Browsing: News

เริ่มมีคำถามมากขึ้นว่า “อบายมุขเสรี” กำลังกลายเป็น “ธีมหลัก” ของรัฐบาลแพทองธาร หรือไม่? หลังพรรคเพื่อไทยเดินหน้าเต็มสูบผลักดัน กาสิโนถูกกฎหมาย พนันออนไลน์ถูกกฎหมาย และ ผ่อนปรนการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันสำคัญทางศาสนา จากประเทศที่เคยพยายามควบคุมปัญหาสังคม กำลังกลายเป็น “ดินแดนเสรีอบายมุข”…จากรัฐบาลที่หาเสียงเรื่องปากท้อง กำลังกลายเป็นรัฐบาลที่พยายามทำเงินจากประชาชนด้วยอบายมุขนานัปการ นี่คือการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือกำลังพาประเทศเข้าสู่ยุค “อโคจร” ? กาสิโนถูกกฎหมาย ที่อ้างว่าเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ คิดบ้างหรือไม่ว่ามัอนาจพลิกกลายเป็นหรือศูนย์กลางหนี้สินประชาชน?รัฐบาลผลักดัน “Entertainment Complex” ที่รวมกาสิโน โรงแรม และแหล่งท่องเที่ยวครบวงจร ด้วยข้ออ้างหลักว่า กระตุ้นเศรษฐกิจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ สิงคโปร์ แม้มีรายได้มหาศาลจากกาสิโน แต่ต้องออกกฎหมายคุมเข้ม ป้องกันคนติดพนัน มาเก๊า เคยเป็น “สวรรค์ของกาสิโน” ก่อนจะถูกจับตาว่ากำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางฟอกเงินข้ามชาติ แม้แต่กัมพูชา ที่เต็มไปด้วยกาสิโนแต่ประชาชนในพื้นที่กลับไม่ได้ประโยชน์ มีแต่เจ้าของธุรกิจต่างชาติที่ร่ำรวย และเต็มไปด้วยปัญหาค้ามนุษย์ คอลเซ็นเตอร์ รวมถึงแหล่งฟอกเงินด้วย แล้วประเทศไทยจะไปทางไหน? ย้อนดูประเทศไทย นโยบายก็ยังเต็มไปด้วยความย้อนแย้ง บอกมี กาสิโน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่เปิดช่องให้คนไทยเข้ากาสิโนได้ เพราะต้องการดึงเงินไม่ให้ไหลไปบ่อนต่างประเทศ แถมไร้มาตรการดูแลผลกระทบทางสังคม สิ่งที่เห็นชัดคือ “นักลงทุนกาสิโน” รวยขึ้น แต่ “ประชาชนที่เล่น” หมดตัว เศรษฐกิจโตจากเงินอบายมุข แต่ คนไทยเสี่ยงพังเพราะหนี้สินการพนัน พนันออนไลน์ถูกกฎหมาย สร้างรายได้ หรือ ฟอกเงิน! รัฐบาลแพทองธารพยายามทำให้พนันออนไลน์ถูกกฎหมาย อ้างว่า “จะควบคุมให้ปลอดภัย” แต่ในความเป็นจริง…เงินพนันออนไลน์หมุนเวียนมหาศาล มักถูกใช้เป็นเครื่องมือฟอกเงิน เยาวชนเข้าสู่การพนันง่ายขึ้น คนติดพนันมากขึ้น และยังเป็นการสส่งสัญญาณผิด ๆ ให้สังคมว่า การพนันเป็นเรื่องปกติทำได้โดยถูกกฎหมาย หลายประเทศที่เคยทำให้พนันออนไลน์ถูกกฎหมาย เช่น ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา สุดท้ายต้องกลับมาคุมเข้ม เพราะอาชญากรรมและหนี้สินพุ่งสูง แล้วประเทศไทยจะรับมือยังไง? ยังไม่เห็นพูดถึง เห็นแต่ความกระหี้ยนกระหือรือจะทำ “พนันออนไลน์ถูกกฎหมาย” ดึงเงินใต้โต๊ะมาอยู่บนโต๊ะแต่ไม่รู้…สุดท้ายเข้ากระเป๋าใคร ประเทศไทยได้แค่เศษเงินหรือเปล่า? คุ้มค่าไหมกับที่เยาวชนไทยจะเข้าถึงการพนันง่ายขึ้น เพราะทุกอย่างเป็นออนไลน์? หนี้พนันจะระบาดไปทุกระดับครัวเรือนรัฐบาลมองปัญหานี้บ้างหรือไม่? ขายแอลกอฮอล์เสรี – กระตุ้นเศรษฐกิจ หรือกระตุ้นปัญหาสังคม? รัฐบาลแพทองธารสนับสนุนให้ขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้ร้านค้าและภาคธุรกิจได้ประโยชน์…

