เรื่องที่ควรจบ…แต่ไม่จบ หรือเพราะใครบางคน “ไม่อยากให้จบ?”
จากวันที่ประชาชนสงสัย
ถึงวันที่แพทยสภาเงียบ
และวันที่ “วิโรจน์” เตรียมยื่น ป.ป.ช. ตามยุทธศาสตร์โรยเกลือหลังศึกซักฟอก !
⸻
ห้องพิเศษระดับสูง ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ
กลายเป็นมากกว่าพื้นที่ของผู้ป่วย…แต่เป็นพื้นที่ของคำถาม
เกี่ยวกับมาตรฐานการแพทย์ ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม
และ “อำนาจพิเศษ” ที่ทำให้คนคนหนึ่ง “อยู่โรงพยาบาลได้ 6 เดือน” โดยไม่ต้องนอน ”คุก“
⸻
ย้อนไทม์ไลน์: คดีทักษิณ–ชั้น 14
– 22 ส.ค. 2566: นายทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทย ถูกควบคุมตัวเพื่อรับโทษจำคุก 8 ปี (ก่อนได้รับพระราชทานอภัยลดโทษเหลือ 1 ปี) แต่ถูกส่งตัวไปรักษาอาการป่วยทันทีที่โรงพยาบาลตำรวจ ตามด้วยข้อครหา ”ไม่ต้องนอนคุกแม้แต่วันเดียว“
– 6 เดือนที่ไม่ต้องนอนคุก : อยู่ห้องพิเศษชั้น 14 อย่างต่อเนื่องโดยไม่กลับไปราชทัณฑ์
– 2 ส.ค.2567 กสม.มีมติการรักษาตัวของทักษิณ เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้รับสิทธิพิเศษเหนือผู้ต้องขังรายอื่น ส่อว่ามีการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ
– 16 ธ.ค.2567. ป.ป.ช.ตั้งองค์คณะไต่สวนเจ้าหน้าที่รัฐ 12 ราย จากกรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ เอื้อประโยชน์ทักษิณปมชั้น 14
– แพทยสภารับเรื่องร้องเรียน: มีการตั้งอนุกรรมการจริยธรรมฯ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
– 10 เม.ย. 2567 เดิมมีกำหนดประชุมสรุปผลสอบ แต่ “เลื่อนออกไปไม่มีกำหนด” อ้างว่าเพิ่งได้รับเอกสารเพิ่มจากโรงพยาบาลตำรวจและราชทัณฑ์
• 18 เม.ย. 2567 นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ส่งหนังสือเปิดผนึก จี้ให้แพทยสภาเร่งดำเนินการอย่างโปร่งใส ข้อความตอนหนึ่งระบุว่า ”ขอให้ดำเนินการอย่างละเอียด รวดเร็ว ยึดมั่นความถูกต้องชอบธรรม เพื่อคงไว้ซึ่งเกียรติภูมิแพทยสภาและวงการแพทย์ เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของสังคมไทยตลอดไป“
• 21 เม.ย. 2567 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคประชาชน เตรียมยื่น ป.ป.ช.สอบชั้น 14 ตามแผนยุทธการโรยเกลือ ภาคต่อจากศึกซักฟอกในสภาฯ
⸻
เรื่องไม่น่าจบยาก…แต่จบช้าเพราะมีใคร ”ลากเรื่อง?“
ประเด็น ไม่ใช่แค่ว่า “ใครอนุญาตให้พักรักษายาว”
แต่คือ “ใครกันแน่ที่ไม่อยากให้เรื่องนี้ถึงบทสรุป”
นี่ไม่ใช่แค่การใช้สิทธิรักษาพยาบาล
แต่คือ “การใช้ช่องว่างในระบบราชการ–ราชทัณฑ์–และจริยธรรมวิชาชีพ”
เพื่อหลีกเลี่ยงการรับโทษแบบที่ “คนธรรมดาทำไม่ได้”
⸻
ฝ่ายค้านตาม “โรยเกลือ” ยื่น ป.ป.ช.สอบชั้น 14
“กรณีนี้มีพฤติการณ์ที่เข้าข่ายเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ และทำให้หน่วยงานของรัฐเกิดความเสียหาย”
— วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
เขาเตรียมส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของราชทัณฑ์, โรงพยาบาลตำรวจ, และผู้มีอำนาจที่อาจเกี่ยวข้องกับการอนุมัติให้ “พักฟื้นไม่รู้จบ”
⸻
บทสรุปที่ใครบางคนอาจอยาก “เขียนใหม่”
ถ้าเรื่องนี้จบแบบไม่มีคำตอบ
สังคมจะไม่ใช่แค่ “หมดศรัทธา” ในแพทยสภา
แต่จะหมดศรัทธาในคำว่า “ความยุติธรรม” ไปตลอดกาล
เพราะ “ชั้น 14” ไม่ควรกลายเป็น “สัญลักษณ์ของอภิสิทธิ์”
และวงการแพทย์ไม่ควรกลายเป็น “เครื่องมือฟอกขาว” ของการเมือง