ไม่เพียงโอกาสกลับประเทศไทยของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ต้องขยับออกไปจากเดือนเมษายนปีนี้ตามที่พี่ชายนายทักษิณ ชินวัตร บอกไว้เท่านั้น วันนี้มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไม่ง่ายเลยกับการกลับบ้านแบบสวยๆ และไม่เพียงคุณยิ่งลักษณ์เท่านั้น ตัวนายทักษิณเองก็อาจต้องเผชิญกับวิบากกรรมเช่นกัน
เรื่องนี้นายแพทย์วรรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี ได้วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจในรายการเที่ยงเปรี้ยงปร้างดำเนินรายการโดยคุณสมจิตต์ นวเครือสุนทร
The Publisher : มองปัจจัยอะไรที่เห็นว่าคุณยิ่งลักษณ์จะไม่กลับมาช่วงสงกรานต์นี้แล้ว
นพ.วรงค์ : เรื่องนี้เป็นคุณทักษิณพูดเอง แต่สำหรับผมมองว่าสิ่งที่ไม่เป็นตามคาดหวังคือเรื่องนี้ มีปัญหาทั้งข้อสงสัย ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย คือเรื่องข้อสงสัย ที่คุณทักษิณบอกว่ามีดีล พยายามอ้างอิงว่าอยู่จักพระเจ้าประจำประเทศไทย จะขอเวลาอีก 17 ปี คำพูดหลายอย่างมันท้าทายมากเกินไป แน่นอนด้วยสามัญสำนึก เวลาเขาคุยกัน ไม่ได้คุยแบบนี้ ฉะนั้นถ้าข้อสงสัยนี้เกิดขึ้นจริงกันก็ไม่ง่ายกรณีคุณยิ่งลักษณ์
ส่วนข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ต้องยอมรับว่าคุณทักษิณไม่ได้ติดคุก คนเชื่อว่าอย่างนั้นว่าอยู่บนชั้น 1
4 อ้างว่าเจ็บป่วยวิกฤตอะไรก็แล้วแต่ แต่ ณ ขนาดนี้กระบวนการตรวจสอบเข้มข้นขึ้น เพราะภาคประชาชนตื่นตัวตื่นรู้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบผ่าน ป.ป.ช. หรือองค์กรอย่าง แพทยสภา ที่คืบหน้าไปมาก
อีกช่องทางที่ประชาชนยังไม่รู้คือเรื่องกฎหมาย ป.วิอาญามาตรา 246 ที่คุณชาญชัย (อิสระเสนารักษ์) ร้องไป เรื่องนี้ศาลยังไม่ปฏิเสธ เชื่อว่าศาลสงสัยมีเหตุมีผล หลังรับไว้ครั้งที่ 3 รับไว้พิจารณา เรื่องนี้ถูกโยงไปถึงคุณยิ่งลักษณ์ด้วย เพราะมาตรา 246 เป็นเรื่องกฎกระทรวงที่ใช้ขัดแย้งกับ ป.วิอาญา นั้นคือเรื่องคุณทักษิณ แต่ถ้าเรื่องนี้เป็นประเด็นขึ้นมา เอาเฉพาะกระแสสังคมก็ปฏิเสธอยู่แล้วเรื่องการใช้อภิสิทธิ์
ถ้าสมมุติเรื่องศาลรับพิจารณาจริงๆ จะโยงไปถึงคุณยิ่งลักษณ์ ตามมาตรา 89 วรรค 2 ของ ป.วิอาญา นั้นหมายความว่าอย่างไรก็ตามคุณยิ่งลักษณ์ต้องติดคุก 1 ใน 3 สมมุติได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือ 1 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นแบบนี้ไหม คุณยิ่งลักษณ์จะติดคุกในเงื่อนไขอะไร เพราะคุณทักษิณทำตัวอย่างไว้