Read More

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. กล่าวตอนหนึ่งระหว่างเปิดการประชุมชี้แจงแผนการดำเนินโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการ การเลือกตั้ง ระยะ 5 ปี (กิจกรรม Kick-off Meeting) กับที่สังคมสงสัยว่า กกต.ทำเรื่องคำร้องเลือก สว.อยู่หรือเปล่า โดยประธาน กกต.ระบุว่าคำร้อง สว.มีกว่า 500 เรื่องเป็นคำร้องที่เกี่ยวกับมาตรา 77 (1) กว่า 200 เรื่อง ทำเสร็จไปแล้วประมาณกว่า 100 เรื่อง ที่อยู่ระหว่างเข้มข้นประมาณ 150 และการสืบสวนไต่สวนต้องใช้เวลา เพราะเป็นกระบวนการเกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ คนเกี่ยวข้องจำนวนมากและต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกร้อง ให้มีโอกาสทราบ รับรู้ชี้แจง แก้ข้อกล่าวหา “ที่ตรวจสอบล่าสุดมี 122 เรื่องที่มีความเข้มข้น หมายถึงผ่านคณะสืบสวนไต่สวนมาแล้ว” นายอิทธิพรกล่าว ทั้งนี้ตามขั้นตอนการพิจารณาของ กกต. นายอิทธิพลระบุ 1. คณะกรรมการสืบสวนไต่สวน 20 วัน + 15 วัน + ได้อีก 15 วัน ถ้าไม่ทันขอต่อเวลากับเลขาธิการ กกต.อนุมัติ 2.สืบสวนไต่สวนจังหวัดเสร็จแล้ว 3.ผอ.สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัด 4.เสนอเข้าส่วนกลาง 5.คณะอนุกรรมการฯ และ กกต.พิจารณา ประธาน กกต.บอกด้วยว่า คำร้องดังกล่าวยื่นเมื่อ 18 ก.ค. 2567 ถึงวันนี้เหลืออีก 3 เดือนกว่า ๆ ถึงจะครบปี พอครบปีเป็นกำหนดเวลาที่ กกต.กำหนดไว้เองว่าจะทำให้เสร็จภายใน 1 ปี ถ้าไม่เสร็จก็ขยายได้ถ้ามีเหตุผล ทั้งนี้ประชาชนสามารถตรวจเช็คการทำงานได้ที่ระบบา รวมทั้งคำร้องสอบการเลือกตั้ง สส.ปี 2566 และคำวินิจฉัยต่าง ๆ ด้วย

