จากกรณีของนางเอกสาว “จ้าวลู่ซือ” ถูกวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ว่ากำลังป่วยเป็น ‘Conversion disorder’ หลายคนอาจเกิดความสงสัยว่า ‘Conversion disorder’ คืออะไร วันนี้ The Publisher จะมาไขข้อข้องใจ พร้อมพาทุกคนไปรู้จักกับโรคนี้กัน
Conversion disorder เป็นกลุ่มโรคริตเวชที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว เช่น เดินไม่ได้ ตัวสั่น เดินเซ หรือ มีความผิดปกติในประสาทสัมผัส เช่น ชามือ ชาเท้า รวมทั้งความผิดปกติในการได้ยินเสียงหรือเห็นภาพ เป็นโรคที่มีความสูญเสีย หรือเปลี่ยนแปลงในการทำงานของร่างกายส่วนที่อยู่ใต้การควบคุมจิตใจ

โดยอาการของโรคแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอาการหลัก และ 1 กลุ่มอาการร่วม ได้แก่
- อาการด้านประสาทสัมผัส แสดงออกโดยมีอาการชาหรือความรู้สึกเปลี่ยนไป มักพบที่มือ เท้า อาการจะไม่เข้ากับอาการชาที่เกิดจากโรคทางระบบประสาทแต่มักจะสะท้อนถึงสัญลักษณ์หรือความหมายในจิตใจ เช่น มือเท้าชา ซึ่งการชาครึ่งซีกก็มักจะครึ่งซีกพอดี ไม่เป็นไปตามการกระจายของเส้นประสาทจริง ๆ
- อาการด้านการเคลื่อนไหว แสดงออกโดยมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น โยกตัวโอนเอนไปมา เดินไม่ได้ แขนขาไม่มีแรง เดินกระตุก มือสั่น ตัวสั่น
- อาการชัก หรือ เรียกว่า อาการชักเทียม ผู้ป่วยจะมีอาการชักเกร็ง ดิ้นสะเปะสะปะ และมักจะรู้สึกตัวดีระหว่างชัก ต่างกับการชักของโรคลมชัก ซึ่งมักจะชักเกร็ง กระตุก ไม่รู้สึกตัวระหว่างชัก หรือมีการเปลี่ยนแปลงของระดับสติ ผู้ป่วยมักขะไม่มีอาหารบาดเจ็บจากการชัก ไม่พบการกัดลิ้น ปัสสาวะราด หรืออันตรายจากการชัก
- อาการผิดปกติของการรับสัมผัสพิเศษ ผู้ป่วยมีอาการหูไม่ได้ยิน ตามองไม่เห็น หรือมองเห็นเฉพาะด้านหน้าตรง ๆ พูดไม่มีเสียง การตรวจจะไม่พบความผิดปกติของอวัยวะดังกล่าว แต่จะพบอาการเกิดขึ้นโดยมีเหตุกระตุ้นทางจิตใจ ซึ่งก่อนให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งในจิตใจจนรับไม่ไหว
โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยด้านจิตใจ ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เชื่อว่าเกิดจากการเก็บกด ความกังวล
2. ปัจจัยด้านชีวภาพ มีรายงานการศึกษาบ่งชี้ถึงปัจจัยด้านชีวภาพ ได้แก่
- จากการศึกษาภาพรังสีสมอง พบสมองซีกเด่นทำงานน้อยแต่ซีกด้อยทำงานมากกว่าปกติแสดงถึงความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างสมองสองซีก
- อาการอาจเกิดจากสมองบริเวณ cortex มีการตื่นตัวมาก จนยับยั้งกระแสประสาทที่มาจากก้านสมอง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกของร่างกายได้อย่างแท้จริง
- ในการตรวจด้านจิตประสาท บางครั้งพบความผิดปกติในด้านการสื่อความหมาย ความจำ ความรู้สึกตื่นตัวระแวดระไว ลักษณะอารมณ์ที่ไม่ต่อเนื่องสอดคล้อง (incongruity) และความสามารถในการใส่ใจ แสดงว่ามีความผิดปกติในการทำงานของสมอง
การรักษา
เป้าหมายคือการทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Secondary gain เพราะจะทำให้โรคเรื้อรัง และเพิ่มความยุ่งยากในการรักษา การบอกผู้ป่วยตรง ๆ ว่าตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ เป็นจากอุปาทานไปเองหรือแม้แม้แต่บอกว่าอาการเกิดจากจิตใจ มักจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น แต่กลับจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกในด้านลบ เป็นผลทำให้สัมพันธภาพในการรักษาแย่ลง
ดังนั้น ผู้รักษาควรมีท่าทีอ่อนโยนเข้าใจและเห็นใจร่วมกับแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในตนเองและชักจูงให้ผู้ป่วยเชื่อว่าอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าผู้ป่วยมี secondary gain มาก ควรทำพฤติกรรมบำบัดและปรับสภาพแวดล้อม เพื่อลดผลประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ อาการของผู้ป่วยโดยมากมักเป็นไม่นาน การรักษาโดยจิตบำบัดระยะสั้นมักได้ผลดี โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีจิตพยาธิสภาพไม่รุนแรงหรือซับซ้อนมากนัก
.
อ้างอิงข้อมูล : สำนักวิชาพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ThePublisherTH #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #Conversiondisorder #จ้าวลู่ซือ #ZhaoLusi
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
https://thepublisherth.com/