หลังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชดใช้ค่าสินไหม 10,028 ล้านบาท เกิดการสู้กลับจากพรรคเพื่อไทย กล่าวหา–โจมตี–ตั้งคำถามต่อความยุติธรรม
“ถูกปล้นความยุติธรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า”
“นโยบายเพื่อชาวนา กลับถูกลงโทษ”
ฯลฯ
แต่ในขณะที่วาทกรรมเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำต่อเนื่อง
งบประมาณแผ่นดินก็ยังคงต้องจ่ายหนี้จากนโยบายนี้ต่อไปอีกหลายปี
—
โครงการจำนำข้าวยุคยิ่งลักษณ์ ยังเป็นภาระข้ามทศวรรษ
จากเอกสารงบประมาณรายจ่ายปี 2569 พบว่า
รัฐบาลต้องกันงบประมาณ อีก 136,532 ล้านบาท ตลอด 5 ปี (2568–2572)
เพื่อใช้ชำระหนี้จากโครงการรับจำนำข้าวที่ดำเนินการระหว่างปี 2554–2557
เฉพาะในปี 2569 เพียงปีเดียว
งบจ่ายหนี้จำนำข้าวมีมูลค่า 27,935 ล้านบาท
ส่วนข้อมูลจาก ธ.ก.ส. ณ สิ้นมีนาคม 2567 ระบุว่า
ยังมีหนี้คงค้างจากโครงการจำนำข้าวอยู่ถึง 173,215.98 ล้านบาท
ที่รัฐบาลต้องชำระแทนตามคำรับรองและการค้ำประกัน
—
โครงการ 5 ฤดูกาล ใช้เงินเกือบ 9.77 แสนล้านบาท
ผลตอบแทนไม่ใช่ราคาข้าวสูง แต่คือหนี้มหาศาล
โครงการรับจำนำข้าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ดำเนินต่อเนื่อง 5 ฤดูกาล ใช้เงินไป 976,591 ล้านบาท รับซื้อข้าวเปลือกกว่า 54.35 ล้านตัน
แต่กลับเต็มไปด้วยปัญหาการระบาย–สต๊อกล้น–และช่องว่างให้ทุจริต
—
จะปกป้องยิ่งลักษณ์…โดยไม่เห็นหัวคนที่จ่ายหนี้อยู่ทุกปีได้อย่างไร?
ใครที่ยังเชื่อว่าโครงการนี้ “ไม่มีความเสียหาย”
ควรเปิดงบประมาณปี 2569 ดูอีกครั้ง
เพราะเบื้องหลังคำว่า “นโยบายเพื่อประชาชน”
คือภาระที่รัฐต้องแบกรับข้ามรัฐบาล
และ คนไทยต้องจ่ายต่อแบบข้ามทศวรรษ โดยตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา รัฐบาลทยอยจ่ายหนี้ทั้งต้นและดอกให้ ธกส.อย่างต่อเนื่อง
รายงานของสำนักบริหารหนี้สาธารณะรุบุว่า ภายในปี 2567 มีการชำระหนี้โครงการจำนำข้าวไปแล้วราว 4 แสนล้านบาท และนับจากนี้ไปจนถึงปี 2572 คนไทยยังต้องแบกหนี้ต่อไปอีกเกือบ 1.4 แสนล้านบาท
คำถามจึงไม่ใช่แค่ “ยิ่งลักษณ์ได้รับความยุติธรรมหรือไม่”
แต่คือ… ยุติธรรมหรือไม่ที่คนทั้งประเทศต้องจ่ายหนี้แทนโดยไม่มีสิทธิเลือก