Read More

ถ้าเห็นตัวเลขเรียงกันเป็นชุดแบบนี้ คนทั่วไปอาจคิดว่า “โพยหวย” เลขเด็ดจากเซียนดัง แต่เปล่าเลย… นี่คือ “โพยฮั้ว ส.ว.” หลักฐานที่ พล.ต.ท.คำรบ ปัญญาแก้ว ผู้สมัครเลือกตั้งวุฒิสภา ออกมาเปิดโปงกลางรายการ “คุยข้ามช็อต” เผยแพร่ทาง PPTV พร้อมชี้ว่า นี่คือขบวนการทุจริตที่กำหนดผลล่วงหน้าก่อนเลือกตั้งเพียงแค่ 1 วัน แต่แทนที่ กกต. จะเร่งตรวจสอบและยับยั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นคำพูดสุดช็อกจากเลขาธิการ กกต. ว่า “ปล่อยเค้าทำไปเถอะ!” …นี่มันอะไร? ลายแทงตัวเลขที่ไม่ได้พาไปรวย แต่นำไปสู่ความฉ้อฉลในระบอบประชาธิปไตย คำถามคือ ทำไม กกต.จึงไม่จัดการปัญหาก่อนการเลือกสว.?มันสื่อถึงข้อตกลงลับอะไรระหว่างผู้มีอำนาจกับเครือข่ายผู้สมัครหรือไม่ และผู้บริหารสำนักงาน กกต. มีส่วนสมรู้ร่วมคิดด้วยหรือไม่? แล้ว กกต. ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการเลือกตั้ง ปล่อยให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? จาก “หวยล็อก” สู่ “ส.ว. ล็อก” – กลไกที่บิดเบือนประชาธิปไตย ถ้านี่เป็น โพยหวย อย่างน้อยเราก็รู้ว่า “ใครมีดวงก็ถูกรางวัล” แต่ถ้าเป็น “โพยฮั้ว ส.ว.” มันหมายความว่า “ใครมีเส้นสายก็ได้อำนาจ” สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่า ระบบการเลือกตั้ง ส.ว. ที่ถูกออกแบบมาให้ดู “เป็นกลาง” และ “ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง” อาจเป็นแค่ฉากหน้าสวย ๆ แต่เบื้องหลังเต็มไปด้วยการจัดสรรผลประโยชน์ แทนที่ ส.ว. จะเป็นตัวแทนของประชาชน กลับกลายเป็นว่า มีคนกำหนดผลโหวตล่วงหน้า แบบที่ประชาชนไม่อาจมีส่วนร่วม โพยฮั้ว ส.ว. = ระบบที่ออกแบบมาเพื่อใคร? ส.ว. ชุดนี้ ไม่ได้มาจากประชาชน แต่ใช้กระบวนการเลือกกันเองในกลุ่มวิชาชีพ ซึ่งถูกวิจารณ์มาตลอดว่ามี “ช่องโหว่ให้เกิดการฮั้ว” และนี่คือ หลักฐานชิ้นสำคัญที่อาจพิสูจน์ว่า กระบวนการนี้มีการวางแผนล่วงหน้าจริง! ถ้าการเลือกตั้ง ส.ว. ถูกกำหนดผลไว้แล้วตั้งแต่ต้น – นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่คือการแต่งตั้งอำพราง สังคมต้องไม่เงียบ – ประชาชนต้องตั้งคำถาม! โพยฮั้ว ส.ว. ครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะ…

