หลังสถานการณ์แพร่ระบาดรุนแรงของปลาหมอคางดำช่วงกลางปีที่ผ่านมาทำให้เกิดการตื่นตัวจากทุกฝ่าย จนถึงขั้นรัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติแต่มาตรการต่าง ๆ ก็เงียบหายไป จนเกิดคำถาม “วาระแห่งชาติ ชาติไหน”
ล่าสุดเกิดสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดสงขลาและนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลจาก วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย บอกกับ The Publisher ว่า มีความน่ากังวลว่าจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสงขลาและภาคใต้หลายจังหวัดรวมทั้งนครศรีธรรมราชด้วย จะทำให้ปลาหมอคางดำซึ่งมันอยู่ในคลองอยู่ในตอนนี้กับพวก บ่อกุ้งก็จะไหลไปรวมน้ำในทะเลสาบเลยไปสู่ต้นน้ำด้วย คาดการณ์กันว่า การระบาดจะเพิ่มขึ้นหลังน้ำท่วม
“การระบาดของปลาหมอคางดำไม่เคยหมดหรือลดน้อยลง เช่นที่จันทบุรีก็ไม่ลดลงนะครับ อย่างที่อ่าวกุ้งกระเบน ตอนนี้ก็ยังเจอปลาหมอคางดำ เต็มไปหมดเลยครับ หลังสถานการณ์ไม่ดีขึ้นเลยครับ แล้วก็เราดูที่บางขุนเทียน นะครับ แถวราชดำเนินก็มีนะครับ ยังพกปลาหมอคางดำหนาแน่นเหมือนเดิมครับ ไม่ลดลงเลยครับ มาตรการของรัฐทำแบบอีเวนต์แล้วหายไป
แล้วไอ้ตัวปลาที่มันเหลืออยู่จำนวนมากเนี่ยมันก็จะระบาด ภายในเดือนเดียวครับมันก็จะระบาดเท่าเดิมนะครับ จะทำจริงต้องทำต่อเนื่องเลยปูพรมทำยาวนานมากกว่านี้ โดยต้องตั้งงบฯ สูงกว่านี้อาจต้องใช้ถึง 500 ล้านบาทต่อปี เพื่อจัดการปัญหาอย่างจริงจังต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี”
คุณวิฑูรย์ บอกด้วยว่า การปล่อยปลากระพงไปกินปลาหมอคางดำไม่ได้ผลเนื่องจากตัวเล็กเกินไปน ลงน้ำก็ถูกปลาหมอคางดำตัวใหญ่กินหมด อีกทั้งยังขาดการระดมความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้องค์กรชาวบ้านในพื้นที่เป็นแกนหลักในการจัดการ โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณและช่วยประเมินผล ซึ่งรัฐบาลต้องเพิ่มงบประมาณดดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง
“นายกรัฐมนตรีควรเข้ามาดูแลปัญหา และสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันด้วยตัวเอง เพราะหากปล่อยไปเช่นนี้สุดท้ายความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลสาบสงขลาถูกทำลาย อีกทั้งมีโอกาสที่ปลาหมอคางดำแพร่ระบาดไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา จนเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้”
คุณวิฑูรย์ คาดการณ์ว่าจำนวนปลาหมอคางดำที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติขณะนี้ มีไม่ต่ำกว่า 200-300 ล้าน ตัว ที่อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมากกว่า ที่เราพบเมื่อตอนปี 60 ขณะนั้นมีประเมินสำหรับมีสัก 20 ล้าน แต่ตอนนี้มันเพิ่มกลืนเป็น 10 เท่าแล้ว เพราะฉะนั้นการจัดการ ต้องทำจริงจังกว่าที่เคยจัดการจึงจะแก้ปัญหาได้
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
https://thepublisherth.com/