ในวันที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ปธน.สหรัฐฯ ประกาศตั้งกำแพงภาษีต่อสินค้านำเข้าหลายประเทศ โดยประเทศไทยถูกตั้งภาษีสูงถึง 36% ส่วนสิงคโปร์อยู่ที่ 10 % ภายใต้นโยบาย “reciprocal tariff” ปิดฉากยุคโลกาภิวัฒน์แบบมีกติกา สู่ “กติกู” ของสหรัฐ?
ในห้วงเวลานั้นเราได้เห็น “ภาวะผู้นำ” ที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วระหว่าง ไทยกับสิงคโปร์
———
นายกฯ ไทย : ไม่ต้องเป็นห่วง ตั้งคณะทำงาน เจรจาได้
นายกฯ แพทองธาร ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ระหว่างลงพื้นที่จังหวัดบุรรีรัมย์ ระบุว่า “จริง ๆ ตัวเลขของเราอยู่ที่ 9% แต่เขาเอาวิธีคิดแบบใหม่ ใช้ลิมิตสูงสุดแล้วคำนวณมาเป็น 72% หารสองได้ 36%…เป็นวิธีคิดอีกแบบหนึ่ง แต่ไม่ต้องห่วงเพราะเตรียมการรองรับแล้ว ยังสามารถเจรจาได้” (ฯลฯ)
คำพูดดังกล่าวแม้จะมีรายะเอียดเชิงเทคนิค แต่กับไม่มีบริบทการสื่อสารในฐานะผู้นำ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์โลก ไม่ได้สะท้อนความเร่งด่วนที่ไทยต้องเผชิญ…
แถมหลังจากนั้นยังปรากฏภาพชื่นมื่นกับนักการเมืองร่วมรัฐบาล ถ่ายเซลฟี่จนคนจำนวนไม่น้อยรู้สึก “จุกอก”
เพราะวันเดียวกันนั้น…ไม่ได้มีแค่สงครามภาษี
แต่…กรุงเทพฯ ยังมีกู้ภัยกำลังกู้ซากตึก สตง. ถล่ม
ผู้คนภาวนาให้มีผู้รอดชีวิต
แต่ภาพจากสื่อ…กลับสะท้อนบรรยากาศ “ไม่รู้ร้อนรู้หนาว” ของ “นายกฯ แพทองธาร”
⸻
ภาวะผู้นำไม่ใช่แค่การไปปรากฏตัวในพื้นที่ แต่คือการเลือก “พูดอะไร” กับประชาชน ในเวลาที่โลกกำลังเปลี่ยน
สิงคโปร์เจอภาษี 10% แต่เตรียมพร้อมราวกับเผชิญพายุ
ไทยเจอภาษี 36% แต่ผู้นำบอก “ไม่ต้องเป็นห่วง”
ทั้งที่นักวิชาการดาหน้าประสานเสียง เตือนว่าไทยอาจสูญเสียมูลค่าการส่งออกถึง 7.7 แสนล้าน-1 ล้านล้านบาท และเศรษฐกิจไทยจะโตแค่ 1% ในปีนี้!
ขณะที่ใบหน้านายกฯ เปื้อนรอยยิ้มในกิจกรรมพบปะประชาชนที่บุรีรัมย์…ที่กรุงเทพฯ หน่วยกู้ภัยยังค้นหาผู้รอดชีวิตจากซากตึกถล่ม
นายกฯ สิงคโปร์ : ”The risks are real, and the stakes are high“
ตัดภาพไปดูนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ Lawrence Wong แถลงอย่างเป็นทางการผ่านโทรทัศน์เพื่อเตือนประชาชนของเขาอย่างจริงจังว่า “Let us not be lulled into complacency. The risks are real, and the stakes are high.” — อย่าปล่อยให้ตัวเองชินชา ความเสี่ยงมีอยู่จริง และสิ่งที่เราต้องเผชิญไม่ใช่เรื่องเล็ก
นี่คือสารจากนายกฯ สิงคโปร์ในวันที่ประเทศของเขาถูกสหรัฐขึ้นภาษีสินค้า 10% เขาเตือนว่า โลกกำลังเข้าสู่การค้าแบบต่างคนต่างเอาตัวรอด การะทิ้ง WTO จะทำให้ประเทศเล็กถูกเบียดตกขอบเวทีโลก พร้อมกับเปรียบเทียบสถานการณ์นี้กับช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกาศจะสร้างความพร้อมให้สิงคโปร์ทั้งทางเศรษฐกิจและ “จิตใจของผู้คน”
———
เปรียบเทียบวาทะสองผู้นำประเทศ
คำพูดของผู้นำทั้งสอง ส่งสารถึงประชาชนต่างกันโดยสิ้นเชิง คนหนึ่งพูดเพื่อให้ประชาชนสบายใจแบบไม่อิงข้อเท็จจริง อีกคนหนึ่งพูดเพื่อเตือนให้ทั้งประเทศเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก
ประเทศหนึ่งได้รับผลกระทบน้อยกว่า…แต่เตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง
อีกประเทศหนึ่งได้รับผลกระทบมากกว่า แต่ผู้นำยัง “ชิล ๆ ” บอก ไม่ต้องเป็นห่วง
ผู้นำที่ดีไม่ใช่คนที่ทำให้คนลืมปัญหา แต่คือคนที่กล้าพูดความจริงและพาประเทศให้รอดท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ
⸻
แอคชันที่ควรทำ ไม่ใช่แค่ตั้งคณะทำงาน
แต่ควร:
• ชี้แจงต่อประชาชนว่าเกิดอะไรขึ้น และไทยควรปรับตัวอย่างไร
• เรียกรวมหน่วยงานการค้า เศรษฐกิจ การต่างประเทศ มาวางแผนป้องกันล่วงหน้า
• แสดงภาวะผู้นำในยามวิกฤต ไม่ใช่การจัดคิวกิจกรรม สานสัมพันธ์พรรคร่วมรัฐบาล ด้วยการไปเยือนถิ่น “เนวิน ชิดชอบ” ครูใหญ่แห่งภูมิใจไทย
⸻
นี่ไม่ใช่แค่ภาษี – แต่มันคือบททดสอบความเข้าใจโลก และภาวะผู้นำของนายกฯ ไทย…ว่าแต่มีหรือเปล่า?