ในยุคที่แชตไลน์กลุ่มปิดไม่ปลอดภัยอีกต่อไป คำว่า “จริยธรรม” กลายเป็นอาวุธทางการเมืองมากกว่าจะเป็นหลักคุณธรรมของสังคม
จากกรณีผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นายธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เปิดเผยข้อความในแชตไลน์ที่อ้างว่าเป็นของแพทย์บางรายซึ่งวิจารณ์พฤติกรรมทักษิณ และมีแพทย์บางท่านส่งสติ๊กเกอร์ Yess
แม้ตอนเผยแพร่จะมีการปิดชื่อผู้แสดงความเห็น แต่ในเวลาต่อมา ข้อความนั้นกลับถูกนำไปใช้เป็นเหตุร้องเรียนเรื่องจริยธรรม และใช้ไล่บี้ทางวินัย-จริยธรรม
คำถามจึงไม่ได้อยู่แค่ว่า “แพทย์เหล่านั้นผิดจริยธรรมหรือไม่”
แต่กลับกลายเป็นว่า
“ใครกันแน่ที่ละเมิดความเป็นส่วนตัว และใช้ข้อมูลในทางที่อาจผิดกฎหมาย?”
⸻
❝ แชตกลุ่มปิด = ความลับส่วนตัว ❞
หลายคนอาจไม่รู้ว่า กลุ่มไลน์ที่จำกัดเฉพาะสมาชิกบางคน ถือเป็น “พื้นที่สื่อสารส่วนบุคคล”
และภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
หากข้อความนั้นสามารถเชื่อมโยงกลับไปยังบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
และถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยเจ้าของข้อความ ไม่ได้ยินยอม
การกระทำนั้น อาจเข้าข่ายละเมิด PDPA อย่างชัดเจน
โดยเฉพาะเมื่อบุคคลที่นำแชตมาเผยแพร่
เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แม้เจ้าหน้าที่รัฐจะไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลโดยตำแหน่งทุกกรณี
แต่เมื่อเป็นผู้นำข้อมูลจากช่องทางส่วนตัวมาเปิดเผยต่อสาธารณะ
และข้อมูลนั้นถูกนำไประบุตัวบุคคลได้
ย่อมมีภาระต้องใช้อำนาจและข้อมูลด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
เพราะอาจเข้าข่ายการเปิดเผยข้อมูลโดยมิชอบตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้
และหากจะมองว่าแชตหลุดเป็นปัญหา คนที่ควรถูกตั้งคำถามก่อน อาจไม่ใช่แค่แพทย์ที่อยู่ในกลุ่ม แต่คือผู้ที่นำข้อมูลจากกลุ่มปิดไปเผยแพร่ต่อโดยพลการ ไม่ว่าจะเป็นแอดมิน หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่รับข้อมูลมาแล้วเปิดเผยต่อสาธารณะ
⸻
❝ แม้ปิดชื่อ แต่ผลลัพธ์ = เปิดเผย ❞
ข้อโต้แย้งว่า “ไม่ได้เปิดเผยชื่อผู้ส่งข้อความ” ฟังไม่ขึ้น
เพราะในทางปฏิบัติ หน่วยงานรัฐสามารถระบุตัวเจ้าของข้อความได้อย่างแน่นอน
และเมื่อข้อมูลนั้นถูกนำไปใช้เพื่อสอบวินัย เอาผิดทางจริยธรรม
ย่อมเท่ากับว่า ข้อมูลนั้นได้ “ถูกเปิดเผย” โดยพฤตินัย
จึงย้อนกลับไปชี้ได้ว่า ผู้ที่นำแชตออกมาเผยแพร่เป็นคนละเมิด PDPA เสียเอง
⸻
❝ ความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่รัฐ คือสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง ❞
ไม่เพียงแค่ประเด็น PDPA เท่านั้น
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาตรา 16 กำหนดอำนาจทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้
ธนกฤต ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการฯ พิจารณาตั้งเรื่องให้สมศักดิ์ ก่อนเกิดการวีโต้มติแพทยสภา
สมศักดิ์ แม้มีอำนาจในฐานะเป็นสภานายกพิเศษฯ แต่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสังกัดพรรคของทักษิณ
ทั้งสองสองคนมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครอง คือมติแพทยสภาไม่เป็นกลางอย่างร้ายแรงหรือไม่ ไม่ควรใช้อำนาจพิจารณาเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นใช่หรือเปล่า?
แต่ก็ลุยไฟจนลามไปถึงเอาแชตหลุดจากกลุ่มไลน์มาไล่บี้วินัยและจริยธรรมแพทย์แบบไปให้สุด…หยุดที่นาย “ต้องการ”
“นี่คือการใช้อำนาจอย่างเป็นกลางเพื่อพิทักษ์จริยธรรม?
หรือเป็นการใช้อำนาจเพื่อทักษิณเพียงคนเดียว?”
⸻
❝ จริยธรรมของใครที่ควรถูกตั้งคำถามกันแน่? ❞
ถ้าการแสดงความเห็นในไลน์กลุ่ม
ถูกเล่นงานทั้งวินัยและจริยธรรม
คำถามว่า…ความเป็นส่วนตัวจะหาได้จากไหน?
ที่สำคัญความเห็นดังกล่าวก็มิได้มีผลต่อมติแพทยสภาที่ฟันสามหมอแต่อย่างใด
อย่าลืมว่าแพทยสภามีถึง 70 คนและมติในครั้งนั้นเป็นเสียงข้างมาก ๆ ๆ ๆ
ความเห็นแค่หนึ่งหรือสองเสียง จึงเป็นเพียงแค่เสี้ยวเล็ก ๆ เท่านั้น
แต่ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐ นำข้อมูลจากกลุ่มปิดออกมาเปิดเผย
แล้ว ใช้ตำแหน่งทางการเมืองไปกดดันองค์กรวิชาชีพ อย่างแพทยสภา
แบบนี้…
ใครกันแน่ที่ควรถูกตั้งคำถามเรื่อง “จริยธรรม”?
⸻
📌 นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของแพทย์ – หรือทักษิณ –
แต่นี่คือ บททดสอบของเสรีภาพ ความเป็นส่วนตัว และความเป็นธรรม
ในในการใช้อำนาจ
ที่ไม่ควรถูกทำลายเพียงเพื่อคน ๆ เดียว
#ThePublisherTH #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #สมศักดิ์เทพสุทิน #ทักษิณ #ทักษิณชินวัตร #แพทยสภา #ป่วยทิพย์ #ชั้น14 #มติแพทยสภา #แพทยสภา #ล็อบบี้จริยธรรม #12มิถุนาต้องรู้ #จริยธรรม