กรณีที่เป็นประเด็นในเรื่อง ส.ส. ปูอัดโดนนักท่องเที่ยวชาวไต้หวันแจ้งความในคดีล่วงละเมิดทางเพศ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการตามกม.ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะถูกบรรจุในวาระอภิปรายส่งตัว ส.ส.ปูอัด ในวันที่ 20 ก.พ. นี้ ซึ่งทางส.ส.ปูอัดเองได้ชี้แจงผ่านเพื่อนสนิทว่าจะเดินทางเข้าไปมอบตัว และชี้แจงต่อหน้าสื่อ ที่เชียงใหม่ ก่อนวันดังกล่าว กรณีส.ส. ที่มีคดีติดตัวอยู่จะสามารถใช้เอกสิทธิคุ้มครองในฐานะผู้แทนของประชาชนหรือไม่ คดีนี้จะมีทางออกอย่างไร พูดคุยกับ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักกฎหมาย ในรายการเที่ยงเปรี้ยงปร้าง ดำเนินรายการโดย สมจิตต์ นวเครือสุนทร The Publisher
The Publisher: คิดอย่างไรกับกรณีของ ส.ส.ปูอัด?
นิพิฏฐ์: เอาหลักๆ ก่อนในระหว่างสมัยประชุมจะมีจับกุมหรือหมายเรียก ส.ส. ส.ว. ไปทำการสอบสวน ไปดำเนินคดีใดๆ ไม่ได้เพราะว่าจะมีการขัดขวางการประชุม เว้นแต่จะระงับอนุญาตจากสภาที่สังกัดอยู่หมายถึงว่าในระหว่างสมัยประชุมถ้าจะจับกุมหรือหมายเรียกจะทำไม่ได้ ต้องได้รับการอนุมัติจากสภาก่อน เป็นบทคุ้มครอง
The Publisher: ทำไมต้องมีบทคุ้มครองส.ส. ในเรื่องนี้?
นิพิฏฐ์: ผมมีประสบการณ์กับเรื่องนี้ ผมโดนฟ้องมา 13 คดี คดีล่าสุดคือที่โดนลูกชายของนายกทักษิณฟ้อง คือเจตนาของกฎหมายเค้าต้องการให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ความสำคัญมาก ใช้คำว่าไม่ให้เป็นการขัดขวางการประชุม ห้ามขัดขวาง เพราะการไปประชุมการไปแสดงมติลงมติในสภาเป็นเรื่องของผู้แทนราษฎรที่ต้องกระทำในฐานะผู้แทนราษฎรจะขัดขวางไม่ได้ ถ้าสังเกตว่าในอดีตถ้ารัฐบาลต้องการจะเล่นงานฝ่ายค้านรัฐบาลมีเครื่องมือเยอะ มีทั้งตำรวจ มีทั้งอัยการ หน่วยงานพิเศษที่จะเล่นงานฝ่ายค้านได้เยอะก็เลยคุ้มครอง จึงมีประวัติว่าเวลาจะประชุมสักครั้งหนึ่งคนนี้อภิปรายเก่ง มีหลักฐานก็จับซะก่อน เพราะฉะนั้นก็ห้ามเลย
The Publisher: เป็นกลไกคุ้มครองไม่ให้มีการกลั่นแกล้งในระหว่างสมัยประชุม?
นิพิฏฐ์: ใช่ๆ แต่ว่าโดยหลักจริงๆแล้วเค้ามีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐบาลไปกลั่นแกล้งฝ่ายค้าน
The Publisher: มองอย่างไรที่ว่า เรื่องของคดีเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ควรมีเอกสิทธิ์แบบนี้มาตั้งนานแล้ว?
