สภาพัฒน์ เปิดเผยผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ปี 2566 พบว่า ครัวเรือนไทยก่อหนี้นอกระบบสูงถึง 6.7 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่ (47.5%) ก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สะท้อนให้เห็นปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนอย่างชัดเจน แม้จะรู้ว่าดอกเบี้ยสูงลิ่วถึง 20% ต่อเดือน หรือ 240% ต่อปี ก็ตาม ผลกระทบ ที่ตามมาคือ ลูกหนี้จำนวนมากต้อง ผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านวงเงินต่ำกว่า 3 ล้านบาท เพื่อรักษาวงเงินบัตรเครดิตไว้ใช้จ่าย ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าครัวเรือนเหล่านี้ยังไม่ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และกำลังจะกลายเป็น “หนี้เสีย” ในอนาคต รัฐบาล ได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เช่น การเปิดให้ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และการไกล่เกลี่ยหนี้ แต่ มาตรการเหล่านี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
สิ่งที่จำเป็น คือ มาตรการระยะยาว ที่มุ่งเน้นการ “เสริมสร้างศักยภาพ” ให้กับลูกหนี้นอกระบบ เช่น
◾ พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้
◾ ส่งเสริมการออม เพื่อลดรายจ่าย
◾ ขยายโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อประกอบอาชีพ
◾ ควบคุมการปล่อยกู้นอกระบบ อย่างเข้มงวด
◾ ให้ความรู้ทางการเงินเพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงของหนี้นอกระบบ
เป้าหมายสำคัญ คือ การเปลี่ยนสถานะจาก “การเป็นหนี้” ไปสู่ “การมีศักยภาพชำระหนี้” และ “หมดหนี้” ในที่สุด เพื่อให้คนตัวเล็กสามารถหลุดพ้นจาก “วังวนหนี้นอกระบบ” และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่อยู่ในภาวะ “รอล้มละลาย” เหมือนที่เป็นอยู่ขณะนี้ และแน่นอนว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่การแจกแหลกเช่นเดียวกัน
- Original
- Urban Culture
- Writer
- About us
- คุยกับสส
- The Persona
- Brief
- Thai Treasure
- Urban life
- On this day
- News
- Home
- Editir pick
- Good
- Persona
- Persona
- Urban
- Business
- Politics
- Playlist
- Home
- People Voice
- Culture
- นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
- Urban Wealth
- Law
- Update
- I’m Youth Ranger
- Urban History
- Issues
- Check
Subscribe to Updates
Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.