อาคาร สตง. ที่เพิ่งพังครืนกลางกรุงเทพฯ ไม่ได้พังเพราะแผ่นดินไหว
แต่น่าจะพังเพราะ “เหล็กด้อยคุณภาพ” ที่ถูกมองข้ามมานาน
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว 8.2 ที่เมียนมา ทำให้อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) บนถนนกำแพงเพชร ถล่มลงมาทั้งที่ยังไม่เปิดใช้งาน
ก่อนปรากฏภาพต้นตอตึกถล่ม ระเบิดจากภายในของเสา…ผู้เชี่ยวชาญฟันธงคือลักษณะของเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานซ่อนตัวอยู่ในนั้น ก่อนปะทุออกมากลายเป็นความสูญเสียเหลือคณานับ
เสียงสั่นไหวในใจประชาชนไม่ได้อยู่แค่โครงสร้างที่พัง แต่เกิดขึ้นเมื่อมีการเปิดเผยว่า เหล็กข้ออ้อยที่ใช้ในอาคารนั้น ไม่ผ่านมาตรฐาน และถูกผลิตโดย บริษัททุนจีนชื่อ “ซิน เคอ หยวน” ซึ่งใช้ เตาหลอมแบบ IF — เทคโนโลยีที่ จีนสั่งห้ามใช้ไปตั้งแต่ปี 2560
เตาหลอม IF: เครื่องหมายคำถามของ “คุณภาพเหล็ก” ในไทย
เตาหลอมแบบ IF (Induction Furnace) คือเทคโนโลยีที่ใช้ไฟฟ้าหลอมเศษเหล็กให้กลายเป็นเหล็กเส้นหรือเหล็กข้ออ้อย แม้จะดูประหยัดต้นทุนและใช้พลังงานน้อย แต่ก็ขึ้นชื่อเรื่อง ไม่สามารถควบคุมคุณภาพโลหะได้ดีนัก
จีนถึงกับ สั่งห้ามใช้ถาวรในประเทศตัวเอง เพราะสร้างปัญหาทั้งด้านมลพิษและโครงสร้างเหล็กที่ไร้คุณภาพ แต่ไทยกลับมี โรงงานที่ใช้เตาแบบนี้ถึง 12 แห่ง
หนึ่งในนั้นคือ โรงงานของบริษัท “ซิน เคอ หยวน” ผู้ผลิตเหล็กที่ใช้ในอาคาร สตง. ที่ถล่ม
⸻
เหล็กไม่แข็ง อำนาจรัฐก็ไม่เข้ม หรือมีเม้มเงินทอน?
คำถามคือ…โรงงานเหล่านี้มาตั้งในไทยได้ยังไง? ย้อนดูช่วงเวลา พบว่าเป็นระยะที่ ทุนจีนเข้ามาตั้งโรงงานเหล็กจำนวนมากในประเทศไทย ระหว่างปี 2561–2566 ในช่วงเวลาดังกล่าว มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 2 คน
• อุตตมะ สาวนายน (พ.ศ. 2561–2562)
• สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (พ.ศ. 2562–2566)
ทั้งสองคนอยู่ในรัฐบาลที่สนับสนุนการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ
แต่คำถามคือ ดึงอย่างไรให้กระทบความปลอดภัยต่อประชาชน?
เมื่อจีนไล่เตา IF ออกจากบ้านตัวเอง
แล้วเรากลับเปิดบ้านให้โรงงานเหล็กจีนเข้ามาตั้งในไทย
โดยไม่มีการตั้ง “มาตรฐานขั้นต่ำ” สำหรับการควบคุมคุณภาพเหล็กในประเทศ
ตรา มอก. ก็ไม่มีการแยกประเภทระหว่างเหล็ก T กับ Non T ทั้งๆ ที่คุณภาพต่างกัน
และเหล็กที่พบไม่ได้มาตรฐานจากตึกถล่ม…คือเหล็ก T
⸻
โรงงานไทยเจ๊ง โรงงานทุนจีนผูกขาดตลาด
ในเวลาเพียงไม่กี่ปี
• โรงงานเหล็กไทย ล้มหาย 75แห่งใน 10 เดือนแรกของปี 2566
• สูญเสียเงินทุนกว่า 393 ล้านบาท
• โรงงานจีนกลับ กลายเป็นผู้เล่นใหญ่ในตลาด
เพราะเหล็กที่ผลิตในไทยถือว่าเป็น “สินค้าภายในประเทศ”
ทำให้สามารถเข้าร่วมประมูลงานภาครัฐได้
โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า และใช้แรงงานข้ามชาติราคาถูก
พอผลิตได้เยอะ ต้นทุนต่ำ เข้าประมูลราคาถูก…ใครจะสู้ไหว?
⸻
อุตตมะ–สุริยะ ไม่พูดอะไรหน่อยเหรอ?
วันนี้อาคาร สตง. พังเพราะแรงสะเทือนจากแผ่นดิน
แต่เหล็กที่พังข้างใน อาจสะท้อนแรงสะเทือนจาก “นโยบายที่ไม่เข้มแข็ง”
“ใครปล่อยให้โรงงานเหล็กคุณภาพต่ำเข้ามาตั้งในไทย?”
“ใครไม่เร่งออกมาตรฐานหรือกฎควบคุมเตา IF?”
“ใครได้ประโยชน์จากการไม่ตรวจสอบ?”
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ อดีตรัฐมนตรี ทั้งสองคน
ควรออกมาชี้แจงบทบาทของตนในช่วงที่โรงงานเหล่านี้ขยายตัวอย่างเงียบ ๆ
⸻
เสียงจากเหล็กที่หัก…กำลังฟ่องนโยบายที่อ่อนปวกเปียก
และถ้าใครยังคิดว่าเรื่องนี้เป็นแค่ “อุบัติเหตุ” หรือ “เรื่องของเหล็กไม่กี่ตัน”
ก็ขอให้ฟังเสียงของ เหล็กข้ออ้อยที่ไม่ผ่านมาตรฐาน
ฟังเสียงของครอบครัวแรงงานที่เสียชีวิต
ฟังเสียงของธุรกิจไทยที่ล้มเพราะแข่งต้นทุนไม่ไหว
ฟังเสียงของประเทศที่กลายเป็นโรงขยะของเทคโนโลยีที่คนอื่นเขาทิ้งแล้ว
มีคำพังเพยว่าไว้ “ตีเหล็กให้ตีตอนร้อน” ตอนนี้ร้อนกำลังดี
อย่าปล่อยผ่าน…แต่ต้องสืบสาวให้ถึงต้นตอ
การปล่อยปละละเลย แค่ไม่รู้ หรือ มีผลประโยชน์แอบแฝง
หากยังหาคำตอบไม่ได้ “เหล็กร้อน ๆ จะกลับมานาบรัฐบาล”
และอาจเผา “ความเชื่อมั่นทั้งระบบ” ไปพร้อม ๆ กัน