ศูนย์กลางทางการเงิน หรือศูนย์กลางรวบอำนาจ?” คำถามที่เริ่มดังขึ้นหลังจากที่ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ออกโรงเตือนว่า รัฐบาลกำลังพยายามเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารนโยบายการเงิน โดยลดบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่านร่างกฎหมาย Financial Hub ที่ซุ่มพิจารณาเงียบ ๆ ใน ครม.
Financial Hub ไทย แข่งสิงคโปร์-ฮ่องกง ได้จริงหรือ?
รัฐบาลพยายามผลักดันร่าง “พ.ร.บ. ศูนย์กลางประกอบธุรกิจทางการเงิน” โดยอ้างว่า ต้องการให้ประเทศไทยเป็น Financial Hub ที่ดึงดูดธนาคารระดับโลกเข้ามาทำธุรกิจ เพื่อแข่งกับ ฮ่องกงและสิงคโปร์ แต่ ธีระชัยมองว่าเป็นไปได้ยากมาก! เพราะว่าระบบกฎหมายเรายังไม่พร้อม!” ประเทศที่เป็นศูนย์กลางการเงินโลก เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ใช้ กฎหมายอังกฤษ และกระบวนการศาลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ทำให้การเจรจาทางการเงินระหว่างประเทศง่ายขึ้น แต่ของไทย? กฎหมายไม่เอื้อ! รัฐบาลไทยเคยมีคำสั่งห้ามใช้ อนุญาโตตุลาการ ในสัญญาของรัฐกับเอกชน ก่อนจะกลับลำอนุญาต แต่ก็มียกเว้นในโครงการร่วมทุนภาครัฐและเอกชน ทำให้ต่างชาติขาดความมั่นใจ “เมื่อกฎหมายไม่รองรับ นักลงทุนก็ไม่มา!”
“ภาพลักษณ์คอร์รัปชันย่ำแย่ทำให้ต่างชาติเมิน!”
นอกจากนี้ดัชนีความโปร่งใสของไทยปี 2567 อยู่ที่ อันดับ 107 จาก 180 ประเทศ ขณะที่ ฮ่องกง อันดับ 17 และสิงคโปร์ อันดับ 3 “ถามจริง ใครจะทิ้งฮ่องกง สิงคโปร์ มาเสี่ยงที่ไทย?”
“ศูนย์กลางการเงิน? หรือศูนย์กลางความเสี่ยง?”
“ผมไม่เชื่อว่าสถาบันการเงินใหญ่ ๆ ของโลกที่มีขนาดใหญ่กว่าตลาดทุนไทยหลายเท่า จะย้ายจากศูนย์กลางระดับโลกมาอยู่ในไทย ที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาคอร์รัปชัน!”
Financial Hub หรือช่องทางออกเงินดิจิทัลเอง?
ธีระชัย ตั้งข้อสังเกตว่า “ร่างกฎหมายนี้อาจไม่ได้มีแค่เรื่อง Financial Hub แต่แอบแฝงเป้าหมายอื่น!” โดยเฉพาะ การเปิดทางให้รัฐบาลออก “เงินดิจิทัล” เอง โดยข้ามอำนาจ ธปท. ตามปกติ การออก เงินดิจิทัล ต้องผ่าน แบงก์ชาติ ใน 2 เรื่อง คือ ขออนุญาตตามกฎหมายเงินตรา และระบบการชำระเงินต้องได้รับการอนุมัติจาก ธปท. แต่ร่างกฎหมายนี้ ตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมา ที่สามารถอนุมัติเองได้ ข้ามอำนาจแบงก์ชาติไปเลย! “แม้ในร่างกฎหมายนี้จะไม่มีการยกเว้นกฎหมายเงินตรา แต่ยกเว้นเรื่องกระบวนการยื่นขอ ซึ่งจะไปสอดรับกับการออกเงินดิจิทัลได้โดยไม่ต้องยื่นขอผ่านแบงก์ชาติได้ กลายเป็นช่องโหว่ ทำให้มีการออกเงินดิจิทัลโดยรัฐบาลตัดสินใจเอง ผู้ว่าแบงก์ชาติจะเป็นแค่หนึ่งในคณะกรรมการ 15 คนที่จะพิจารณาเท่านั้น เพราะการยื่นจะไม่ต้องผ่านแบงก์ชาติในฐานะที่เป็นองค์กร กลายเป็นร่างกฎหมายที่ไม่เพียงฮุบอำนาจแบงก์ชาติ ยังฮุบอำนาจกลต.และคปภ.ที่ดูแลเรื่องประกันภัยด้วย เป็นกฎหมายที่ขัดหลักเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสม นี่ไม่ใช่แค่ฮุบอำนาจ ธปท. แต่มันคือการรวบอำนาจ ก.ล.ต. และ คปภ. ด้วย!”
