วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเทศไทยฉลองด้วย… “การสูญพันธุ์เงียบ ๆ”
วันนี้ (22 พฤษภาคม) คือวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ในขณะที่โลกกำลังพูดถึงการปกป้องสายพันธุ์หายาก ประเทศไทยกลับต้องเผชิญหน้ากับ “ปลาหมอคางดำ” สายพันธุ์ต่างถิ่นที่ระบาดหนักในหลายพื้ยนที่
กินเรียบตั้งแต่ปลาท้องถิ่นยันไข่กุ้ง ทำลายความหลากหลายของระบบนิเวศพื้นบ้านแทบสิ้นซาก
ไม่ใช่แค่นั้น…
ล่าสุดสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 เชียงใหม่ รายงานพบสารหนู–ตะกั่ว ปนเปื้อนในแม่น้ำกก แม่น้ำสาย และแม่น้ำโขง
น้ำที่ควรหล่อเลี้ยงชีวิต กำลังกลายเป็นเส้นเลือดของสารพิษ
ปลาที่ควรสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นตัวบ่งชี้ความพังพินาศของสิ่งแวดล้อมไทย
ถามจริง…
ใครคือ “ปลาหมอคางดำ” ตัวจริง?
ปลาระบาด หรือ “โครงสร้างรัฐ” ที่ปล่อยให้ระบบนิเวศถูกทำลาย
สารพิษข้ามพรมแดนจากการทำเหมืองทองคำฝั่งเมียนมา
สะท้อนภัยข้ามพรมแดนที่รัฐยังรับมือไม่ได้
แล้วเราจะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างไร?
วันนี้เราไม่ได้แค่สูญเสียปลาไทย
แต่กำลังสูญเสียอนาคตของแหล่งน้ำไทยทั้งระบบ
และสูญเสียศักดิ์ศรีของประเทศ ที่ปกป้องไม่ได้แ้แต่แม่น้ำของตัวเอง