ประเด็นถัดมา การปล่อยให้คุมขังที่บ้านแทนเรือนจำได้หรือไม่ ถ้าเข้าข่ายมาตรา 246 และ 89 วรรค 2 ของ ป.วิอาญา ต้องขออนุญาตศาล จะปล่อยกลับบ้านตามใจชอบไม่ได้ ประเด็นต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงไปที่กรมราชทัณฑ์ที่ทำงานยากขึ้น เพราะกฎหมายมันรัดตัวไว้
The Publisher :ตอนนี้ทำให้ลังเลกลับมา เพราะอาจต้องติดคุกจริง
นพ.วรงค์ : ผมว่าเฉพาะตัวคุณทักษิณเอง คิดว่าเขาก็ลังเลนะ เพราะตัวเขาเองก็มีความสุ่มเสี่ยงต้องติดคุก ถ้าไม่อยากติดคุกก็ต้องหนี ดังนั้นสถานการณ์แบบนี้ ทั้งกระแสสังคม ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายต่างๆ ไม่เป็นคุณ ผมเคยเตือนเขาไปแล้วว่าถ้าปฏิบัติตัวดีๆ นะ จะเป็นคุณกับคุณยิ่งลักษณ์ แต่การปฏิบัติตัวแบบนี้มันไม่เป็นคุณต่อกระแสสังคม และยังมาเจอกับกฎหมาย ป.วิอาญาด้วย มันเลยยิ่งไปกันใหญ่ และยิ่งสถานการณ์แบบนี้ เรียกว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เริ่มกลัว
The Publisher : คือสัญญาณเป็นลบ เลยต้องใส่เกียร์ถอยไปก่อน
นพ.วรงค์ : มันเป็นลบทุกมิติ มันสะท้อนการตื่นตัวของประชาชน ในการรุกคืบ สู้ไม่ถอยเหมือนกัน
The Publisher : กรณีคุณยิ่งลักษณ์ จริงๆ แล้วยังมีอีกคดีที่ศาลปกครองกำลังพิจารณาคือเงินชดเชย 3 หมื่น 5 พันล้านบาท ที่ศาลปกครองกลางยกคำร้องไปแล้ว แต่ศาลปกครองสูงสุดอาจมีบางอย่างที่เห็นต่างออกไป คุณหมอมองว่าเรื่องนี้เป็นอีกปัจจัยหนึ่งหรือเปล่า
นพ.วรงค์ : ผมใช้คำว่า ผมก็ได้กระแสข่าวนี้ คือคุณยิ่งลักษณ์มีทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง คดีอาญาจบไปแล้วทำอะไรไม่ได้ คดีแพ่งต้องชดใช้ 3 หมื่น 5 พันล้านบาท แม้ศาลปกครองกลางบอกไม่ต้องชดใช้ แต่เมื่ออุทธรณ์ที่ศาลปกครองสูงสุดก็พลิกไปแล้ว เพียงแต่ยังไม่มีคำพิพากษาออกมาเท่านั้นเอง ยิ่งไม่เป็นคุณต่อคุณยิ่งลักษณ์ ที่ต้องมาชดใช้ความเสียหายต่อโครงการรับจำนำข้าวอีก 3 หมื่นกว่าล้านด้วย เรื่องนี้มีคนเล่าให้ฟังเยอะเลยครับว่าคดีพลิกไปแล้ว
ดังนั้นในภาพรวมมันจึงไม่ง่าย เมื่อก่อนคุณทักษิณอาจจะคิดว่าจะทำอะไรก็ได้ ประชาชนไม่ว่า แต่วันนี้ไม่ใช่ การที่ทำแบบนี้จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้คุณยิ่งลักษณ์กลับบ้าน ภายใต้การกลับบ้านแบบเท่ห์ๆ นะ แต่ถ้ากลับบ้านแบบประชาชนทั่วไปภายใต้กฎหมายก็กลับมาได้เลย เมื่อไหร่ก็ได้
