• Urban Culture
  • Original
  • Writer
  • About us
  • คุยกับสส
  • The Persona
  • Brief
  • Thai Treasure
  • Urban life
  • On this day
  • News
  • Good
  • Editir pick
  • Home
  • Persona
  • Persona
  • Urban
  • Business
  • Politics
  • Playlist
  • People Voice
  • Home
  • Culture
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
  • Urban Wealth
  • Law
  • Update
  • I’m Youth Ranger
  • Urban History
  • Issues
  • Check

Subscribe to Updates

Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

What's Hot

ทบ. ยันเข้าปรับปรุงเส้นทาง “ช่องบก” ทำความเข้าใจกับกัมพูชาเรียบร้อย

15/06/2025

จบแล้วประชุม JBC ไทย-กัมพูชา ก.ต่างประเทศเผยผลหารือชื่นมื่น ขณะกัมพูชาเดินหน้าฟ้องศาลโลก

15/06/2025

เปิดเล่ห์เขมรกลาง JBC บีบไทยรับคดีศาลโลก วาสนาเตือน “ไทยอย่ายอม”

15/06/2025
Facebook Twitter Instagram
Facebook Twitter Instagram
The PublisherThe Publisher
  • P
    • Persona
    • Politics
    • People Voice
    • Playlist
  • U
    • Update
    • Urban
    • Urban Culture
    • Urban History
    • Urban life
    • Urban Wealth
  • B
    • Business
    • Brief
  • L
    • Law
    • I’m Youth Ranger
  • I
    • Issues
  • C
    • Check
  • About us
The PublisherThe Publisher
You are at:Home»News»“ลมเบรกกับรถสองชั้น” โศกนาฏกรรมซ้ำซาก ถอดบทเรียนจนเปลือย…ได้แค่ “ฝันร้าย” ที่ไม่มีวันจบ?
News

“ลมเบรกกับรถสองชั้น” โศกนาฏกรรมซ้ำซาก ถอดบทเรียนจนเปลือย…ได้แค่ “ฝันร้าย” ที่ไม่มีวันจบ?

27/02/20251 Min Read
Facebook Twitter

“รถเบรกแตก รถพลิกคว่ำ รถไฟไหม้” คำเหล่านี้แทบจะกลายเป็นประโยคที่เราคุ้นชิน เมื่อพูดถึงข่าวอุบัติเหตุหมู่บนถนนเมืองไทย เราเห็นโศกนาฏกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า เสียงร่ำไห้ของครอบครัวผู้สูญเสียยังดังสะท้อนอยู่ในสังคม แต่ผ่านไปไม่นาน เสียงร่ำไห้ก็กลับมาดังระงมอีกครั้ง

แล้วสังคมไทย “ถอดบทเรียน” มานานแค่ไหนกันแล้ว? หรือแท้จริงแล้ว เรากำลัง “ถอดแต่ไม่เคยใส่กลับ” ?

18 ศพที่เขาศาลปู่โทน : ลมหายใจสุดท้ายบนทางลาดชัน

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 รถบัสนำคณะดูงานจากบึงกาฬ มุ่งหน้าสู่ระยอง แต่ปลายทางของพวกเขากลับจบลงที่เชิงเขาศาลปู่โทน จ.ปราจีนบุรี รถบัสพลิกคว่ำลงข้างทาง มี 18 ชีวิตต้องจบลงตรงนั้น และบาดเจ็บอีก 31 ราย

สาเหตุเบื้องต้น? “เบรกขัดข้อง” …คำตอบที่เหมือนจะเป็นคำแก้ตัวแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย ถนนลาดชัน ระบบเบรกไม่ได้มาตรฐาน รถรับน้ำหนักเกิน คนขับไม่มีประสบการณ์ ไม่ชินทาง เราได้ยินมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว แต่ทำไม…มันยังคงเกิดขึ้น?