นิพิฏฐ์: มันต้องดูคดีด้วยว่า เหตุที่ส.ส. ถูกแจ้งความ มันเป็นเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการปฎิบัติหน้าที่ของส.ส. หรือเปล่าเป็นเรื่องส่วนตัวไหม ของผมทั้ง 13 คดี มีทั้งส.ส. บ้าง ทหารบ้าง มาแจ้งความผมทั้งนั้น ตอนนั้นผมทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน เวลามีคนมาแจ้งความในอดีตเป็นเรื่องของฝ่ายรัฐบาลทั้งสิ้น ก็ต้องการคุ้มครองแต่ในกรณีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวเช่น ราษฎรฟ้องส.ส. บุกรุกทำร้ายร่างกายล่วงละเมิด อันนี้เป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งต้องแยกว่าถ้าส.ส. ขอเอกสิทธิ์ในคดีที่มีการพิพาทกันส่วนตัวกับประชาชน ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องของส่วนตัวโดยแท้ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่อย่าไปขอเอกสิทธิ์เลย แต่จริงๆแล้วเราไม่สามารถสละเอกสิทธิ์ได้ต้องเป็นการอนุมัติจากสภาเท่านั้น ก่อนที่เขาจะพิจารณา ก็จะอภิปรายกันนาน เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนต่อส.ส.ที่ขอเอกสิทธิ์เลย ผมก็เลยไม่ขอออกสิทธิ์เลย
The Publisher: กรณีของ ส.ส.ปูอัดดูแล้วเป็นเรื่องส่วนตัว?
นิพิฏฐ์: คิดว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่อยู่ระหว่างสมัยประชุมเป็นช่วงที่ดีที่สุดของท่านส.ส.ปูอัดเลย ที่จะเข้าไปมอบตัวพนักงานสอบสวนกับตำรวจ เพราะกว่าตำรวจจะสอบสวนเสร็จพอถึงวันประชุมสภาต้องปล่อยแล้วไม่ปล่อยไม่ได้เลย แต่ผมแนะนำอย่างนี้เพื่อไม่ให้มีปัญหาว่าจะพ้นสภาพอย่างไร เมื่อก่อนประชุมสภาทุกวันพุธพฤหัส วันอังคารก็ไปมอบตัวเลย เพราะยังไงวันอังคารช่วงเย็นๆค่ำค่ำตำรวจต้องปล่อย ตำรวจไม่ปล่อยไม่ได้ ถ้าตำรวจคิดว่าไม่รู้ว่ามีอยู่ในสมัยประชุมหรือเปล่าก็ต้องเอาพ.ร.ก. เรียกประชุมไปบอกว่าอยู่ในระหว่างสมัยประชุม ผมต้องไปประชุมสภานะ ต้องรีบสอบ ถ้าจับกุมไประหว่างสมัยประชุมสภาถือว่าเป็นการขัดขวาง ถ้าตำรวจขัดขวางก็ถือเป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่อย่าไปวันศุกร์ อันนี้แย่เลย อาจจะสิ้นสภาพส.ส. ได้เลย
The Publisher: หากส.ส. ปูอัดใช้วิธีการมอบตัวก็ไม่จำเป็นต้องไปขออนุมัติจากสภาแต่อย่างใด?
นิพิฏฐ์: ต้องขอ เพราะว่าคำร้องของหนังสือตำรวจก็ไปแล้ว ก็อาจจะเรียกมาสอบวันไหนอีกก็ได้ แต่ว่าถ้าไปถึงสภาแล้ว แล้วสภาอนุมัติเอกสิทธิ์ให้คุ้มครองตำรวจก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็มีปัญหาอีก ก็มีอย่างเดียวก็คืออย่าไปขอเอกสิทธิ์แล้วก็ไปในวันที่ใกล้กับวันประชุมสภาเพราะขังไม่ได้
The Publisher: หากไปพบตำรวจแล้วก็ไม่จำเป็นต้องขอสภาแล้ว?
นิพิฏฐ์: อยู่ที่ว่าจะถอนไหม ถ้าไม่ถอน สภาต้องบรรจุและพิจารณา
The Publisher: สุดท้ายจะโดนอภิปรายในสภา?
นิพิฏฐ์: โดนแน่นอนๆ
The Publisher: กรณีนี้ของคุณปูอัดประชาชนมองว่าเป็นพฤติกรรมเดิมซ้ำอีกรอบหนึ่ง?
นิพิฏฐ์: เมื่อก่อนนี้อยู่พรรคก้าวไกล ก็มีเหตุเรื่องล่วงละเมิดทางเพศแล้วก็ลาออกแล้วก็ไปสังกัดพรรคใหม่ พรรคไทยก้าวหน้า พฤติกรรมแบบนี้มันคล้ายๆว่าสองครั้งแล้ว
The Publisher: เพราะงั้นโอกาสในทางคดีลำบากหน่อย?
