.
คดีนี้ครอบครัวผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ยื่นฟ้องต่อศาลฯ กล่าวหาจำเลยทั้งหมด 9 คน แต่ศาลยกฟ้องผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และ 7 ทำให้เหลือเจ้าหน้าที่รัฐ 7 คนตกเป็นจำเลยทันที
ประกอบด้วย
พล.ท.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ปัจจุบันเป็น สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย
พพล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร (ยศในขณะนั้น) อดีตผู้บัญชาการพล. ร.5
พล.ต.ท. วงกต มณีรินทร์ อดีตผอ. ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า
พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9
พ.ต.อ. ศักดิ์สมหมาย พุทธกุล อดีตผกก. สภอ.ตากใบ
นายศิวะ แสงมณี รองผอ.สสส.จชต. หรือ กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้และเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
และ นายวิชม ทองสงค์ ผวจ. นราธิวาส ในขณะเกิดเหตุ
.
ทั้งหมดมีมูลความผิดในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น และร่วมกันหน่วงเหนี่ยว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 83,288 ประหกอบมาตรา 80,83 และมาตรา 310 วรรคสอง ประกอบมาตรา 290,83 ให้ประทับรับฟ้องไว้ หลังเหตุการณ์ผ่านมานานเกือบ 20 ปี
.
ก่อนหน้านี้ในช่วงที่ครบรอบเหตุการณ์สลายชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ 18 ปี นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะเกิดเหตุ ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และระบุว่า ขณะเกิดเหตุเขาตีกอล์ฟอยู่ ได้รับรายงานว่ามีการล้อโรงพักเพื่อให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาว่า เอาอาวุธไปให้ผู้ก่อความไม่สงบ ตำรวจไปถามว่าจะเอาอย่างไร ก็ตอบว่า “ไม่ยอม” ตำรวจต้องดำเนินคดีตามกฎหมายปล่อยไม่ได้
.
จากนั้นมีการสลายการชุมนุม มีผู้เสียชีวิต และจับกุมผู้ชุมนุม ซึ่งก็ไม่ทราบว่าจับอย่างไร เอาไปไว้ที่ไหน กระทั่งรู้ว่าผู้เสียชีวิตก็โกรธที่เอาคนซ้อนกันจนเกิดการเสียชีวิต ยืนยันว่าไม่รู้เรื่อง แต่ถูกเกลียดชังไปแล้ว พร้อมกับอ้างว่าได้รับข้อมูลจากตำรวจมาเลเซียว่า “เป็นการกระทำของทหาร”
.
สำหรับเหตุการณ์ในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตมากถึง 85 คน
.