.
วันนี้เมื่อ 71 ปีที่แล้ว หรือ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
“เอ็ดมุนด์ ฮิลลารี” (Sir Edmund Percival Hillary) ชาวนิวซีแลนด์ และ “เทนซิง นอร์เกย์” (Tenzing Norgay) ลูกหาบชาวเชอร์ปา (ชนเผ่าหนึ่งของเนปาล) เป็นนักสำรวจคณะแรกที่สามารถพิชิตยอดเขา “เอเวอเรสต์” (Mount Everest) ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกบนเทือกเขาหิมาลัยบริเวณชายแดนระหว่างประเทศเนปาลกับธิเบตได้สำเร็จ
.
ซึ่งยอดเขาเอเวอเรต์นี้มีความสูงถึง 8,848 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในอดีตชาวตะวันตกเรียกว่า “ยอดเขาที่ 15” (Peak XV) ต่อมา แอนดรูว์ วอห์ (Andrew Scott Waugh) นักสำรวจชาวอังกฤษได้ตั้งชื่อว่า “เอเวอเรสต์” ตามชื่อสกุลของ จอร์จ อีฟเรสต์ (Sir George Everest) หัวหน้าเจ้าหน้าที่สำรวจอังกฤษประจำอินเดีย ในขณะที่ชาวธิเบตเรียกยอดเขาแห่งนี้ว่า “โชโมลุงมา” (Chomolungma) ส่วนชาวเนปาลเรียกว่า “สการ์มาทา” (Sagarmatha) แปลว่า “มารดาแห่งจักรวาล”
.
.
นอกจากนี้ ชาวตะวันออกตามเทือกเขาหิมาลัยเคารพดินแดนแห่งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเชื่อว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นดินแดนสำหรับการแสวงบุญ เป็นผลให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มอยากจะพิสูจน์ศักยภาพของตนเองด้วยการพิชิตยอดเขา และจากสถิติมีนักปีนเขาจากทั่วโลกกว่า 2,062 คน ได้เดินทางมาเยือนภูเขาหิมาลัยแล้วถึง 3,050 ครั้ง มีผู้ที่เดินทางไปพิชิตยอดเอเวอเรสต์แล้วกว่าพันคน และมีผู้สังเวยชีวิตให้กับยอดเขาแห่งนี้มากถึง 203 คน
.
ซึ่งในการขึ้นไปปืนยอดเขาเอเวอเรสต์ในแต่ละครั้งนั้นได้สร้างขยะจำนวนมหาศาลทิ้งไว้บนยอดเขามากถึง 21 ตัน จากอุปกรณ์ปีเขาที่ชำรุด ถังออกซิเจน เศษอาหาร เชือก และศพนักปืนเขา รัฐบาลเนปาลเก็บค่าธรรมเนียมจากนักปืนเขาคนละประมาณ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
.
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : ทรูปลูกปัญญา , กูรูสนุก