The Publisher : ถ้าดูสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณทักษิณก็มีคำพูดเผ็ดร้อนอีกครั้ง ทั้งประกาศคนเก่าขาประจำ จะไม่เก็บไว้ทำพ่อหรอก ไม่คุยกับบางคนที่เหมือนไม่เป็นมนุษย์บางล่ะ หรือถ้าจะคุยกับเทวดาต้องจุดธูปบางล่ะ มองคำพูดของคุณทักษิณล่าสุดอย่างไร
นพ.วรงค์ : ผมคิดว่าเขาคงอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นมุมอับ ด้วยตัวตนเขาก็พูดไปเรื่อย ตามใจชอบคิดว่าประชาชนโง่ๆ ไม่รู้เรื่องตามไม่ทัน ดังนั้นสิ่งที่พูดกึ่งเป็นการรำพึงรำพัน กึ่งประชดประชัน แสดงว่าวิเคราะห์แล้วว่าตัวเองอยู่ในมุมที่อับขึ้น ในเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ที่กำลังถูกรุกโดยพี่น้องประชาชน ฉะนั้นคำพูดที่พรั่งพรูแบบนี้แสดงว่าเขาเครียด
The Publisher : การพูดแบบนี้เป็นผลดีหรือผลลบกันแน่
นพ.วรงค์ : ยิ่งลบนะสิ คือปากคนเรามีไว้พูด แต่ไม่ใช่พูดอะไรก็ได้ ธรรมชาติจึงสร้างสมองไว้ด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ความเลวร้ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เกิดจากปากตัวเองทั้งสิ้น ถ้าตัวเองรู้จักพอดิบพอดี คนไทยให้อภัยอยู่แล้ว แต่ถ้าเหิมเกริมมากไปก็จะเป็นแบบนี้
The Publisher : ตอนนี้เรื่องชั้น 14 น่าจะเอาไปถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เจ้าตัวยังบอกจะไปชี้แจงหลังสภาฯเลย
นพ.วรงค์ : ไม่เป็นไร ถ้าแน่จริงเปิดเวทีสาธารณะชี้แจงเลย เปิดให้คนมาซักไซ้นะ ถ้าตัวเองป่วยจริง มีหลักฐานจริง ป่วยวิกฤตจริง มีเหตุผลเพียงพอชี้แจง คุณเปิดเวทีสาธารณะเลย ครั้งเดียวจบเลย ถ้าชี้แจงได้ มีหลักฐานแจงได้เคลียร์หมดเลยนะ
แต่วันนี้ถึงขนาดนำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถึงจะไปขออนุญาตเป็นผู้ช่วยให้ข้อมูล นั่งอยู่หลังบัลลังก์ประธานสภาฯ ผมไม่เชื่อว่าจะได้ประโยชน์อะไร เพราะถ้าได้ประโยชน์ผมเชื่อว่าเขาชี้แจงไปนานแล้ว
The Publisher : คือเปิดเวทีสาธารณะ ดีกว่าไปตอบหลังสภาฯ
นพ.วรงค์ : ดีกว่าเยอะจริงๆ เอาสื่อมวลชน เอาประชาชน หรือใครที่ร้องเรียนมาซักถามเลย เคลียร์ให้ฟัง มันจะจบเลยนะ วันนั้นมันจะจบทันที ถ้าคุณแจงได้หมด มีหลักฐานน่าเชื่อถือที่ชี้แจงได้ คนก็จะเคลียร์ มันก็จะยุติ ถ้าเคลียร์ไม่ได้คุณก็จะจบ
เรียกร้องผ่านรายการคุณสมจิตต์เลยว่า ไม่ต้องไปให้ข้อมูลที่สภาฯ ตั้งเวทีสาธารณะ สื่อไปเป็นร้อย ประชาชนจะไปกันเยอะไปฟังคุณชี้แจงเคลียร์กว่าเยอะ