ย้อนรอยโศกนาฏกรรม “รถไฟไหม้” เด็กนักเรียนดับ 23 ศพ

หากใครยังจำได้ 1 ตุลาคม 2567 รถบัสทัศนศึกษาของเด็กนักเรียนจากอุทัยธานีไฟไหม้ เด็ก 23 คน ถูกเผาทั้งเป็น ไม่มีโอกาสแม้แต่จะดิ้นรนหนี สาเหตุ? เพลาหลังหัก ประกายไฟลามไปติดถังแก๊ส NGV ที่ติดตั้งเกินมาตรฐาน

“รถบัสเก่าที่ดัดแปลง โครงสร้างไม่ปลอดภัย คนขับไม่มีการอบรมเพียงพอ” เป็นข้อสรุปที่เราได้ยินหลังจากเหตุการณ์นั้น แต่วันนี้…ก็ยังมีรถบัสเก่าๆ วิ่งอยู่บนถนนไทยอยู่ดี!

เมื่อทางลงเขากลายเป็น “ทางลงนรก”

เขาศาลปู่โทน หรือที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้เส้นทางสาย 304 เป็น “จุดตาย” มาหลายครั้งหลายครา เพราะทางลาดชัน คดเคี้ยว อันตรายสูง รถบรรทุกและรถโดยสารหนักต้องใช้เบรกตลอดเวลา ทำให้เกิดความร้อนสูงจนเบรกแตกง่าย

หลายปีที่ผ่านมา อุบัติเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกิดขึ้นที่จุดนี้ ทั้งรถทัวร์ รถบรรทุก รถกระบะที่เสียหลักพุ่งลงเหว คำถามคือ ทำไมยังไม่มีมาตรการป้องกันที่ชัดเจน?

“ถอดบทเรียน” จนเปลือยล่อนจ้อน แต่…ได้อะไร?

หลังจากทุกอุบัติเหตุครั้งใหญ่ รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และสังคม ลุกขึ้นมาวิเคราะห์ พร้อมคาถาเดิม ๆ ต้องเพิ่มมาตรฐานรถโดยสาร!ต้องอบรมคนขับให้เข้มงวด! ต้องตรวจสอบความพร้อมของถนน! ต้องมีมาตรการป้องกันเฉพาะจุด!

แต่สุดท้าย ทุกอย่างก็เงียบหายไปในความทรงจำ จนกว่าครั้งต่อไป…เมื่อเสียงร่ำไห้ดังระงมขึ้นอีกครั้ง…การถอดบทเรียนค่อยกลับมาอีกที จะวนเวียนแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน?

“รสสองชั้น” ที่ยังเป็นฝันร้ายบนถนนไทย

“รถสองชั้น” ที่มีศูนย์ถ่วงสูงกว่าปกติ ถูกวิจารณ์มานานว่า เป็น “โลงศพเคลื่อนที่” โดยเฉพาะเมื่อวิ่งบนเส้นทางภูเขา เช่น เขาศาลปู่โทน, ดอยอินทนนท์, เขาค้อ หรือถนนเส้นเลี่ยงเมืองบางเส้นที่มีโค้งหักศอก

ในหลายประเทศ รถสองชั้นถูกแบนจากการใช้งานบนเส้นทางภูเขา เพราะอันตรายสูง เช่น ในสหราชอาณาจักรและฮ่องกง รถเหล่านี้มักใช้งานในเมืองที่มีถนนเรียบและเส้นทางตรง เนื่องจากโครงสร้างที่สูงทำให้มีจุดศูนย์ถ่วงสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการพลิกคว่ำ เมื่อขับขี่บนเส้นทางที่มีความลาดชันหรือคดเคี้ยว

แต่ในไทย… มันยังวิ่งได้ปกติ จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุใหญ่ขึ้น แล้วเราก็จะกลับมาถกเถียงกันใหม่ เบื่อไหม?

แล้วเราต้องรอให้ใครตายอีก?

