• Hero
  • Original
  • Writer
  • About us
  • คุยกับสส
  • The Persona
  • Interview
  • Thai Treasure
  • Homeland
  • On this day
  • News
  • Home
  • Editor Picks
  • Goods
  • Good Business
  • Good Product
  • Good Society
  • Business
  • Politics
  • Lifestyle
  • Home
  • Technology
  • Culture
  • Social
  • Enviroment
  • Sport

Subscribe to Updates

Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

What's Hot

การแพทย์สุดก้าวหน้า มนุษย์ไร้หัวใจคนแรกของโลก ดำรงชีพได้แม้ปราศจากชีพจร

13/01/2022

เซฟอย่างสวย ! หนุ่มสวมวิญญาณ ผู้รักษาประตู พุ่งปัดบอล ไม่ให้โดนผู้หญิง

13/01/2022

รวมพลคนรัก “ในหลวง ร.9” ในงาน “หัวหินบ้านของพ่อ” ที่อุทยานราชภักดิ์ 5 ธ.ค.นี้

30/11/2021
Facebook Twitter Instagram
Facebook Twitter Instagram
The PublisherThe Publisher
  • News
    • Politics
    • Business
    • Lifestyle
    • Technology
    • Culture
    • Social
    • Enviroment
    • Sport
  • Good
    • Good Business
    • Good Product
    • Good Society
  • Hero
  • Interview
  • Original
    • The Persona
    • Thai Treasure
  • Writer
    • Homeland
    • On this day
  • About us
The PublisherThe Publisher
You are at:Home » Blog » หัวลำโพงศตวรรษใหม่ พลิกโฉมสู่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชื่อมโยงวัฒนธรรมเมืองเก่า กับย่านการค้าใหม่ ของกรุงเทพฯ
Business

หัวลำโพงศตวรรษใหม่ พลิกโฉมสู่ แหล่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชื่อมโยงวัฒนธรรมเมืองเก่า กับย่านการค้าใหม่ ของกรุงเทพฯ

08/10/20211 Min Read
Facebook Twitter

 

