใน ส่งผลต่อร่างกายก็อาจรักษาไม่หายไปตลอดชีวิต
.
ซึ่งความอันตรายของอาวุธเคมี ไม่สามารถมองเห็นหรือรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสทั่วไป มันไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และคาดการณ์ไม่ได้ อาวุธเคมีที่มีความเข้มข้นสูงอาจสร้างผลกระทบให้ระบบร่างกายโดยที่มนุษย์ไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำ จึงทำให้หลาย ๆ ประเทศต่างก็เป็นกังวลเพราะไม่อยากให้มวลมนุษยชาติต้องตกอยู่ในอันตรายใต้น้ำมือของผู้หวังกุมอำนาจ เกิดเป็นการร่างอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาระหว่างประเทศเพื่อความปลอดภัย โดยมีผลบังคับใช้เมื่อปี 2540 ทำให้เกิดการสถาปนาองค์การห้ามอาวุธเคมี (Organization for the Prohibition of Chemical Weapons-OPCW) ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดองค์กรอิสระไม่ฝักใฝ่การเมืองขึ้นในโลกเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อาวุธเคมี
.
กว่า 192 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยและสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบัน และได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีนี้ด้วยเช่นเดียวกัน
.
อ้างอิงข้อมูล : ไทยรัฐ , ICRC
- Original
- Urban Culture
- Writer
- About us
- คุยกับสส
- The Persona
- Brief
- Thai Treasure
- Urban life
- On this day
- News
- Home
- Editir pick
- Good
- Persona
- Persona
- Urban
- Business
- Politics
- Playlist
- Home
- People Voice
- Culture
- นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
- Urban Wealth
- Law
- Update
- I’m Youth Ranger
- Urban History
- Issues
- Check
Subscribe to Updates
Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.
📌 (On This Day) 💬 รู้หรือไม่ วันนี้เมื่อ 27 ปีที่แล้ว หรือวันที่ 29 เมษายน 2540 ได้มีการร่วมทำอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
1 Min Read