“ข้าพเจ้าขอประกาศต่อหน้าท่านว่าตลอดชีวิตไม่ว่าจะยาวหรือสั้น ข้าพเจ้าจะอุทิศให้กับการรับใช้พวกท่านและรับใช้ราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นของเราทุกคน”
.
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ (พระยศในขณะนั้น) เป็นพระราชธิดาองค์แรกในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก (ภายหลังขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6) ผู้เป็นพ่อ กับเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งยอร์ก (ภายหลังเป็น สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี) ผู้เป็นแม่ พระราชบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 กับสมเด็จพระราชินีแมรี ผู้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์

.
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ประสูติเมื่อ 21 เมษายน ค.ศ. 1926 หรือเมื่อ 96 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่พระองค์ยังไม่รู้ว่าวันหนึ่งตนเองจะกลายเป็น ‘สมเด็จพระราชินีนาถ’ พระประมุขของ 15 ประเทศ จาก 53 รัฐ เพราะในเวลานั้นเธอเป็นราชวงศ์ที่เติบโตในช่วงแรกรุ่นโดยปราศจากแรงกดดันจากการเป็นทายาทราชบัลลังก์กษัตริย์ แต่เหตุการณ์กลับพลิกผันเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 5 ซึ่งเป็น ‘ปู่’ ของเธอสิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ. 1945 ทำให้ลำดับรัชทายาทต่อมาอย่าง ‘พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8’ (ผู้เป็นอา) ต้องขึ้นสู่บัลลังก์แทน แต่หากเรื่องราวดั่งนิยายได้เริ่มขึ้น… เมื่อพระองค์หลงรัก ‘วอลลิส ซิมป์สัน’ หญิงชาวอเมริกัน การจำต้องเลือกระหว่าง ‘มงกุฎพระราชา’ กับ ‘หัวใจ’ จึงกลายเป็นทางเลือก เพราะหากตามกฎมณเฑียรบาลแล้ว พระราชาจะไม่สามารถมีคู่ครองที่ไม่ใช้เชื้อพระวงศ์ได้ และในที่สุดพระองค์เลือกทำตามหัวใจด้วยการเลือกซิมป์สันและ ‘สละราชบัลลังก์’
.
กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของราชวงศ์อังกฤษ เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้พระเจ้าจอร์จที่ 6 ผู้เป็นพ่อของเธอได้สวมมงกุฎเป็นกษัตริย์และเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ‘พระเจ้าจอร์จที่ 6’ ในปี ค.ศ. 1937 เธอเป็นกลายทายาทของมกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาจะเสด็จสวรรคต ในคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1952 ในขณะที่เวลานั้นเธอยังมีอายุเพียง 25 ปีจากการเข้าบรรเทานอนในคืนนั้น เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี แห่งยอร์ก เธอไม่รู้เลยว่าเมื่อตื่นขึ้นหน้าที่ของเธอจะถูกเรียกร้องในฐานะ ‘สมเด็จพระราชินีนาถง’ การเสด็จขึ้นครองราชย์ ใช้เวลากว่า 16 เดือนกว่าจะถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนั้นจัดขึ้นที่มหาวิหารเวสมินสเตอร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พระราชพิธีนี้ได้ถ่ายทอดไปทั่วโลกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ยังได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรชาวอังกฤษว่า

.
“ข้าพเจ้าพร้อมอุทิศชีวิตเพื่อประชาชนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยากขอความร่วมมือจากประชาชนทุกคนไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตาม ให้ช่วยสวดภาวนาให้ข้าพเจ้า ในวันที่ข้าพเจ้าต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกษัตริย์แห่งอังกฤษและข้าพเจ้าพร้อมรับใช้พระเป็นเจ้าและประชาชนของข้าพเจ้า ทุกคนตลอดที่ข้าพเจ้ายังมีลมหายใจ” ”
.
ตลอดพระชนม์ชีพพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยถือเอาผลประโยชน์ประชาชนและประเทศเป็นที่ตั้ง พระองค์ทรงเป็นทั้งแม่ของลูกชายและประมุขของประเทศ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของสหราชอาณาจักร ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงประทับสูงตระหง่านบนเวทีโลกเป็นเวลาเจ็ดทศวรรษ

สำหรับกำหนดการพระราชพิธีถวายความอาลัยต่อการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อพระบรมโกศของพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถึงกรุงลอนดอน หีบพระบรมศพของพระองค์จะถูกประทับในห้องโถงของวิหารเวสต์มินสเตอร์ 4 วัน ก่อนพระราชพิธีเพื่อให้ประชาชนชมขบวนแห่ และถวายความอาลัยต่อพระองค์ได้ โดยสำนักพระราชวังอนุญาตให้ประชาชนเฝ้าเสด็จฯ ตลอดเส้นทางและจะมีจอภาพขนาดใหญ่ที่จะตั้งในสวนสาธารณะเซนส์ เจมส์ เพื่อให้ประชาชนได้รับชมพิธีดังกล่าวด้วยพระบรมโกศจะถูกคลุมด้วยธงประจำพระราชวงศ์ และเมื่อประทับอยู่ในวิหารเวสต์มินสเตอร์ พระบรมโกศจะถูกประดับด้วยมงกุฎ ลูกโลกทองคำและคฑา ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำพระองค์
เมื่อพระบรมโกศประทับในวิหารแล้ว จะเปิดให้ประชาชนเข้าถวายความอาลัยอีกครั้งสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถ คาดว่าจะจัดขึ้นที่วิหารเวสต์มินสเตอร์ภายใน 2 สัปดาห์ โดยต้องรอการยืนยันจากสำนักพระราชวังบักกิงแฮมอีกครั้งวิหารนี้เป็นวิหารเก่าแก่ เคยจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1953 รวมทั้งเป็นสถานที่จัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมรส ระหว่างพระองค์และเจ้าชายฟิลิปในปี 1947
งานพระราชพิธีจะดำเนินการโดยเจ้าคณะแห่งวิหารเวสต์มินสเตอร์ บาทหลวงเดวิด ฮอยล์ มี จัสติน เวลบี อาร์คบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นนักเทศน์ และนายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ คาดว่า จะเข้าร่วมในพระราชพิธีด้วยหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีแล้ว พระบรมโกศของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะเคลื่อนผ่านประตูเวลลิงตัน ผ่านสวนสาธารณะไฮด์ปาร์คของลอนดอน ก่อนมุ่งหน้ากลับไปยังพระราชวังวินด์เซอร์ คาดว่ากษัตริย์และสมาชิกอาวุโสของพระราชวงศ์ จะเข้าร่วมขบวนพิธีที่บริเวณจัตุรัส ในพระราชวังวินด์เซอร์ ก่อนที่พระบรมโกศจะเคลื่อนสู่โบสถ์เซนต์จอร์จต่อไปโบสถ์เซนต์จอร์จเป็นโบสถ์ประจำพระราชวงศ์วินด์เซอร์ ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธีอภิเษกสมรสของ ดุ๊กและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ เจ้าชายแฮร์รี่และเมแกน ทั้งยังเป็นสถานที่จัดพระราชพิธีศพของเจ้าชายฟิลิป พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถด้วยหีบพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จะถูกประทับภายใน Royal Vault ก่อนที่จะถูกฝังในสถานที่ใกล้กับ พระบรมศพของพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในโบสถ์เซนต์จอร์จ
#ThePublisher #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #ควีนเอลิซาเบธที่2 #TheCrown #QueenElizabeth
– – – – – – – – – – – – – – – – – –
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.thepublisherth.com