Read More

การแต่งกายของ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 31 กลายเป็นประเด็นร้อนครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่ดรามา “รองเท้าไข่มุก” ในการพบกับ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ไปจนถึงภาพล่าสุดที่เธอสวม เสื้อคลุมตัวยาวลายตาราง ในขณะที่ผู้ร่วมงานคนอื่นแต่งกายอย่างเป็นทางการ คำถามสำคัญคือ นี่เป็นเพียงเรื่องบุลลี หรือเป็นเรื่องของภาพลักษณ์ที่เธอควรใส่ใจ? “รองเท้าไข่มุก” จุดเริ่มต้นของคำถามเรื่องความเหมาะสม ก่อนหน้านี้ แพทองธารถูกวิจารณ์หนักเรื่องการใส่รองเท้าส้นเตี้ยประดับไข่มุก ขณะพบ สี จิ้นผิง ระหว่างการเยือนจีนเมื่อเดือนมกราคม 2568 ซึ่งเป็นการพบปะระดับผู้นำที่มีความสำคัญทางการเมือง เหตุการณ์นี้ทำให้คนตั้งคำถามว่า ทำไมนายกฯ ไทยถึงเลือกใส่รองเท้าที่ดูเป็นแฟชั่นมากกว่าทางการ? ในขณะที่นายกฯ หรือประมุขของรัฐชาติอื่นมักเลือกใส่รองเท้าที่สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือและอำนาจ เรื่องนี้ลุกลามไปไกลจน นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. เพื่อให้ตรวจสอบว่ารองเท้าคู่นี้ และทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น iPad ได้ถูกแจ้งในบัญชีทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ แพทองธารตอบโต้กระแสนี้ว่า เธอไม่แคร์ที่ถูกบุลลีเรื่องการแต่งตัว โดยให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าเธอจะใส่อะไรก็ได้ที่สบายและเป็นตัวเอง คำถามคือ นี่เป็นแค่เรื่องบุลลี หรือเป็นเรื่องของความเหมาะสมในฐานะนายกฯ? “เสื้อคลุมตาราง” – สะท้อนปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น? ล่าสุด เธอปรากฏตัวใน เสื้อคลุมตัวยาวลายตารางสีฟ้า-ขาว ดูสบาย ๆ ในขณะที่ผู้ร่วมงานแต่งกายด้วยชุดสูททางการ ระหว่างปฏิบัติภารกิจเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หากนี่เป็นแค่เรื่องสไตล์ส่วนตัว ก็คงไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือ เธอไม่ใช่ประชาชนทั่วไปหรือเป็นแค่คนรุ่นใหม่ Gen Y ที่ให้ความสำคัญกับความสบายใจของตัวเอง แต่เธอคือนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ที่ความรับผิดชอบต่อภาพลักษณ์ประเทศต้องมาก่อนความชอบส่วนตัว หากเปรียบเทียบกับนายกฯ หญิงของประเทศอื่น ๆ เช่น อังเกลา แมร์เคิล (เยอรมนี) ที่มักแต่งกายด้วยสูทสีพื้น เพื่อสะท้อนความน่าเชื่อถือ จาซินดา อาร์เดิร์น (นิวซีแลนด์) ที่ให้ความสำคัญกับการแต่งกายให้เหมาะกับโอกาส หรือแม้แต่ คามาลา แฮร์ริส (รองปธน.สหรัฐฯ) ที่เลือกเสื้อผ้าที่แสดงถึงอำนาจและความมั่นคง ผู้นำหญิงเหล่านั้นล้วนเข้าใจว่าการแต่งกาย ไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัว แต่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความเคารพ และการให้เกียรติคู่เจรจา การแต่งกายของนายกฯ เป็นมากกว่าเรื่องส่วนตัว…

