นิทรรศการไทยที่ควรโชว์ศักยภาพประเทศ
กลับโดนวิจารณ์ว่า “เบา โบ๋ บ้ง”
กระทรวงสาธารณสุขเพิ่งตั้ง “ทีม Thailand” มาปรับเนื้อหา
แต่คำถามสำคัญยังไม่มีใครตอบ…
ภาษีใช้ไปเกือบ 900 ล้าน
ได้งานไม่คุ้ม ชื่อเสียงเสียหาย
แล้วใครรับผิดชอบ?
อ่านบทความเต็ม: [ใส่ลิงก์บทความ]
#EXPO2025 #พาวิลเลียนไทย #จัดซื้อจัดจ้าง #ThePublisher #เที่ยงเปรี้ยงปร้าง
////
EXPO 2025: เวทีโลก…ที่ทำให้ “คนไทยได้แต่ก้มหน้า
เสียงบประมาณไปเกือบ 900 ล้าน แต่กลับได้ ‘งานไม่ตรงปก’ แล้วใครรับผิดชอบ?
EXPO 2025 ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น คืองานระดับโลกที่ทุกประเทศเจ้าภาพพาวิลเลียนต่างทุ่มเทเพื่อสะท้อนศักยภาพของตนเอง — แต่สำหรับประเทศไทย นิทรรศการ “ไทยพาวิลเลียน” กลับกลายเป็นจุดตั้งคำถามว่า งบประมาณที่ใช้ไปนับพันล้าน…ได้กลับมาเท่าที่ควรหรือไม่?
ไม่ใช่แค่เสียงวิจารณ์ว่า “นิทรรศการไม่สมราคา”
แต่ยังมีข้อสงสัยเชิงโครงสร้างที่ลุกลามไปถึงการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทที่ได้งาน การจ่ายงบ และความรับผิดชอบของ “กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” เจ้าของโครงการนี้
⸻
เสียงวิจารณ์: งานห่วย ไม่สมศักดิ์ศรีเวทีโลก
หลังภาพนิทรรศการไทยเปิดตัว ผู้ชมจำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศวิจารณ์ว่า
• เนื้อหาบาง เบา ไร้จินตนาการ
• การจัดแสดงไม่สื่อสาร “ตัวตน” หรือ “จุดแข็ง” ของไทยได้อย่างน่าสนใจ
• เมื่อเทียบกับงบประมาณที่ใช้ไปกว่า 867 ล้านบาท “มันไม่คุ้ม”
⸻
พิรุธบริษัท: ตั้ง 4 เดือน คว้างาน 867 ล้าน แล้วรีบปิดกิจการ
ชื่อ บริษัท กิจการร่วมค้า อาร์เอ็มเอหนึ่งร้อยสิบ จำกัด
• จดทะเบียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2566
• ได้งานในเดือนตุลาคม 2566 (เพียง 4 เดือนหลังตั้งบริษัท)
• ปิดกิจการในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567
มีคำชี้แจงในเวลาต่อมาว่า เป็นคนละบริษัทแม้จะเจ้าของเดียวกัน ใช้ที่อยู่เดียวกัน แต่ที่กวาดงานไปคือ กิจการร่วมค้า อาร์เอ็มเอหนึ่งร้อยสิบ ไม่มีคำว่าบริษัทนำหน้า ไม่มี จำกัดต่อท้าย
แค่ตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลทางเทคนิค เมื่อไม่ได้ดำเนินการอะไรก็ปิดกิจการไป
ฟังขึ้นหรือไม่…ประชาชาตัดสินใจกันเอาเอง
⸻
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง: จากคัดเลือก สู่เฉพาะเจาะจง จนจบที่ผู้ชนะเดิม
• กำหนดราคากลางที่ 867 ล้านบาทตั้งแต่ต้น — ยึดตามราคาจากบริษัทเดิม
• ยกเลิกคัดเลือกหลายรอบ → เปลี่ยนมาใช้วิธี “เฉพาะเจาะจง”
• ผู้ชนะยังคงเป็น อาร์เอ็มเอหนึ่งร้อยสิบ แม้รอบแรกไม่เซ็นสัญญา
• ราคาที่ชนะห่างจากราคากลางแค่ 77,000 บาท จาก 867 ล้านบาท
นี่คือระบบที่มีการแข่งขัน – แต่ถูกครหาไม่มีความโปร่งใส – ราวกับล็อกผลไว้แล้วหรือไม่?
⸻
กระทรวงฯ ขยับตั้งทีม “Thailand” ปรับเนื้อหาใหม่
ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขเตรียมตั้งทีม “Thailand” เพื่อปรับเนื้อหานิทรรศการใหม่ หวังแก้ภาพลักษณ์และเสียงวิจารณ์
แต่คำถามคือ — ช้าไปไหม?
เพราะขณะที่เนื้อหาจะถูกเปลี่ยนแปลง
งบประมาณจำนวนมหาศาลนั้นถูกใช้ไปแล้ว
โดยเฉพาะส่วนของการออกแบบ บริหาร และโครงสร้างนิทรรศการที่จัดจ้างไปก่อนหน้า
การปรับเปลี่ยนใหม่ต้องเพิ่มงบประมาณมั้ย
เอกชนที่เป็นผู้จัดงานต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมอย่างไร
สิ่งเหล่านี้ควรมีคำอธิบายเพิ่มเติม นอกจากบอกว่าจะปรับเนื้อหา
⸻
คำถามสุดท้าย…ที่ยังไม่มีคำตอบ
“ถ้าเป็นงานของเอกชน จ้างแพงแล้วได้งานไม่คุ้ม ผู้ว่าจ้างจะกล้าทวงคืน
แต่พอเป็นงานภาครัฐที่ใช้งบแผ่นดิน เราได้เห็นใครบ้าง…ที่ลุกขึ้นมารับผิดชอบ?”
แม้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข ต้นสังกัด จะนั่งยัน ยืนยัน นอนยัน “ทำทุกอย่างถูกต้งอตามกฎหมายและระเบียบ”
แต่คำถามใหญ่ที่สหัสวัต คุ้มคง สส.ชลบุรี พรรคประชาชนตั้งไว้ยังไม่มีใครตอบ
“ทำไมต้องใช้งบจำนวนมาก ไปโปรโมตให้โรงพยาบาลเอกชน เอาหลักคิดอะไรมาใช้ เอาธรรมาภิบาลที่ไหนมาจับ?“
และสุดท้าย…มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการกล้ายอมรับว่านี่คือความล้มเหลวหรือไม่?
⸻
**EXPO 2025: โอกาสที่ควรโชว์ประเทศไทย
กลายเป็นเวทีเปิดโปง “ระบบที่ไม่เปลี่ยนแปลง”**
นี่ไม่ใช่เรื่องแค่ “ตกแต่งพาวิลเลียนให้ดีขึ้น”
แต่มันคือคำถามถึง “โครงสร้างอำนาจ – กลไกจัดซื้อ – ความรับผิดชอบของรัฐ”
ในวันที่ภาษีของประชาชนถูกใช้ไปแบบ ”ไม่คุ้มค่า“
แต่ไม่มีใครบอกได้ว่า…ใครควรรับผิด