The Publisher : ในมุมของคุณหมอวรงค์เชื่อว่ากรณีนี้จะเป็นไหมเด็ดของฝ่ายค้าน ที่จะดึงเอารัฐบาลมีปัญหาในศึกซักฟอกได้หรือเปล่า
นพ.วรงค์ : ผมต้องวัดใจฝ่ายค้าน ถ้าฝ่ายค้านสู้เต็มที่เหมือนพวกเราสู้ แต่ที่ผ่านมาฝ่ายค้านชักเข้าชักออก เดี๋ยวกระแสแรงก็ชักเข้ามานิดหนึ่งแล้วก็เงียบไป ชักเข้ามานิดหนึ่งแล้วเงียบไป ถ้าฝ่ายค้านทำเต็มที่ตามหลักนิติธรรมของประเทศ มันจะทรงอิทธิพลมากกว่า และจะโยงไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่น่าเกรงขามมาก และเรื่องอาจไปถึงตัวนายกฯ ด้วย เพราะเรื่องมันใกล้ตัวนายกฯ ที่ตัดสินใจ เพราะขณะนี้ รมว.ยุติธรรมโดนแน่ๆ แล้ว แต่พฤติกรรมของฝ่ายค้านทำให้ไม่มั่นใจว่าอภิปรายจริงหรือต่อรองอะไรหรือเปล่า
The Publisher : เพราะสัมพันธ์ระหว่างเขาทำให้คนไม่ค่อยมั่นใจในพฤติกรรมของฝ่ายค้านที่ผ่านมาด้วย จริงไหม
นพ.วรงค์ : ไม่เฉพาะความสัมพันธ์ของเจ้าของพรรคทั้งสองพรรคเท่านั้น แต่พฤติกรรมในสภาฯ ของพวกคุณเอง เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องใหญ่ ถึงขั้นต้องทำเต็มที่ ต้องโหมเต็มที่ แต่กลับชักเข้าชักออกจนคนงงๆ กลายเป็นคนที่เคลื่อนไหวหลักอยู่นอกสภาฯ
The Publisher : ตอนนี้ยังพอมีความหวังไหมกับการทำหน้าที่ฝ่ายค้านที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจในเดือนมีนาคมนี้
นพ.วรงค์: ต้องรอดูหน้างานว่าทำได้ขนาดไหน แต่ละเรื่องยังไม่รู้แน่ว่าจุดยืนคืออะไร อย่าว่าเรื่องชั้น 14 เลย มีกระแสเรื่องไม่เอากาสิโน ไม่เอาพนันออนไลน์ ก็ยังไม่รู้ว่าฝ่ายค้านจุดยืนคืออะไรกันแน่ เห็นที่ตั้งใจทำอย่างจริงๆ จังๆ คือการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียว ดังนั้นเรื่องชั้น 14 ก็ต้องดูที่หน้างาน ที่อภิปรายไม่ไว้วางใจ ถึงการแสดงออก บทบาท หลักฐานต่างๆ ที่คุณจะมาโชว์
The Publisher :มีข่าววงในอะไรออกมาบ้างไหม เกี่ยวกับเรื่อง แพทยสภา และการตรวจสอบของ ป.ป.ช. ในปัจจุบัน
นพ.วรงค์ : คือผมลองถามเพื่อนแพทย์ หมอๆ ด้วยกันบอกต่อๆ กันไปเขาบอกเรื่องนี้สำคัญ มีประเด็นน่าสนใจ คือหลักฐานทางการแพทย์ มันเป็นหลักฐานมันไม่แตกต่างจากหลักฐานทางคดีเลยนะ คุณไข้วิกฤตต้องเจาะเลือด ต้องถูกฟ้องทุกอย่าง กระบวนการทางการแพทย์ต้องมีขั้นตอนทั้งหมด ถ้าเข้ามาต้องผ่านห้องฉุกเฉิน ทำไมไม่ผ่านห้องฉุกเฉิน ไม่อยู่ไอซียูก่อน ทำไมไปห้องชั้น 14 และชั้น 14 มีอุปกรณ์อะไรบ้าง ทุกอย่างจึงตบตากรรมการแพทยสภาไม่ได้ และเชื่อว่าเดือนมีนาคมน่าจะได้เห็นผลสอบของแพทยสภาแล้ว