Read More

ยังคงมีการแสดงความเห็นอย่างต่อเนื่องกับคดีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พิพากษาจำคุก 2 ปี “ศ.กิตติคุณ ดร. พิรงรอง รามสูต” โดยไม่รอลงอาญา จากกรณีทรูไอดีฟ้องปมอนุกรรมการฯ ทำหนังสือเตือนผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ 127 ราย ถึงพฤติกรรมของทรูไอดีที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ล่าสุดมีความเห็นจากนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ออกมาแสดงความกังวลว่าคดีนี้อาจส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบยุติธรรมไทย การทำงานของหน่วยงานรัฐ และบทบาทของผู้ที่ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพราะแม้ว่าการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาอาจเปลี่ยนแปลงผลคดีในทางที่เป็นคุณต่อ “พิรงรอง” ไม่ว่าจะเป็นการยกฟ้องหรือให้รอลงอาญา แต่ผลกระทบต่อสังคมจากคดีนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นเรื่องที่ยากจะย้อนกลับ “ในฐานะนักวิชาการที่ติดตามอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและวิทยุ-โทรทัศน์มานาน และยังเป็นพยานของจำเลยในคดีนี้ จึงรู้สึกทั้งแปลกใจและเศร้าใจกับคำตัดสินที่เกิดขึ้น” เมื่อกฎหมายกลายเป็นเครื่องมือปิดปาก (SLAPP) นายสมเกียรติระบุว่า มีผลกระทบสำคัญอย่างน้อย 3 ประการที่ต้องพิจารณา คือ 1. ผลกระทบต่อผู้ทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ คดีนี้อาจเป็นแบบอย่างที่ทำให้กลุ่มทุนมองว่า สามารถใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการฟ้องร้องบุคคลที่เห็นต่างได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟ้องร้องหมิ่นประมาทเพื่อปิดปาก (SLAPP) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประเทศไทย หลายกรณีได้รับการบันทึกไว้ในหนังสือ “เมื่อกฎหมายถูกใช้เป็นอาวุธ” ของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน แสดงให้เห็นว่ากฎหมายสามารถถูกใช้เพื่อจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและขัดขวางการทำงานเพื่อสังคม ผลกระทบต่อการทำงานของหน่วยงานรัฐ คดีนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ทำงานในหน่วยงานรัฐอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยง หากการตัดสินใจของพวกเขาขัดแย้งกับผลประโยชน์ของกลุ่มทุน อาจมีการฟ้องร้องทางกฎหมายเพื่อสร้างแรงกดดันให้หน่วยงานรัฐต้องปรับเปลี่ยนท่าที หรือแม้แต่ละเลยการพิจารณาประเด็นที่อ่อนไหวเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ผลกระทบต่อหลักนิติรัฐและความเชื่อมั่น นายสมเกียรติแสดงความกังวลว่า คดีนี้อาจสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของกระบวนการพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ศาลตัดสินลงโทษจำเลยโดยไม่ให้เหตุผลอย่างชัดเจนว่าเหตุใดจึงไม่เชื่อคำให้การของจำเลย ทั้งที่เป็นคดีอาญา ซึ่งโดยหลักแล้วศาลจะต้องพิจารณาโดยยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย (Beyond a Reasonable Doubt) โดยตั้งข้อสังเกตว่า จำเลยถูกลงโทษ ทั้งที่การดำเนินการของ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง เป็นไปในนามสำนักงาน กสทช. และเป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งก็คือกฎ Must Carry ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการโทรทัศน์ต้องเผยแพร่รายการผ่านผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. เท่านั้น สิ่งที่ทำให้เขากังวลมากที่สุดคือ ศาลเชื่อว่าจำเลยปลอมแปลงเอกสาร ทั้งที่เอกสารดังกล่าวได้รับการรับรองจากคณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง ศาลฯ ต้องทำให้เชื่อว่าความยุติธรรมเกิดขึ้นจริง นายสมเกียรติ ชี้ให้เห็นว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางใช้วิธีไต่สวน ซึ่งแตกต่างจากการพิจารณาคดีอาญาทั่วไปที่ใช้ระบบกล่าวหา (Adversarial System) ที่โจทก์และจำเลยสามารถหักล้างกันได้อย่างเท่าเทียม วิธีไต่สวนนี้เปิดโอกาสให้ศาลมีอำนาจในการกำหนดแนวทางของคดีมากขึ้น แต่หากไม่มีการให้เหตุผลที่ชัดเจนเพียงพอ ก็อาจก่อให้เกิดข้อกังขาต่อการใช้ดุลพินิจของศาล ระบบยุติธรรมไม่เพียงแต่ต้องทำให้เกิดความยุติธรรมเท่านั้น แต่ต้องทำให้สังคมเชื่อมั่นว่าความยุติธรรมเกิดขึ้นจริง (Justice must not only…