“หัวลำโพง” หรือสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานคร มาอย่างยาวนานกว่า 105 ปี ตั้งแต่เริ่มมีการวางรากฐานการคมนาคมในสยามประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 แต่นับจากนี้ หัวลำโพงต้องเปลี่ยนรางสู่บทบาทใหม่ เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) วางแผนย้ายการให้บริการเส้นทางรถไฟเกือบทั้งหมดไปที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญกับโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก ประธานสาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการแผนงานการศึกษาเพื่อวางกรอบ “ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)” กล่าวว่าแผนการศึกษาโครงการนี้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ
.
เน้นวิจัยคุณค่าเชิงอนุรักษ์และนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์พื้นที่ ทั้งนี้กระบวนการวิจัยเปิดให้หลายภาคส่วนของสังคมมาร่วมกันกำหนดทิศทางอนาคตของหัวลำโพงด้วย
.
“การวิจัยครั้งนี้ประชาชนเป็นทั้ง “ผู้ร่วมคิด” คือมีส่วนร่วมในการออกแบบในฐานะ “ผู้ใช้ประโยชน์” เพราะทุกคนสามารถมาใช้ประโยชน์ได้ และเป็น ”ผู้รับผิดชอบ” คือเมื่อใช้ประโยชน์แล้วต้องช่วยกันรักษสมบัติของคนไทยทุกคน
.
จากการวิจัยครั้งนี้ ชัดเจนว่าประชาชนเห็น “สถานีรถไฟหัวลำโพง” เป็นของคนไทย ทุกคน” ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ กล่าว
.
ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ เผยผลการวิจัยในระยะที่ 1 ซึ่งเน้นศึกษามิติคุณค่าเชิงอัตลักษณ์และความต้องการทางสังคมเบื้องต้นว่า “แนวทางการพัฒนาต้องทำให้หัวลำโพงเป็นพื้นที่ที่พึ่งพาตนเองได้ทางเศรษฐกิจและเป็นจุดเชื่อมโยงกับย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ เช่น เยาวราช วงเวียน 22 กรกฎาคม ตลาดน้อย ฯลฯ และย่านการค้าใหม่บนถนนพระราม 4” มี ผศ.ธิป ศรีสกุลไชยรัก สถาบันอาศรมศิลป์ เป็นหัวหน้าโครงการ
.
ผลการวิจัยจากโครงการสอดคล้องกับแนวคิดของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ได้วางแผนลงทุนพัฒนาพื้นที่หัวลำโพงจำนวน 121 ไร่ ให้เป็น “บ้านรถไฟ” โดยจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์รถไฟและวางโครงการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ในเส้นทางเลียบทางรถไฟ
.
ในลักษณะการสร้างพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นและพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนบูรณาการร่วมกับพื้นที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในเขตเมืองเก่า
.
จากแนวทางพัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพงที่ได้จากการวิจัยระยะที่ 1 ต่อยอดสู่การค้นหาลักษณะการใช้ประโยชน์ของอาคารและพื้นที่ภายนอกหัวลำโพงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
.
รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และพื้นที่สาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งนี้ แผนการศึกษาในระยะที่ 2 ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย
.
1. การศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟ หัวลำโพง ได้ข้อเสนอลักษณะการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่และอาคารต่าง ๆ 3 รูปแบบคือ
.
แบบที่ 1 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด มีสัดส่วนเท่ากันคือร้อยละ 30
.
แบบที่ 2 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือ ลานกิจกรรม พื้นที่สร้างสรรค์ และพื้นที่อนุรักษ์ ในสัดส่วนเท่า ๆ กันคือร้อยละ 18
.
แบบที่ 3 สัดส่วนของพื้นที่ที่ใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาคือ ลานกิจกรรมและพื้นที่อนุรักษ์ในสัดส่วนเท่าๆ กันคือร้อยละ 18
.
2. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการลงทุนและความเป็นไปได้ทางการเงิน เพื่อรองรับการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพพื้นที่หัวลำโพง โดย ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ขยายความว่า “เมื่อพิจารณาลักษณะการใช้งานและประโยชน์ของพื้นที่และอาคารต่าง ๆ พบว่าทั้ง 3 แบบ (ตามผลการศึกษาวิจัยในส่วนที่ 1) เป็นทางเลือกที่คนในสังคมยอมรับได้ แต่อาจจะต้องมีการชดเชยในสิ่งที่คนในสังคมสูญเสียไป เช่น บางคนอาจไม่รู้สึกว่าได้รับประโยชน์จากการใช้พื้นที่เป็นศูนย์การค้า”
.
3. การศึกษาระบบโลจิสติกส์เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่หัวลำโพงแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ระบบเชื่อมโยงพื้นที่ภายในสถานีรถไฟหัวลำโพง และระบบโลจิสติกส์จากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังสถานที่ต่าง ๆ ด้วยรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย
.
อาทิ รถประจำทาง รถแท็กซี่ รถไฟฟ้า BTS และ MRT และเรือ โดยมีสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นจุดศูนย์กลางหรือจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ การศึกษายังได้นำเสนอตัวอย่าง 4 เส้นทางท่องเที่ยวหัวลำโพงและชุมชนใกล้เคียง
.
ทั้งนี้ การรถไฟสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเป็นกรอบในการประกวดแบบการพัฒนาหัวลำโพง และรับรู้ถึงคุณค่าของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
.
.
#GoodStory
#ThePublisher #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม

#Business #goods #GoodSociety culture News
admin
  • Website

Related Posts

การแพทย์สุดก้าวหน้า มนุษย์ไร้หัวใจคนแรกของโลก ดำรงชีพได้แม้ปราศจากชีพจร

By admin13/01/2022

เซฟอย่างสวย ! หนุ่มสวมวิญญาณ ผู้รักษาประตู พุ่งปัดบอล ไม่ให้โดนผู้หญิง

By admin13/01/2022

รวมพลคนรัก “ในหลวง ร.9” ในงาน “หัวหินบ้านของพ่อ” ที่อุทยานราชภักดิ์ 5 ธ.ค.นี้

By admin30/11/2021

UNESCO รับรอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ-พระยาศรีสุนทรโวหาร ขึ้นเป็นบุคคลสำคัญของโลก

By admin17/11/2021

Leave A Reply Cancel Reply

Demo
Editor Choices

คนไทยรู้หรือไม่ ?เทศกาล กินเจไม่มีในประเทศจีน!เปิดประวัติการถือศิลกินเจในประเทศไทย

Culture 08/10/2021

“ขอให้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรือง สถาพร สืบไป” นักเรียนไทยในจีน โพสต์คลิปอวยพร วันชาติจีน เนื่องในโอกาสครบรอบ 72 ปี ส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน

Culture 07/10/2021

ศาสตร์พระราชา ‘โคกหนองนา’ สุโขทัย รอดพ้นวิกฤติน้ำท่วม จากการจัดการพื้นทึ่ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่

News 06/10/2021

ในหลวง โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง “มูลนิธิภูบดินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์”เป้าหมายพัฒนาความเป็นอยู่ให้กับประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ดินของรัฐทุกประเภท

Good Society 06/10/2021
Trendy

การแพทย์สุดก้าวหน้า มนุษย์ไร้หัวใจคนแรกของโลก ดำรงชีพได้แม้ปราศจากชีพจร

Hero 13/01/2022
Facebook Twitter Instagram TikTok

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.