อันตรายของ “สองมาตรฐานทางการเงิน”
อีกหนึ่งประเด็นที่ ธีระชัยฟาดแรง คือ การอนุญาตให้บริษัทการเงินในศูนย์กลางการเงินนี้ ให้สามารถทำธุรกิจกับคนไทยได้! เท่ากับเปิดช่องให้ทำธุรกิจในไทย แต่ใช้กฎสองมาตรฐาน! เขาหยิบยกคำสัมภาษณ์ของ เผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ที่เคยแถลงว่า “บริษัทการเงินที่ได้รับอนุญาตใน Financial Hub สามารถทำธุรกิจกับคนไทยได้ด้วย” มาสะท้อนว่า ภายใต้แนวทางนี้ “ธนาคารที่อยู่ในศูนย์กลางการเงินนี้ จะได้รับสิทธิพิเศษ เหมือนธนาคารไทย สุดท้ายจะเกิดระบบกำกับดูแลสองมาตรฐาน ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่อนุญาตให้ออกกฎหมายที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือสองมาตรฐานได้“ อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลต้องการสร้างศูนย์กลางทางการเงินจริง ก็ต้องปรับกฎหมายใหม่ ตัดการเชื่อมโยงกับตลาดภายในประเทศออกไป ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะเป็นกฎหมายเพื่อการสร้างธุรกิจการเงินระหว่างประเทศโดยตรงอย่างเดียวแบบนี้พอได้ แต่ลักษณะของการออกกฎหมายแบบนี้ต้องมีกระบวนการดูแลให้รัดกุมว่าไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับตลาดภายในประเทศอย่างแท้จริง
“Financial Hub หรือ Financial Hacked?”
“นี่คือการพัฒนาหรือเป็นการยึดอำนาจทางการเงิน?” “เป้าหมายจริง ๆ คือ Financial Hub หรือเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลออกเงินดิจิทัลเอง?”
“เมื่อรัฐบาลเป็นคนกำกับการเงินเอง นักลงทุนจะยังเชื่อมั่นอยู่หรือไม่?”
เป็นคำถามสำคัญจาก ”ธีระชัย“ ที่ต้องการคำตอบจากภาครัฐ อย่างไรก็ตามเขายังเชื่อว่า “แม้กฎหมายนี้ออกมา ด้วยการตั้งเป้าหมายเป็น Financial Hub จริง ผมก็ยังเชื่อว่าไม่มีใครมาอยู่ดี เพราะประเทศไทยยังไม่พร้อม! แต่ถ้ามันเป็นเครื่องมือเพื่อควบคุมการเงินเอง…นี่คืออันตรายที่คนไทยต้องรู้!”
ถ้าเป็นไปอย่างที่ ”ธีระชัย“ ตั้งข้อสังกต และร่างกฎหมายนี้ออกมาใช้บังคับได้จริง ผลลัพธ์อาจไม่ใช่ไทยกลายเป็น Financial Hub แต่กลายเป็น Financial Hacked ที่รัฐบาลสามารถควบคุมระบบการเงินได้ตามใจ!
แล้วคนไทยละ คิดว่ายังไง?