นั่งล้อมวงบนเถียงนา สงครามอยู่ตั้งยูเครน-รัสเซีย ชาวนาไทยมองไปเห็นคันนา เกี่ยวอะไรกับ “ข๋อย” ?
ก่อนจะเข้าเรื่องเราต้องนั่งเครื่องบินไปเมืองฝรั่งอย่างยุโรปที่เขาอาจไม่ได้โช้ยข้าวเหนียวแกล้มกับข้าวแบบบ้านเรา แต่เป็น ‘ขนมปัง’ ที่ทำมาจาก ‘แป้งสาลี’ จากต้นข้าวสาลีในท้องทุ่งต่างกันคงเป็นที่ทุ่งนาเขาไม่ร้อนแบบท้องทุ่งไทย
แน่นอนว่าเมื่อ ‘ขนมปัง’ ที่เสมือนข้าวสวยของคนยุโรป (หรือเกือบ ๆ ทั้งโลกยกเว้นเอเซีย) ต้องผลิตมาจากต้นข้าวสาลี ที่ปลูกได้ไม่กี่แห่ง ดินและน้ำ อากาศที่เหมาะสมจึงมีไม่กี่ที่ หนึ่งในนั้นคือ ‘รัสเซีย’ ที่ได้รับฉายาว่าเป็น ‘ซูเปอร์สโตร์สินค้าโภคภัณฑ์’ ที่หลายคนไม่คาดคิดว่านอกจากจะเป็น ‘จ้าวพลังงาน’ อย่างน้ำมัน ก๊าซแล้ว สินค้าการเกษตรอันเป็นโภคภัณฑ์จำเป็นที่มนุษย์ทั้งโลกต้องมีอย่าง ‘ของกิน’ รัสเซียก็ครองไป อาจด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ เพาะปลูกได้เยอะมาก ตามข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห้งสหประชาชาติ (FAO) รัสเซียมีการผลิตส่งออกธัญพืชกว่า 86 ล้านตัน รองพี่เบิ่มจากจีนและอินเดีย
.
ขณะที่คู่ขัดแย้งอย่างยูเครน ก็สวมบทบาทเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ ด้วยปริมาณ 18.1 ล้านตันต่อปี คิดเป็น 25.4% เมื่อทั้งสองรวมตัวกันส่งออกข้าวยามสงบ ครอง 1 ใน 4 ผลผลิตข้าวสาลีทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็น ‘อู๋ข้าวอู๋น้ำ’ ของยุโรป แต่เมื่อโกดังของยุโรปสองแห่งถูกปิดจากสงครามที่ยืดเยื้อ แม้ 23 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา จะมีการทำสัญญาข้อตกลงการส่งออกธัญพืช หวังจะช่วยคลี่คลายวิกฤตอาหาร ที่ถึงแม้ไร้สงครามโลกของเราก็พูดคุยกันถึงเรื่องปากท้องในอนาคตด้วยประชาชนที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับพื้นที่ทางการเกษตรที่นับวันกลายเป็นป่าปูน
.
การที่เส้นทางของทั้ง 2 ประเทศถูกปิดจากทั้งทางบกและทางทะเล รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรต่าง ๆ ด้านยูเครนเองที่กว่า 90% ขนส่งข้าวสาลีทางทะเล พอท่าเรือในทะเลดำถูกบุกและปิดลง การพยายามส่งข้าวสาลีทางบกอย่างบนรถไฟก็เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากขนาดรางของยูเครนดันกว้างกว่ารางที่จะเข้าไปยังใจกลางยุโรป
.
แนวโน้มดังกล่าวเองจึงการเลือกวัตถุดิบต้นทางที่สามารถผลิตเป็นแป้งได้ ผลพลอยได้จึงมาตกที่ข้าว และประเทศที่ผลิตข้าวอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างไทยที่ราคาข้าว น้ำตาล มันปรับตัวสูงขึ้นจากความขาดแคลนในตลาด ทำให้เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 600,000-650,000 ตัน
.
ข้อมูลของกรมศุลกากร การส่งออกข้าวในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-เมษายน 2565) มีปริมาณ 2,291,916 ตัน มูลค่า 39,445.8 ล้านบาท (1,203.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 52.7% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 36.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ส่งออกปริมาณ 1,500,593 ตัน มูลค่า 28,914.5 ล้านบาท (965.7 ล้านเหรียญสหรัฐ)
#ThePublisher#สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม
– – – – – – – – – – – – – – – – – –
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.thepublisherth.com