.
จากทุ่งดอกบัวหลวงอันแสนสวยงามกว่า 150 ไร่ที่เคยชูช่อออกดอกบานสะพรั่งทั่วบึง กลับต้องมาถูก “หนอนบุ้ง” ศัตรูพืชตัวร้ายกัดกินทั้งใบและดอก จนดอกบัวยืนต้นตายกลายเป็นสีน้ำตาล เหลือทิ้งเอาไว้เพียงแค่ซากแห่งความสวยงาม
.
โดยเหตุนี้เกิดขึ้นที่ทุ่งดอกบัวหลวงสวนสาธารณะบึงพระ ที่บ้านบึงพระ จ.นครราชสีมา และมักจะเป็นเช่นนี้แทบทุกปี ดอกบัวทั้งหมดในบึงจะถูกพวกหนอนกัดกินจนแห้งเหี่ยวกลายเป็นสีน้ำตาลทั้งบึง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็จะเกิดดอกบัวขึ้นมาทดแทนใหม่ และกลับไปเป็นบึงดอกบัวหลวงที่สวยงามเหมือนเดิม ราวกับเป็นวัฏจักรของธรรมชาติ ที่มีการปรับเปลี่ยนและหมุนเวียนอยู่เสมอ
.
ผศ.ดร.จริยา รอดดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเอาไว้ว่า “หนอนบุ้ง” หรือใบบางพื้นที่เรียก “หนอนใบบัว” เป็นหนอนศัตรูพืชชนิดหนึ่งของบัว เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน โดยผีเสื้อตัวเต็มวัยจะไปวางไข่ไว้ที่ใบบัว เมื่อไข่ฟักแล้ว หนอนก็จะกัดกินใบและดอกบัวทำให้ฉีกขาด เหลือเส้นกลางใบ จากนั้น ก็จะเย้าดักแด้เพื่อเข้าสู่การเป็นตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไปเป็นวัฏจักร
.
- Original
- Hero
- Writer
- About us
- คุยกับสส
- The Persona
- Interview
- Thai Treasure
- Homeland
- On this day
- News
- Goods
- Editor Picks
- Home
- Good Business
- Good Product
- Good Society
- Business
- Politics
- Lifestyle
- Home
- Technology
- Culture
- นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
- Social
- Enviroment
- Sport
Subscribe to Updates
Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.
เหลือแต่ซากแห่งความสวยงาม ! “หนอนบุ้ง” บุกทุ่งดอกบัวหลวง ดอกและใบบัวถูกกัดกินจนแห้งเหี่ยว ตายเรียบยกบึง
1 Min Read