.
วันนี้เมื่อ 60 ปีที่แล้ว หรือ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวายในวัย 67 ปี ขณะลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ประเทศญี่ปุ่น
.
จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่เดิมชื่อ แปลก ขีตตะสังคะ เป็นชาวนนทบุรี เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และได้เดินทางไปเรียนต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารยก ประเทศฝรั่งเศส ตั้งมั่นตั้งใจในการศึกษาด้านการทหารเป็นอย่างมาก จากนั้นก็กลับมารับราชการจนได้ยศพันตรี มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น “หลวงพิบูลสงคราม”
.
จอมพล ป. เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ที่ทำการอภิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อีกสองปีต่อมาได้เลื่อนยศเป็นพันเอกและดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก จากนั้นไม่นาน จอมพล ป. ก็เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของไทย จากการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร ก่อนจะมีอันจะต้องยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมดลง เนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป. ได้ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร เนื่องจากไปเข้าร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น จึงติดคุกในฐานะอาชญากรสงคราม
.
.
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็หวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง เนื่องจากทหารกลุ่มหนึ่งก่อรัฐประหารแล้วเชิญ จอมพล ป. กลับมานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ จอมพล ป. ครองตำแหน่งนานถึง 9 ปี พร้อมกับเดินหน้าพัฒนาสยามประเทศด้วยการใช้นโยบาย “ชาตินิยม” อาทิ ส่งเสริมความเป็นชาติไทย เน้นนโยบายทางด้านเศรษฐกิจแบบไทย ๆ “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” อีกทั้งยังมีการปฏิวัติวัฒนธรรมของสังคมไทยหลายอย่าง เช่น ภาษา ชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย คตินิยม รวมถึงเปลี่ยนจากชื่อ “ประเทศสยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” โดยมีคำขวัญว่า “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”
.
และแน่นอนว่าการกระทำของ จอมพล ป. นั้น มันก็ไม่ถูกอกถูกใจคนหลายฝักหลายฝ่ายเท่าไหร่นัก จึงเกิดการลอบสังหารอยู่หลายครั้ง แต่ จอมพล ป. ก็รอดมาได้ทุกครั้ง กระทั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำรัฐประหาร จอมพล ป. จึงต้องลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ใช้ชีวิตจวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง
.