Read More

พรุ่งนี้ (6 มี.ค.68) เป็นวันสำคัญของคดี “ฮั้วเลือก สว.” ที่กำลังสั่นสะเทือนวงการการเมืองไทย เมื่อคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) จะตัดสินว่าจะรับเรื่องนี้ให้เป็นคดีพิเศษ เพื่อให้ DSI (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) ดำเนินการหรือไม่ แต่สำหรับ ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน แสดงความเห็นกับ The Publisher ผ่านรายการ “เที่ยงเปรี้ยงปร้าง” ดำเนินรายการโดย “สมจิตต์ นวเครือสุนทร” ว่า ยังไม่ควรรับเป็นคดีพิเศษในตอนนี้ เพราะการเลือก สว. เป็นอำนาจของ กกต. ถ้าฝ่ายบริหารใช้ DSI เข้าไปตรวจสอบ มันจะกลายเป็นอำนาจซ้อนอำนาจ และเป็นช่องทางที่ฝ่ายการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้งในอนาคตได้ เส้นทางล้มเลือกตั้ง ส.ว. – ก้าวแรกต้องไปศาลรัฐธรรมนูญ ดร.ณฐพร เชื่อว่า DSI ยังไม่ควรรับคดีฮั้วเลือก ส.ว. ในตอนนี้ เพราะอาจมีปัญหาทางกฎหมาย วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะก่อน แล้ว DSI ค่อยดำเนินคดีอาญา “ผมจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 10 มีนาคม เพื่อให้การเลือกตั้ง ส.ว. เป็นโมฆะ” เขาอธิบายว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย DSI ก็จะสามารถดำเนินคดีในข้อหา “อั้งยี่ ซ่องโจร ฟอกเงิน” ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีข้อครหาว่าฝ่ายบริหารกำลังก้าวก่ายอำนาจ กกต. “ถ้า DSI รีบรับคดีตอนนี้ อาจกลายเป็นการเปิดทางให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงการเลือกตั้งในอนาคตได้” แต่เขาก็ย้ำว่า DSI สามารถเริ่มสืบสวนเบื้องต้นได้ แต่ต้องแยกคดีออกให้ชัดเจน “ถ้าจะรับเป็นคดีพิเศษ ก็ต้องรับแค่ข้อหาอั้งยี่ ซ่องโจร ฟอกเงิน แยกออกจากประเด็นเลือก ส.ว.” หลักฐานมัดแน่น! “ร้อยคนเห็นก็บอกว่าฮั้ว” เมื่อพูดถึงหลักฐาน ดร.ณฐพร มั่นใจว่า พยานหลักฐานที่มีอยู่สามารถชี้ชัดว่าการเลือก ส.ว. ไม่เป็นไปอย่างสุจริต เที่ยงธรรม “ผมพูดตรง ๆ ว่า คนร้อยคนเห็นก็บอกว่าฮั้วแน่นอน! “เขาย้ำว่า ศาลรัฐธรรมนูญสามารถพิจารณาข้อมูลที่ปรากฏในสื่อมวลชนเป็นพยานหลักฐานได้ และถ้า DSI…