ไม่ใช่ครั้งแรก และอาจจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย คำถามคือ เราต้องรอให้มีอีกกี่ชีวิตต้องสังเวยไปบนถนนเหล่านี้? จะต้องมีเด็กกี่คนที่ต้องตาย เพราะรถบัสเก่าที่ไฟไหม้? จะต้องมีอีกกี่ครอบครัวที่สูญเสีย เพราะรถเบรกแตกบนทางลงเขา? จะต้องมีอีกกี่โศกนาฏกรรมที่เราต้องกลับมาถอดบทเรียน แล้วสุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไร?

“รถสองชั้น” ที่เอียงจนควบคุมไม่ได้ สองสิ่งนี้ไม่ควรมีที่ยืนอยู่บนถนนไทยอีกต่อไป!

ทางออกที่ไม่ใช่แค่ “ถอดบทเรียน”

ถ้าไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก ต้องมีมาตรการที่ “จริงจังและเข้มงวด” กว่านี้! ยกเลิกการใช้รถโดยสารสองชั้นบนเส้นทางภูเขา ติดตั้งระบบเบรกเสริมและควบคุมการตรวจสอบสภาพรถอย่างเข้มงวด เพิ่มบทลงโทษต่อบริษัทเดินรถที่ละเลยมาตรฐานความปลอดภัย ปรับโครงสร้างถนนบนเส้นทางเสี่ยง ปรับปรุงทางหนีฉุกเฉินให้ใช้งานได้จริง ใช้เทคโนโลยี เช่น ระบบตรวจจับรถที่เบรกทำงานผิดปกติในพื้นที่ลาดชัน

หากเราไม่เริ่ม “ลงมือทำ” อย่างจริงจัง อีกไม่นาน เราก็จะกลับมาเขียนบทความนี้กันอีกครั้ง …แล้วจะยังมีใครเหลืออ่านมันอยู่หรือเปล่า?

#ThePublisher #ความปลอดภัย สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม
Writer Publisher

Related Posts

‘ชณทัตลุยครับ’: คนเล็กแต่ใจใหญ่ ภารกิจกู้วิกฤติคอนโดจตุจักรหลังแผ่นดินไหว แก้ปัญหาไม่มีลิฟต์ เดินขึ้นลง 21 ชั้น ช่วยลูกบ้าน 2,000 ชีวิตให้นอนหลับ

By Writer Publisher09/06/2025

พูดแล้วเงียบ สองปีผ่านไป โซลาร์ฟรียังไม่มี…มอไซค์ฯ ถูกยังไม่เห็น เห็นแต่โปสเตอร์พรรคภูมิใจไทย…ที่ยังไม่ทำ

By Writer Publisher08/06/2025

ทนายเชาว์ กระทุ้ง ผู้ว่าฯ เมืองคอน ทำหน้าที่ หลังเงียบกริบ ปม สส.กร่างทำกระทืบผู้รับเหมกลางงาานบวช อย่าปล่อยอำนาจ-อิทธิพล บดขยี้ประชาชน

By Writer Publisher03/06/2025

ใต้สะพานมีเด็ก… ใต้ระบบต้องไม่มีรูรั่ว การดูแลเด็กไม่ควรเกิดแค่ตอนมีคนแชร์คลิป

By Writer Publisher28/05/2025

Leave A Reply Cancel Reply

Demo
Editor Choices
Trendy

ทบ. ยันเข้าปรับปรุงเส้นทาง “ช่องบก” ทำความเข้าใจกับกัมพูชาเรียบร้อย

15/06/2025
Facebook Twitter Instagram TikTok

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

The publisher ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ทําความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว อ่านเพิ่มเติม
ปฎิเสธ ตั้งค่าคุกกี้ ยอมรับ
Manage consent

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ที่จําเป็น
Always Enabled
คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
CookieDescription
cookielawinfo-checkbox-analyticsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functionalThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessaryThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-othersThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performanceThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policyThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo