อายุ 37 ปีเท่ากัน ขึ้นเป็นนายกฯ ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว…แต่ที่ไม่เหมือนกันคือ “ปัญญาและความเป็นตัวของตัวเอง”
จุดที่เหมือนกันของผู้นำหญิงทั้งคู่คืออายุ ที่ขึ้นสู่การเป็นนายกฯ ในวัย 37 ปีเหมือนกัน Jacinda Ardern ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ในปี 2017 ส่วน แพทองธาร เป็นนายกฯ ในปี 2024 และที่บังเอิญเหมือนกันอีกอย่างคือ “มีลูกอ่อน” ขณะดำรงตำแหน่ง
จุดต่างที่เป็นตัววัด “ของจริง” กับ “เงาของพ่อ”
Jacinda Ardern ไม่ได้มีใครคอยชักใย หรือได้อำนาจมาเพราะสายเลือด แต่ได้มาด้วยความสามารถล้วน ๆ ไต่เต้าจากการเริ่มต้นเป็นนักการเมืองธรรมดาในพรรคแรงงาน (Labour Party) ไม่มีตระกูลใหญ่หนุนหลัง พิสูจน์ตัวเองด้วยความสามารถ จนได้รับการยอมรับจากประชาชน เพราะแนวคิดและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน “เธอเป็นตัวจริง ไม่ใช่ ตัวแทนของใคร”
แตกต่างจาก แพทองธาร ที่ได้มาเพราะนามสกุล เกิดมาในตระกูลชินวัตร ถูกผลักดันให้เป็นนายกฯ ตามรอยพ่อ อาเขย และอาสาว ไม่เคยมีประสบการณ์การเมือง ไม่เคยพิสูจน์ความสามารถให้ประชาชนเห็น
เป็นผู้หญิงที่เติบโตในเงาของพ่อ และเมื่อวันหนึ่งพรรคของพ่อได้จัดตั้งรัฐบาล เธอก็ถูกผลักดันเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ตัวเองในสนามการเมืองอย่างแท้จริง ทำให้ถูกมองว่าเป็น “เงาของพ่อ” มากกว่าผู้นำที่แท้จริง
ผู้นำที่ตัดสินใจเอง VS หุ่นเชิดของพ่อ
จุดที่แตกต่างที่สุดของทั้งสองคนนี้ คือ ความเป็นอิสระทางการเมือง Jacinda Ardern เป็นนายกฯ ที่ตัดสินใจเอง เดินเกมเอง นำพาประเทศตามแนวทางที่เธอวางไว้ ไม่ต้องมีใครกำกับบท หรือรอให้ใครมากำหนดทิศทาง เป็นผู้นำพรรคและเป็นนายกฯ โดยไม่มีใครคอยชักใยอยู่เบื้องหลัง แต่ทุกความเคลื่อนไหวของ แพทองธาร เต็มไปด้วยเงาของ “พ่อ” ทุกนโยบายสำคัญต้องผ่านการพิจารณาจาก “พ่อ” ที่ไม่ได้อยู่ในรัฐบาล ทุกการตัดสินใจสำคัญถูกมองว่ามี “พ่อ” คอยบงการ
บริหารประเทศด้วยสมอง VS เป็นแค่ตัวแทนของ “พ่อ”
ในช่วงเวลาที่เธอเป็นนายกฯ Jacinda Ardern เผชิญหน้ากับวิกฤติระดับโลกอย่าง COVID-19 และบริหารจัดการนิวซีแลนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เธอนำพาประเทศผ่านช่วงเวลายากลำบากด้วยนโยบายที่แข็งแกร่งและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้นำที่เปิดกว้างกับประชาชน ใช้โซเชียลมีเดียสื่อสารโดยตรง ไม่เล่นเกมการเมืองแบบเก่า แต่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของประเทศ
ขณะที่แพทองธาร ซึ่งอ้างตัวว่าเป็น “นายกฯ เจน Y” แต่แทบไม่มีอะไรสะท้อนให้เห็นว่าเธอเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่แท้จริง เพราะประเทศยังคงติดอยู่ในวังวนการเมืองแบบเดิม เศรษฐกิจยังคงซบเซา ปัญหาปากท้องของประชาชนยังคงไม่มีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจน เธอเป็นนายกฯ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งคำถามว่า “ทำไมถึงได้เป็น?” และคำตอบที่ไม่เป็นทางการอาจมีเพียงแค่ “Why not? ก็บารมีพ่อไง ทำไมถึงจะไม่ได้?”
การบริหารประเทศก็ขาดนโยบายที่โดดเด่น พยายามผลักดันซอฟพาวเวอร์เป็นผลงานก็เบาดั่งขนนก ไร้แนวทางของตัวเอง ส่วนใหญ่มาจากทีมที่อยู่เบื้องหลัง และการกำหนดของ “พ่อ” จนถูกมองว่าติดอยู่ในวังวนการเมืองเพื่อรักษาอำนาจมากกว่าการบริหารประเทศ
ความกล้าหาญในการตัดสินใจ
Jacinda Ardern พิสูจน์ว่าเธอเป็นผู้นำที่มีความสามารถอย่างแท้จริง และเมื่อถึงเวลาที่เธอรู้ว่าตัวเองทำดีที่สุดแล้ว เธอก็เลือกที่จะลาออกด้วยศักดิ์ศรี ไม่ยึดติดอำนาจ เพราะเธอรู้ดีว่า การเป็นนายกฯ ไม่ใช่เรื่องของการอยู่ในตำแหน่งให้นานที่สุด แต่เป็นเรื่องของการสร้างผลลัพธ์ให้กับประเทศชาติ แตกต่างจากแพทองธาร ที่ยังไม่มีใครรู้ว่าเธอมี “ตัวตน” ในการบริหารประเทศมากแค่ไหน เพราะทุกอย่างยังต้องมีพ่อเป็นผู้กำหนดทิศทาง ถ้าวันหนึ่งต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต เธอจะตัดสินใจเองได้ไหม หรือยังต้องรอให้พ่อช่วยตัดสินใจ น่าจะเป็นสิ่งที่ค้างคาใจคนในสังคมไม่น้อย
เจน Y ของจริง VS เจน Y ใต้เงา “พ่อ”
สุดท้ายแล้ว “นายกฯ เจน Y” ไม่ใช่แค่เรื่องของอายุ แต่เป็นเรื่องของวิสัยทัศน์ ความสามารถ และความเป็นผู้นำที่แท้จริง คนหนึ่งสร้างเส้นทางก้าวสู่อำนาจด้วยตัวเองและตัดสินใจอย่างอิสระ อีกคนเป็นเพียงเงาของพ่อ ถูกตั้งคำถามเรื่องความรู้ความสามารถ จนแทบจะหาตัวตนไม่เจอ จนสุดท้ายอาจเหลือภาพจำแค่ “ลูกทักษิณ” มากกว่าความเป็น “นายกฯ”
ประเทศต้องการนายกฯ เจน Y ที่แท้จริง หรือแค่ Gen Why Not? ที่ถูกพ่อผลักเข้าสู่อำนาจ? ระหว่างนายกฯ ที่กล้าตัดสินใจ กับนายกฯ ที่ต้องรอพ่อบอก…ประชาชนต้องการแบบไหน?
หากต้องเรียกใครสักคนว่า “นายกฯ เจน Y” ที่แท้จริง คนนั้นคือ Jacinda Ardern ส่วนแพทองธาร… อาจเหมาะกับคำว่า “นายกฯ Gen Why Not?” มากกว่า
Jacinda Ardern พิสูจน์ตัวเองด้วยสมองและความสามารถ เป็นผู้นำที่แท้จริง ส่วนแพทองธาร พิสูจน์อะไรแล้วหรือยัง?
นายกฯ เจน Y ของแท้ต้องเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจ ไม่ใช่ผู้นำที่ต้องรอใครมาตัดสินใจแทน หรือเรากำลังมีนายกฯ เจน Y ที่ไม่กล้าแม้แต่จะเป็นตัวของตัวเอง?
น่าสนใจว่า “ถ้า Jacinda Ardern เป็นนักการเมืองไทย เธอจะมีโอกาสขึ้นเป็นนายกฯ หรือไม่? หรือเราจะได้เห็นแต่” นายกฯ ที่ถูกกำหนดมาแล้วตลอดไป?”