- Original
- Urban Culture
- Writer
- About us
- คุยกับสส
- The Persona
- Brief
- Thai Treasure
- Urban life
- On this day
- News
- Home
- Editir pick
- Good
- Persona
- Persona
- Urban
- Business
- Politics
- Playlist
- Home
- People Voice
- Culture
- นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
- Urban Wealth
- Law
- Update
- I’m Youth Ranger
- Urban History
- Issues
- Check
Subscribe to Updates
Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.
Author: Writer Publisher
“ผมไม่ได้บอกว่าฝุ่นควันในเชียงใหม่เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้ผมกลายเป็นมะเร็งปอด เพราะก็มีคนอื่นที่สูดฝุ่นเหมือนกัน การเกิดมะเร็งในปอดผมมันเกิดจากหลายปัจจัยรวมๆ กัน โดยเฉพาะตัวหลักคือกรรมพันธุ์ของครอบครัวผมแต่กรรมพันธุ์มันก็เหมือนกับลูกโม่ที่อยู่ในปืนแหละครับ ส่วนสิ่งแวดล้อมที่เราเจอมันก็เหมือนคนลั่นไกปืนนั้น เราเปลี่ยนพันธุกรรมและสายเลือดเราไม่ได้ก็จริง แต่เราน่าจะจัดการกับสิ่งแวดล้อมได้นะครับเพราะผมเองก็ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าเรื่องฝุ่นควันนี่แหละที่เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งปอดครับ” เป็นส่วนหนึ่งหมอกฤตไท ธนกฤตสมบัติ เล่าเรื่องราวไว้ผ่านเฟซบุ๊กเพจ “สู้ดิวะ” หลังพบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะลุกลามช่วงปลายปี 2565 ก่อนจากไปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ด้วยวัยเพียง 29 ปีเท่านั้น การจากไปของ “หมอกฤตไท” นำมาซึ่งความตื่นตัวในการเรียกร้อง “อากาศสะอาด” อยู่พักใหญ่ ก่อนกระแสจะจางจายไป พร้อมเรื่องใหม่ ๆ เข้ามาทดแทน The Publisher ตรวจสอบสถานะของ พ.ร.บ.อากาศสะอาด ซึ่งถือเป็นความหวังในการต่อสู้กับฝุ่น PM2.5 หลังการจากไปของหมอกฤตไท ครบรอบ 1 ปี ในวันที่ 5 ธันวาคม พบว่า ไทม์ไลน์การขับเคลื่อนกฎหมายฉบับนี้มีการผ่านสภาฯวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 โดย กมธ.ฯ พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ฉบับที่ 8 ซึ่งรวบรวมจาก 7 ฉบับก่อนหน้า เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติ ซึ่งกลางเดือนธันวาคมนี้ จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จากนั้นปลายเดือนธันวาคม นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ วาระที่ 2 และ 3 ก่อนชงเข้าวุฒิสภาในช่วงต้นปี 2568 และคาดว่าจะประกาศใช้บังคับได้ภายในปีเดียวกัน 1 ปีกับการจากไปของ “หมอกฤตไท” ประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่กับฤดูเผา-ฤดูฝุ่น กับความหวังว่า ปัญหาจะไม่รุนแรงยิ่งขึ้น จนเราต้องเป็นประชาชนที่อยู่ในประเทศที่ต้องซื้ออากาศหายใจ อย่างที่ “หมอกฤตไท” เคยตั้งคำถามไว้. ThePublisherTH #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #หมอกฤตไท #พรบอากาศสะอาด #มะเร็งปอด