นิพิฏฐ์: เขาก็มีโอกาสไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาส เพราะว่าผมก็เคยทำกรณีเหล่านี้มาบ้างดูก่อนเกิดเหตุแล้วหลังเกิดเหตุแล้วเนี่ยมันก็เป็นไปได้ว่าเป็นการสมัครใจสมยอม เดี๋ยวนี้วัฒนธรรมมันเปลี่ยนไป คนเราหญิงชาย อายุขนาดนั้นบางทีรู้จักกันไม่เท่าไหร่วันสองวัน ก็ไม่มีความสัมพันธ์ในลักษณะอย่างนี้ มันก็มีเหมือนกัน ถ้าเขาสืบได้ว่ามีความสนยอม กระทั่งว่าจะไปเรียกเงินเขา ก็สามารถสู้คดีได้ เพราะว่าอายุของผู้หญิงก็น่าจะเลยอายุบรรลุนิติภาวะไปแล้ว
The Publisher: แต่ในแง่การเป็นนักการเมืองในตอนนี้ถือว่า…?
นิพิฏฐ์: เขาเคยโดนเรื่องเหล่านี้มา สองการเข้าไปในสถานที่เหล่านั้น ถ้าภาษาพระเรียกว่าเป็นสถานที่อโคจร ไม่ควรเข้าไป ในการที่เขาเข้าไปผมก็แอบดูคลิปอยู่ เอาเป็นว่าพูดอย่างตรงไปตรงมาคนเป็นผู้แทนราษฎรเนี่ยถึงแม้จะเข้าไป ก็จะมีพฤติกรรมออกมาในลักษณะที่เราเห็นในคลิปมันก็ไม่เหมาะสมต้องมีวุฒิภาวะ
The Publisher: ในเรื่องคดีความอาจจะมีการยื่นจริยธรรมด้วย?
นิพิฏฐ์: เป็นไปได้ เนื่องจากการเข้าไปในสถานที่แบบนั้นและพฤติกรรมเขาที่ทำอย่างนั้นมันเป็นการขัดจริยธรรมระดับไหน ระดับต้น ระดับรุนแรง ถ้าเป็นระดับร้ายแรงถึงขั้นเพิกถอนสิทธิได้ ต้องดูว่าเข้าผิดจริยธรรมในหมวดไหน
The Publisher: ในแง่ของทางการเมืองตอนนี้ส.ส.ปูอัดอาจจะเป็นหัวกระเทียมลีบ?
นิพิฏฐ์: ปลาเน่าตัวเดียวมาทำให้ปลาทั้งคอกเหม็นไปด้วย เพราะงั้นก็ไม่มีใครอยากจะไปเสวนากับสอบประวัติในลักษณะเช่นนี้เพราะจะโดนตำหนิไปด้วย แต่ในเรื่องเหล่านี้ผมใช้คำว่าวุฒิภาวะของท่านส.ส.ไม่ถึงที่จะเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย เข้าไปดื่มไปกินในร้านอาหารในผับในบาร์ไปได้แต่พฤติกรรมที่เราเห็นในร้านที่กระทำอย่างนั้นแสดงถึงวุฒิภาวะเขาไม่ถึงจริงๆ เมื่อวุฒิภาวะไม่ถึงแล้วไปทำอย่างนั้นแล้วโดนแจ้งความคือแล้วบังเอิญคนที่แจ้งความเป็นผู้เสียหายที่เป็นคนต่างชาติที่มาท่องเที่ยว มันก็มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาอาจจะคิดว่า วุฒิภาวะแบบส.ส.รุ่นเก่า เรื่องเหล่านี้เราค่อนข้างระวังมาก จริงๆผมเป็นนักดื่มผมดื่มทุกวัน แต่ไม่มีใครรู้เลยว่าผมเป็นคนดื่ม เพราะว่าเวลาเราออกจากบ้านจะไม่ดื่มเลยแม้กระทั่งในงานแต่ง เพราะเราคิดว่าคุณอาจจะไม่โอเคกับพฤติกรรมเราอย่างนั้น แล้วตอนเป็นผู้แทนราษฎรผมเป็นนักสูบด้วยล่ะ เมื่อก่อนในสภามีห้องสูบบุหรี่อยู่ ผมก็เป็นคนสูบแต่ว่าไม่รู้เลยว่าผมเป็นคนสูบบุหรี่ เพราะว่าออกจากบ้านพักเราจะไม่สูบบุหรี่เลย เพราะคิดว่าคนที่เขามองเราเป็นระดับผู้แทนราษฎรไม่อยากจะเห็นเราไปนั่งกินนั่งสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
The Publisher: ยุคสมัยเปลี่ยนไปได้แต่อะไรที่คนเป็นผู้แทนไม่ควรเปลี่ยนไป?
