เมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 -18.00 น. ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานีศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน จัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 โดยมีกิจกรรมมากมายภายในงานแบ่งออกเป็น 2 วัน ได้แก่ 20 และ 21 พฤศจิกายน โดยมีกำหนดการดังนี้ในในห้องย่อยที่ 1 ห้องระบบนิเวศความปลอดภัยทางถนนสำหรับเด็กและเยาวชน ภายใต้แนวความคิด (Road Safety Ecosystem for Youth)
วันที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 13.00 -17.00 น.ห้อง Sapphire 204
– รับชมคลิป A new decade, new generation, stronger together.
– กล่าวนโยบายและบทบาทในการสร้างเสริมระบบนิเวศที่ปลอดภัยในสถานศึกษา โดย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ มอบเกียรติบัตรให้สถานศึกษาต้นแบบและเยาวชนที่ชนะการประกวดคลิปและอินโฟกราฟฟิก
– เสวนาบทเรียนการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในกลุ่มเด็ก และเยาวชนระดับจังหวัด
โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้
1.นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.นายธนันท์ชัย เมฆประเสริฐวนิช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักการ จราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
3.ดร.ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ รองผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุบคุมโรค
4.นายฐิติพัฒน์ ไทยจงรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางงบก กรมการขนส่งทางบก
5.นายสุวัฒน์ พลับเพลิง หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และการจัดการ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม
6.นายรวิศุทธ์ คณิตกุลเศรษฐ์ รองเลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย
ดำเนินรายการโดย นางสาวชนิสา ชมศิลป์
ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.)
ภายในงานเสวนานายธนันท์ เมฆประเสริฐวนิช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครได้เริ่มโครงการ “เด็กเริ่ม ผู้ใหญ่ร่วม” เป็นภารกิจ ศปถ.กทม. ที่ สจส. ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 2563 โดยมีเป้าหมายและจุดเน้นคือการสร้าง “เยาวชนต้นแบบ” และผู้ริเริ่ม “รักษ์วินัยจราจร” ที่จะเป็นกำลังสำคัญของกรุงเทพมหานครโดยเป็นผู้นำริเริ่มพฤติกรรมรักษ์วินัยจราจรจากตนเองส่งต่อไปยังกลุ่มเพื่อน และผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง สมาชิกอื่น ๆ บนท้องถนนรวมถึง 437 โรงเรียนในสังกัด กทม.
ในส่วนของ ดร.ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ รองผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ถ้าเราไม่ทำอะไรกับเรื่องนี้คาดการณ์แนวโน้มปี 2564 – 2573 (10 ปีข้างหน้า) จะมีเด็กเสียชีวิตเพิ่มอีก 30,204 คน แต่ถ้าเราลงมือเริ่มแก้ไขปัญหานี้ เริ่มจากเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้ามีการลดการตายได้ปีละ 5% ใน 10 ปีจะช่วยชีวิตเด็กและเยาวชนได้ 9,675 คน
นายฐิติพัฒน์ ไทยจงรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางงบก กรมการขนส่งทางบก กล่าวว่า การเรียนรู้การขับขี่รถจักรยานยนต์ของเยาวชนอาจจะกำลังมีปัญหา โดยมีข้อมูลที่สำรวจมาพบว่า เด็กไทยเริ่มขับขี่รถจักรยานยนต์ตั้งแต่อายุ 12 ปี แต่ตามกฎหมายผู้ที่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยในสังคมชนบทจะมองว่าการขับขี่รถจักรยานยนต์ของเด็กและเยาวชนเป็นเรื่องปกติและส่วนใหญ่เรียนรู้การฝึกหัดขับขี่จากผู้ไม่มีความรู้การขับขี่ที่ได้คุณภาพ โดย 72% เรียนรู้จาก พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน และ อีก 28% เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นกรมการขนส่งทางบกจึงริเริ่มการเข้าถึงเยาวชนและสร้างพื้นที่คลังความรู้ให้เยาวชนเข้าถึงได้ง่ายตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาต่อไป
สำหรับกิจกรรมสุดท้ายของวันได้แก่กิจกรรมเรียบรู้ผ่าน 6 บูธกิจกรรม และ เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายผ่านต้นไม้คำอธิษฐานหรือระบบออนไลน์โดยมีประชาชนร่วมส่งความเห็นต่าง ๆ เข้ามามากมาย
สำหรับปี 2567 นี้ ทางคณะกรรมการจัดงานฯ มีมติร่วมกันในการจัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนในครั้งนี้ ครั้งที่ 16 ภายได้ชื่อ “สานพลังเข้มข้น สร้างกลไกเข้มแข็ง เพื่อถนนปลอดภัย”(16” Thailand Road Safety Seminar : Road Safety Stronger Together) ในระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์การประชุม อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เพื่อสะท้อนการสร้างความปลอดภัยททางถนนช่วงครึ่งแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2565-2570 และเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนก่อนสิ้นสด แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2565-2570 ให้บรรลุเป้าหมายในการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 12 คนต่อแสนประชากรแสนคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ยังคงเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดบนท้องถนนในประเทศไทย ที่ควรจะได้รับการดูแลและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตในกลุ่มนี้ลงให้ได้โดยเร็ว