“พะยูน” สัตว์ทะเลหายากที่เปรียบเสมือน “นางเงือก” แห่งท้องทะเลไทย กำลังเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ ที่ส่งเสียงเตือนถึงความเสียหายของระบบนิเวศทางทะเลอย่างรุนแรง ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในช่วง 3 วันแรกของเดือนธันวาคม 2567 มีพะยูนตายไปแล้วถึง 5 ตัว นับเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะเมื่อรวมกับสถิติการตายของพะยูนในปี 2566 และปี 2567 (จนถึงเดือนพฤศจิกายน) พบว่ามีพะยูนตายไปแล้วกว่า 80 ตัว! ตัวเลขที่สูงขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เรื้อรังและทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้พะยูนตาย ◾ การเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเล: หญ้าทะเล คือแหล่งอาหารหลักของพะยูน แต่ปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลกำลังถูกทำลายจากทั้งปัจจัยธรรมชาติและมนุษย์ เช่น ภาวะโลกร้อน การขุดลอกร่องน้ำ และกิจกรรมการประมง◾ มลพิษทางทะเล: เช่น ขยะพลาสติก สารเคมี และน้ำเสีย ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพะยูน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ผลกระทบจากการสูญเสียพะยูน การสูญเสียพะยูน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลโดยรวม รวมถึงเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์ที่ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ แหล่งอาหาร และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ วิกฤตพะยูนครั้งนี้ เป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่า เราต้องเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างจริงจัง และต้องดำเนินการในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดย ◾ อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล: เช่น การปลูกหญ้าทะเล การควบคุมมลพิษ และการจัดการพื้นที่ชายฝั่งอย่างยั่งยืน◾ ลดมลพิษทางทะเล: เช่น การลดการใช้พลาสติก การบำบัดน้ำเสีย และการควบคุมการปล่อยสารเคมีลงสู่ทะเล◾ สร้างความตระหนักรู้: ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของพะยูน และระบบนิเวศทางทะเล เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์◾ การบังคับใช้กฎหมาย: เอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพะยูน และสิ่งแวดล้อมทางทะเล วิกฤตพะยูน คือวิกฤตของทะเลไทย หากเราไม่ลงมือแก้ไขอย่างจริงจังในวันนี้ ในอนาคต เราอาจต้องสูญเสีย “นางเงือก” แห่งท้องทะเลไทยไปตลอดกาล
คนไทยได้เฮทั้งประเทศ หลัง “ต้มยำกุ้ง” อาหารจานเด็ดรสชาติแซ่บถึงเครื่องของไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2567 ต่อจากรายการ โขน นวดไทย โนราและสงกรานต์ในปีที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการ วธ.กล่าวต่อว่า ในการเสนอ “ต้มยำกุ้ง” ขึ้นทะเบียนมรดกกับยูเนสโกนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564 เห็นชอบให้ วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เสนอขอขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ.2003 ของยูเนสโก หลังจาก “ต้มยำกุ้ง” ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติเมื่อปี พ.ศ.2554 ในสาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ประเภทอาหารและโภชนาการ ด้วย “ต้มยำกุ้ง” เป็นมรดกภูมิปัญญาที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยที่มีความเรียบง่าย มีสุขภาวะทั้งกายและใจที่แข็งแรง รู้จักการพึ่งพาตนเองด้วยวิธีธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็น “กับข้าว” ที่คนในชุมชนเกษตรกรรมริมแม่น้ำในพื้นที่ภาคกลาง นำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยชื่อ ต้มยำกุ้ง เกิดจากการนำคำ 3 คำมารวมกัน ได้แก่ “ต้ม” “ยำ” และ “กุ้ง” ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำอาหารที่นำเนื้อสัตว์ คือ กุ้ง ต้มลงในน้ำเดือดที่มีสมุนไพรซึ่งปลูกไว้กินเองในครัวเรือนอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสจัดจ้านแบบยำ ให้มีรสเปรี้ยวนำด้วยมะนาว ตามด้วยรสเค็มจากเกลือหรือน้ำปลา รสเผ็ดจากพริก รสหวานจากกุ้ง และขมเล็กน้อยจากสมุนไพร
การประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดียุน ซอกยอล แห่งเกาหลีใต้ สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เป็นการจุดชนวนความขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่ คำถามที่หลายคนสงสัยคือ อะไรคือเบื้องลึกเบื้องหลังการตัดสินใจครั้งนี้ และนี่คือ “เกมพลาด” ทางการเมืองของยุนหรือไม่? ไทม์ไลน์เหตุการณ์สำคัญ◾ 3 ธันวาคม 2567 (ค่ำ) : ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศผ่านทางโทรทัศน์ โดยกล่าวหาพรรคฝ่ายค้านหลักว่าสนับสนุนเกาหลีเหนือและเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ◾ 3 ธันวาคม 2567 (หลังประกาศ) : กองทัพออกกฤษฎีกาห้ามกิจกรรมทางการเมือง, การชุมนุม, การประท้วง, และควบคุมสื่อมวลชน◾ 4 ธันวาคม 2567 (เช้ามืด) : สมาชิกรัฐสภาเร่งประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์◾ 4 ธันวาคม 2567 (เช้า) : รัฐสภามีมติคว่ำกฎอัยการศึกด้วยคะแนนเสียง 190 ต่อ 1◾ 4 ธันวาคม 2567 (เช้ามืด) : ประธานาธิบดียุนประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกหลังรัฐสภาคว่ำมติเบื้องลึกการประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้เกิดจาก “ยุน” เสียเปรียบในสภา เพราะหลังการเลือกตั้ง พรรคฝ่ายค้านครองเสียงข้างมากในสภา ทำให้ยุน กลายเป็น “ประธานาธิบดีเป็ดง่อย” ไม่สามารถผลักดันนโยบายต่างๆ ได้ อีกทั้ง”ยุน” และภรรยาตกเป็นเป้า เผชิญกับข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต ถูกพรรคฝ่ายค้านเดินหน้าสอบสวนอย่างเข้มข้น รัฐบาลของ “ยุน” ยังถูกฝ่ายค้านตัดงบประมาณ และพยายามถอดถอนสมาชิกคณะรัฐมนตรีการประกาศกฎอัยการศึก จึงอาจเป็น “เกม” ที่ยุนต้องการใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์ สกัดกั้นการเคลื่อนไหวของฝ่ายค้าน และรักษาอำนาจของตนเองไว้ หรือจะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องอื้อฉาวของตนเองและภรรยา ควบคู่ไปกับการกดดันฝ่ายค้านให้ฝ่ายค้านยอมเจรจา และยอมผ่อนปรนในประเด็นต่าง ๆ แต่ “เกม” นี้ อาจเป็น “เกมพลาด” ของยุน เพราะการประกาศกฎอัยการศึกยิ่งทำให้สถานการณ์ตึงเครียด เกิดการประท้วง และความแตกแยกในสังคมเกาหลีใต้รุนแรงมากขึ้น กลายเป็นผู้นำที่ใช้อำนาจเผด็จการ ทำลายระบอบประชาธิปไตย สุดท้ายจบลงที่ถูกโดดเดี่ยวทางการเมืองเพราะแม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนยังออกมาต่อต้าน อีกทั้งการประกาศกฎอัยการศึกถูกคว่ำโดยสภาฯ ทำให้ยุนยิ่งตกอยู่ในสถานะลำบากจากความพยายาม “แก้เกม” ทางการเมือง แต่กลับกลายเป็น “เกมพลาด” ที่ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง อนาคตทางการเมืองของเขาเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเป็นอีกหนึ่งบทสะท้อนของนักการเมืองที่ลุแก่อำนาจ ใช้อำนาจเพื่อรักษาอำนาจ แต่สุดท้ายอาจจบลงที่การ “สิ้นอำนาจ” และถูกจดจำในฐานผู้ทำลายประชาธิปไตยในเกาหลีใต้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง…
จากประเด็นที่รัฐบาลไทยถูกประณามจากนานาชาติ หลังส่งตัวนักกิจกรรมฝ่ายค้านกัมพูชา 6 คนและเด็กชาย 5 ขวบอีก 1 คนกลับประเทศ ท่ามกลางคำถามสำคัญเรื่องการละเมิดหลักสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐบาลที่เรียกตัวเองว่า “รัฐบาลประชาธิปไตย” ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลกัมพูชา โดยไม่นำพาว่าทั้งหมดอาจเผชิญกับชะตากรรมที่เลวร้ายหรือไม่ The Publisher ได้คุยกับ คุณสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษา ฮิวแมน ไรต์ วอร์ต อย่างเจาะลึกในเรื่องนี้ The Publisher : จากประเด็นที่เกิดขึ้น มีประเด็นไหนให้มองได้บ้าง สุนัย ผาสุก : ไทยส่งกลับนักกิจกรรม ที่สังกัดพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา เป็นการบังคับส่งกลับโดยละเมิดทางกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ โดยกฎหมายไทยมีกฎหมายต่อต้านการซ้อมทรมานและการอุ้มหาย ที่ห้ามส่งตัวบุคคลกลับไปเผชิญอันตราย คำถามคือในกัมพูชา คนที่เป็นสมาชิกฝ่ายค้านมีอันตรายไหม ต้องบอกว่าอันตราย ตั้งแต่อาจถูกยัดข้อหา ถูกปฏิบัติโดยไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลระหว่างที่ควบคุมตัวระหว่างที่สอบสวน ถึงขั้นถูกอุ้มหายได้ ส่วนกติกาสากลก็คือกฎหมายจารีตประเพณี ถึงประเทศไทยจะอ้างว่า ไม่ได้เป็นภาคีของอนุสัญญาผู้ลี้ภัย แต่เรื่องไม่ให้ส่งบุคคลไปเผชิญอันตราย มันเป็นกฎหมายจารีตประเพณี ไม่เกี่ยวกับการที่ไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาผู้ลี้ภัยหรือเปล่า กฎหมายจารีตประเพณีมันผูกมัดไทยและที่สำคัญไทยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ต้องทำตัวให้สมกับมาตรฐานนี้ แต่กรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นกับชาวกัมพูชา เป็นข้อพิสูจน์ว่าพฤติกรรมของไทยในเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ได้ดีขึ้นเลย และเรื่องของการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคคสช. ต่อเนื่องมาจนถึงยุครัฐบาลเศรษฐา ยุครัฐบาลปัจจุบันมันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าต่อให้เปลี่ยนรัฐบาลแต่การจัดผู้ลี้ภัยส่งกลับไปประเทศต้นทาง ที่มีอันตรายยังทำอยู่อย่างต่อเนื่อง The Publisher : ตอนนี้บอกมาโดยตลอดว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ในมุมมองของคุณสุนัยผิดหวังหรือไม่ที่มีนโยบายแบบนี้ สุนัย ผาสุก : เรามีความคาดหวัง ใช่ครับว่าเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลจากระบอบ คสช. ทหารเต็มตัวมาเป็นทหารครึ่งตัว อย่างยุครัฐบาลประยุทธ์ หลังจากนั้นก็เป็นรัฐบาลคุณเศรษฐา คุณแพรทองธาร มันก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมด้านเคารพหลักสิทธิมนุษยชนมันก็ควรดีขึ้น โดยสามัญสำนึกเราก็คาดหวังแบบนั้น และที่สำคัญพอได้ตำแหน่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น ยิ่งต้องผลักดันให้ทำตัวดีขึ้น แต่กลายเป็นว่าทั้งหลายทั้งปวงมันไม่ไปในทางที่สอดคล้องกัน ก็คือพฤติกรรมการละเมิดสิทธิมนุษยชน เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราตั้งข้อสังเกตไว้ถึงขนาดทำรายงานว่า มีรูปแบบของการใช้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันกับรัฐบาลประเทศเผด็จการต่างๆ ในการไล่ล่าติดตามคนเห็นต่างที่หลบหลีกลี้ภัยมาอยู่ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นคนมีถิ่นฐานในไทย หรืออาศัยไทยเป็นทางผ่านไปต่อยังประเทศอื่น มีการไล่ล่า จับตัวคนส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง หรือหลับตาข้างหนึ่งให้เข้ามาลักพาตัว ซุึ่งยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ที่ให้ต่างชาติเข้ามาปฏิบัติการลักพาตัวคนที่เป็นเป้าหมายเอากลับไป โดยไม่เคารพกฎหมายไทย ยกตัวอย่าง กรณีของกัมพูชา กักตัวผู้หนีภัยชาวเวียดนาม หรือ ลาวก็เข้ามาลอบสังหารในไทย แค่ยกตัวอย่างสามประเทศ ฉะนั้นมันเป็นสภาพที่ ฮิวแมนไรต์ วอตซ์ บัญญัติศัพท์ขึ้นมาว่าไทยทำข้อตกลงที่ลักษณะเหมือนกับเป็นตลาดแลก…
ช็อกวงการบันเทิงเกาหลีใต้ เมื่อนักแสดงหนุ่มชื่อดังมากความสามารถ เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในวงการเกาหลี “พัคมินแจ (Park Min-Jae)” ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันในวัย 32 ปี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ประเทศจีน สร้างความเศร้าใจอย่างมากต่อครอบครัว คนใกล้ชิด และแฟนคลับ ยิ่งได้ทราบสาเหตุของการเสียชีวิตก็ยิ่งเศร้า ตามข้อมูลของสื่อเกาหลีได้รายงานว่า “พัคมินแจ (Park Min-Jae)” ผู้เสียชีวิต ได้จากไปด้วยอาการ “หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ทั้งนี้ พิธีศพของ “พัคมินแจ (Park Min-Jae)” จะจัดขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม เวลา 09:30 น. โดยยังไม่ได้ระบุสถานที่ฝังร่างของนักแสดงหนุ่ม ทางทีมข่าว The Publisher ของร่วมแสดงความเสียใจ และขอส่งกำลังใจให้กับครอบครัวได้ก้าวข้ามความเจ็บปวดนี้ได้โดยเร็ว
ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร เพิ่งตีปี๊บเป็นปลื้มไทยได้รับเลือกเป็นคณะมนตรี UNHCR ด้วยคะแนนสูงสุด พร้อมประกาศจะช่วยยกระดับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งเพิ่งได้รับคำชื่นชมจากยูเอ็นว่าหยุดภาวะไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ด้วยการให้สัญชาติไทยกับกลุ่มผู้อพยพมากกว่า 4.8 แสนคน สูงสุดในโลก แต่ผ่านมาเพียงเดือนเดียวเหตุการณ์กลับตาลปัตร รัฐบาลไทยถูกประณามจากทั้ง UN กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR) และ Human Rights Watch จากการส่งตัวนักกิจกรรมฝ่ายค้านชาวกัมพูชากลับประเทศโดยรัฐบาลไทยจุดประกายคำถามสำคัญเกี่ยวกับการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แม้จะมีกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ชัดเจน แต่การกระทำดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่ากังวลของรัฐบาลในการละเมิดหลักการพื้นฐานเหล่านี้ ทั้งที่เรียกตัวเองว่าเป็น “รัฐบาลประชาธิปไตย” แต่เมื่อเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ที่ดียิ่งกับรัฐบาลกัมพูชา “รัฐบาลประชาธิปไตย” ของ แพทองธาร ชินวัตร กลับเลือกที่จะส่งตัวนักกิจกรรม 6 คน และเด็กชายวัน 5 ขวบกลับกัมพูชา เมื่อวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา จนเกิดเสียงประณามดังไปทั่วโลก น่าประหลาดใจที่ “รัฐบาลปชต.” ของ “แพทองธาร” กลับไม่นำพาต่อสิ่งที่น่าจะคาดการณ์ได้ว่า ทั้งนักกิจกรรม 6 คน และเด็กชายวัย 5 ขวบ อาจเผชิญกับการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติมิชอบ ซึ่งการกระทำนี้ไม่เพียงละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน แต่ยังขัดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลสูญหายของไทยเองด้วย รัฐบาลแพทองธารใช้ข้อหาคนเข้าเมืองเป็นเครื่องมือในการส่งตัวผู้ลี้ภัยทางการเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาในการปราบปรามผู้เห็นต่าง การกระทำเช่นนี้เป็นการบ่อนทำลายหลักการพื้นฐานของการลี้ภัย ขัดต่อการยกระดับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติตามที่ประกาศไปหรือไม่ รัฐบาลต้องทบทวนดู ขณะที่รัฐบาลกัมพูชามีแนวโน้มที่จะออกกฎหมายใหม่ ยัดข้อหาก่อการร้ายให้กับฝ่ายค้านหัวรุนแรงในต่างแดน นี่คือพฤติการณ์ของรัฐบาลที่มีสายสัมพันธ์ดียิ่งกับรัฐบาล ปชต.ของแพทองธาร เกิดคำถามว่าผู้ลี้ภัยก็ส่งตัวให้ ผลประโยชน์ทางทะเลก็พร้อมเจรจา หรือนี่จะเป็น มิตรภาพสีเทาระหว่างทักษิณ-ฮุนเซน เป็นสายสัมพันธ์บนผลประโยชน์ที่ไร้ซึ่งคำอธิบาย นอกจากความลงตัวที่ตกลงส่วนตัวได้ทุกเรื่อง โดยไม่สนว่าจะกระทบส่วนรวมใช่หรือไม่
🔴 29 พ.ค. 67◾ นายธนดล สุวัณณะฤทธิ์ ที่ปรึกษา รมว.เกษตรฯ พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจสอบไร่ภูนับดาว พบตั้งอยู่ในพื้นที่ ส.ป.ก.◾ สั่งเจ้าของที่ดินชี้แจงภายใน 30 วัน 🔴 มิ.ย. 67◾ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระบุรีย้ายตัวเอง อ้างปัญหาสุขภาพ◾ ปฏิรูปที่ดินคนใหม่เข้ารับตำแหน่ง◾ รีสอร์ทขอขยายเวลาแก้ไข◾ ปฏิรูปที่ดินคนใหม่ ทำสัญญาเช่าที่ดินให้เอกชน◾ รมว.เกษตรฯ สั่งย้ายปฏิรูปที่ดินคนใหม่ออกจากพื้นที่ 🔴 หลังจากนั้น◾ ตรวจสอบพบรีสอร์ทจดทะเบียนบริษัท มีนักธุรกิจชื่อดังเป็นผู้บริหาร◾ พบเงินจากบริษัทภูนับดาว โอนเข้าบัญชีนักธุรกิจคนดังกล่าว◾ พบหญิงสาวคนสนิทอดีตรองนายกฯ เข้าออกบริษัทบ่อยครั้ง◾ พบเส้นทางการเงิน 10 ล้านบาท โอนจากบริษัทเข้าบัญชีหญิงสาวคนสนิท 5 ครั้ง ครั้งละ 2 ล้านบาท◾ ป.ป.ท. เรียกหญิงสาวเข้าชี้แจง 2 ครั้ง แต่ไม่มา◾ ส่งข้อมูลให้ ปปง. ดำเนินการต่อ 🔴 30 พ.ย.67◾ รอง ผบช.ก. แถลง ตำรวจร่วมกับ ป.ป.ช. ป.ป.ท. และนายธนดล ตรวจสอบพบการทุจริต◾ พบข้าราชการระดับรองผู้ว่าฯ และเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ◾ พบเส้นเงิน 10 ล้านบาท โยงถึง “หวานใจ” บุคคลใกล้ชิดผู้ใหญ่ในพรรคการเมือง◾ รอง ผบช.ก. ยืนยันดำเนินคดีถึงที่สุด ไม่ใช่การกลั่นแกล้ง 🔴 2 ธ.ค.67 ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แจง 4 ข้อ1.วิชิต พยุหนาวีชัย ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของบริษัท ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเป็นกรรมการของบริษัทฯ2.โอนเงินเพื่อชำระคืนหุ้นกู้เมื่อครบกำหนด 13 มิ.ย.66ชำระของหุ้นกู้รุ่น…
คดีทุจริตระบายมันสำปะหลังแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด “บุญทรง” กับพวก ดังนี้◾ บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ ถูกชี้มูลความผิด ฐานทุจริตทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) 7 สัญญา มูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท◾ พ.ต.นพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ อดีตเลขานุการ รมว.