นิพิฏฐ์: ผมคิดว่าการเป็นแบบอย่างการครองตนของผู้แทนราษฎรต้องมีอย่าไปทำแบบชาวบ้าน ผู้แทนราษฎร ถ้าผมเปรียบเปรียบเหมือนพระเทียบง่ายๆ วันนี้เราเป็นชาวบ้านเรากินมื้อเย็นได้ แต่พรุ่งนี้พอเราไปบวช เรากินมื้อเย็นไม่ได้แล้ว เพราะเขามีศีลกำกับ มีวินัยของพระอยู่ ผู้แทนราษฎรก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะสมัยไหนมันมีรัฐธรรมนูญ มีกฎหมาย มีจริยธรรม ผู้แทนราษฎรในระยะหลังก็มีจริยธรรมอยู่ให้ปฏิบัติด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มันไม่ได้เกี่ยวยุคใหม่ยุคเก่าแล้วครับ การครองตนของผู้แทนราษฎร ขอใช้คำว่าผู้แทนปวงชนชาวไทย เราเป็นผู้แทนของพระด้วยเป็นตัวแทนของแม่ชีด้วย เราต้องดูว่าพระจะมองเราอย่างไรเป็นผู้แทนปวงชนของเขา ชาวบ้านนักเรียนจะมองเราอย่างไร เราต้องครองตนในสถานะให้มีความเหมาะสม
The Publisher: ลักษณะแบบไหนที่ควรเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย?
นิพิฏฐ์: เมื่อเราเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยเราต้องตระหนักว่าเรามีคนแอบมองอยู่มีคนแอบมองเราอยู่ มีคนในหน่วยเลือกตั้งเรา มีคนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีคนในจังหวัดยะลา หลายหลายจังหวัดที่มองเราอยู่ ว่าเป็นตัวแทนของเขาด้วย ถ้าเราคิดว่าไม่มีใครดูเราอยู่อย่างนี้ เราจะทำแบบคุณปูอัด แต่หากเรามองว่าเราเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยมีคนชื่นชมเราอยู่ มีคนแอบมองเราอยู่ ปกป้องสิทธิให้เราอยู่ เราต้องปกป้องสิทธิมากกว่าประชาชนต้องรักษาความเหมาะสมรักษาความพอดีรักษาพี่น้องประชาชนด้วยถ้าเราไปทำอย่างนั้น ต้องบอกว่าผู้แทนราษฎรเหมือนสินค้าส่งออกของประชาชน คุณปูอัดมาจากเขตไหนมันก็สะท้อนว่าเขตนั้น เป็นคนส่งคุณปูอัดเป็นสินค้าในเขตของเขา หากเราไปทำอะไรที่เสียหายคนในเขตนั้นเลือกปูอัดเข้ามาจะมองว่าคนในเขตนั้นมีพฤติกรรมเหมือนคุณปูอัดหรือไม่ ทั้งทั้งที่เขาไม่ได้มีพฤติกรรมอย่างนั้น ตอนหลังเขาใช้คำว่า “ ประชาชนเป็นอย่างไรผู้แทนจะเป็นอย่างนั้น” แต่หากเราคิดอย่างนั้นมันก็ไม่ถูก เพราะงั้นการมาเป็นผู้แทนราษฎรต้องคิดอยู่ตลอดว่ามีคนจำนวนเยอะมองอยู่