พาณิชย์ ถูกชี้มูลความผิด ด้วย◾ มนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ โดนชี้มูลความผิดถึง 3 สำนวน◾ ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์-เยาวภา พ้นข้อกล่าวหา สาระสำคัญของคดี◾ ป.ป.ช. ชี้ว่าการทำสัญญา G to G ทั้ง 7 สัญญากับบริษัทจีน ไม่ใช่การทำสัญญากับรัฐบาลจีนโดยตรง แต่เป็นการทำกับรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลจีน◾ มีการขายมันสำปะหลัง ต่ำกว่าราคาตลาด ทำให้รัฐเสียหายกว่า 3.8 หมื่นล้านบาท สถานะปัจจุบัน◾ ป.ป.ช. ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว◾ บุญทรง ได้รับการพักโทษ คดีระบายข้าวแบบ G to G◾ มนัส สร้อยพลอย น่าจะได้รับการพักโทษ คดีระบายข้าวแบบ G to G เช่นเดียวกับ บุญทรง◾ วีระวุฒิ ถูกตัดสินจำคุก 72 ปีแต่จำคุกตามกฎหมายได้ 50 ปี อยู่ระหว่างหลบหนี
สถานการณ์การปะทะคารมทางการเมืองระหว่าง อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และ แพทองธาร ชินวัตร เป็นประเด็นที่น่าสนใจ สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ “วาทกรรม” ในโลกออนไลน์เพื่อสร้างความชอบธรรมและโจมตีฝ่ายตรงข้าม จุดเริ่มต้นมาจาก คำให้สัมภาษณ์ของแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า “สามีเป็นคนใต้ ถ้าละเลยคนใต้ หรือไม่รักคนใต้ คงแต่งงานกับคนใต้ไม่ได้” ถูก “เจี๊ยบ” อมรัตน์ วิจารณ์ว่าเป็นคำตอบที่ไม่เกินชายคาบ้าน “เฉิ่ม” และ “เอาตัวเองเป็นแกนกลางของจักรวาล ตามมาด้วยการฟาดแรงว่า “ตอบคำถามยังไงให้มีความเสี่ยงต้องมีผัวให้ครบทุกภาค“ ทำเอานายกฯ คุณหนูนั่งไม่ติด มีการตอบโต้ผ่าน Instagram Story ด้วยข้อความภาษาอังกฤษที่แปลเป็นไทยได้ว่า “ความคิดเชิงลบของคุณ สะท้อนถึงความเป็นจริงของตัวคุณเอง” และ “คนที่ไม่มีความมั่นใจ กดคนอื่นให้ต่ำลง เพื่อยกตนเองให้สูงขึ้น” แม้จะไม่ระบุว่ากล่าวถึงใครแต่การแชร์คำคมทั้งสองประโยคในห้วงเวลานี้ทำให้มองเป็นอื่นไปได้ยาก นอกจากตอบโต้ ”เจี๊ยบ อมรัตน์“ หากเราวิเคราะห์จะเห็นว่า นายกฯ คุณหนู ใช้วาทกรรมเชิงอำนาจตบด้วยการใช้ภาษาอังกฤษ อาจตีความได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงความเหนือกว่า หรือการสร้างภาพลักษณ์ผู้นำยุคใหม่ ไปจนถึงการกล่าวหาว่าฝ่ายตรงข้าม “ไม่มีความมั่นใจ” เป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือ การตีความคำพูดของนายกฯ คุณหนู จึงอาจตีความได้หลายแง่มุม เช่น เป็นการแสดงความมั่นใจในตนเอง ปฏิเสธคำวิจารณ์โดยไม่ชี้แจงเหตุผล และ โจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยอ้อม แม้จะดู “เฟียส” ถูกใจผู้สนับสนุนแบบฟาดมาฟาดกลับ แต่ก็มีสิ่งที่ควรคำนึงถึง โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำที่ลดตัวไปปะทะคารมกับ “เจี๊ยบ อมรัตน์” ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีตำแหน่งอะไรในทางการเมือง ยกเว้นปากที่ยังแซบแบบเต็มสิบไม่หัก เหตุการณ์นี้ยังเป็นตัวอย่างของการใช้วาทกรรมในโลกออนไลน์เพื่อสร้างความชอบธรรม โจมตีฝ่ายตรงข้าม และช่วงชิงพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของโซเชียลมีเดียต่อการเมืองไทยที่แทบแยกไม่ออกว่าเป็นสื่อกระแสรองหรือกระแสหลัก เพราะประโยคจากโซเชียลถูกนำไปขยายความต่อจากสื่อหลักอยู่เป็นประจำ สิ่งสำคัญคือประชาชนควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร และไม่ตกเป็นเครื่องมือของวาทกรรมทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใดก็ตาม