Read More

การเปลี่ยนผ่านของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำลังเป็นที่จับตามอง เมื่อกรรมการ 3 คนกำลังจะหมดวาระ และการสรรหาคนใหม่เข้าไปแทนที่กำลังเป็นประเด็นร้อน โดยเฉพาะเมื่ออำนาจการเลือกอยู่ในมือของวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งถูกมองว่ามี “สีน้ำเงิน” คุมเกมอยู่ คำถามสำคัญคือ ป.ป.ช. ชุดใหม่จะเป็นอิสระจริง หรือจะกลายเป็นกลไกของอำนาจทางการเมือง? ท่ามกลางคดีสำคัญที่รอการพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชั้น 14 ป่วยทิพย์ ที่เกี่ยวพันโดยตรงถึง “ทักษิณ ชินวัตร” ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐบาลชุดปัจจุบัน นี่คือหัวข้อที่ ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ “เที่ยงเปรี้ยงปร้าง” ดำเนินรายการโดย สมจิตต์ นวเครือสุนทร เขาเปิดประเด็นว่า ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่เครื่องมือทางการเมืองของใคร ไม่ต้องห่วงเรื่องความล่าช้าในทางคดีหลังเกิดการเปลี่ยนผ่านกรรมการ ป.ป.ช. เพราะคดีใหญ่ไม่ใช่ของใครคนเดียว แต่ป.ป.ช.ทั้งคณะต้องรับผิดชอบร่วมกัน เนื่องจากเป็นการไต่สวนในรูปแบบคณะ ไม่ใช่ทำงานแบบพระเอกคนเดียว แม้จะมีการเปลี่ยนตัวกรรมการ ป.ป.ช. แต่กระบวนการไต่สวนต้องเดินหน้าต่อไป ผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องสวมบทบาทของคนเก่าและศึกษาสำนวนโดยเร็วเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า “อย่าปล่อยให้ ป.ป.ช. ตกต่ำจนประชาชนไม่ไว้ใจ” ความกังวลต่อความโปร่งใสของ ป.ป.ช. ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากข้อครหาหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการทำคดีล่าช้า หรือแม้แต่คดีที่หมดอายุความไปโดยไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน รวมถึงความไม่ไว้วางใจที่มีต่อ นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธาน ป.ป.ช. หลังปรากฏคลิปสนทนากับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ส่อไปในทำนองต่อรองให้ยุติคำร้องจริยธรรมร้ายแรงที่ “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ. สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีต ผบ.ตร. ยื่นเรื่องไว้ และสุดท้ายก็มีการยุติคำร้องไป โดยทั้งคู่ถูกยื่นตรวจสอบจริยธรรมร้ายแรงด้วย “ทุกองค์กรมีช่วงตกต่ำ ถ้าป.ป.ช. ไม่พิสูจน์ตัวเองว่าทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ก็จะเสียความเชื่อมั่นจากประชาชน ป.ป.ช.ต้องยึดโยงกับประชาชน ถ้าไม่ต้องการถูกครหา ต้องทำให้เห็นว่าการทำงานโปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนตรวจสอบได้” “ป.ป.ช. ต้องไม่อยู่ใน ‘หลุมดำ’ ของกระบวนการยุติธรรม” ศ.พิเศษ วิชา แนะนำด้วยว่า ป.ป.ช. ต้องไม่ปล่อยให้เกิดความคลุมเครือ หรือทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นหลุมดำของระบบยุติธรรม เพราะในขณะนี้กระบวนการยุติธรรมก็ถูกตั้งคำถามมากเรื่องธรรมาภิบาล “ไม่มีทางที่จะอยู่ในหลุมดำแบบนี้ได้ ทุกคนที่อยู่ในป.ป.ช.เข้าใจดี โดยเฉพาะประธานป.ป.ช.ที่จะต้องรับมือในการสร้างความเชื่อถือให้กับประชาชน…

Read More

คดีป่วยทิพย์ “ชั้น 14” ของ “ทักษิณ” ที่กลายเป็นมหากาพย์การเมือง ยังไม่จบง่าย ๆ แต่ท่ามกลางกระแสสอบสวนที่ยังไม่ชัดเจนว่าคืบหน้าแค่ไหน กระดานนี้กำลังเปลี่ยนหมาก! ป.ป.ช. กำลังจะเปลี่ยนโฉม! เพราะกรรมการ 3 คนกำลังจะหมดวาระ และ ต้องสรรหาคนใหม่มาทดแทน ซึ่งอำนาจอยู่ในมือผ่าน ส.ว.! คำถามคือ… การเปลี่ยนตัว ป.ป.ช. จะส่งผลให้คดีพลิกหรือไม่? เพราะต้องไม่ลืมว่า นี่จะเป็นการเปลี่ยนหมากใน ป.ป.ช.ครั้งสำคัญ จาก ป.ป.ช.ชุดเดิมที่ตั้งโดย สว.ชุดเก่า ที่มาจาก คสช. มาเป็น ป.ป.ช.ที่เลือกโดยสว.ชุดใหม่ ที่มี “สีน้ำเงิน” คุมเสียงข้างมาก ในห้วงเวลาที่ แดง-น้ำเงิน กำลังประลองกำลัง เกมแชร์อำนาจ กระจายอิทธิพลสู่ ป.ป.ช. จึงน่าจับตายิ่ง ป.ป.ช. สอบป่วยทิพย์ กระแสแรง แต่จะไปถึงไหน? คดี “ป่วยทิพย์ ชั้น 14” คือหนึ่งในประเด็นร้อนที่ ป.ป.ช. ต้องไต่สวนข้อเท็จจริง ว่า “ทักษิณ” ได้รับอภิสิทธิ์พิเศษหรือไม่ ป่วยจริงหรือไม่? ในการเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ แทนที่จะถูกส่งตัวกลับไปเรือนจำ ขณะที่สังคมจับตาว่า ป.ป.ช. จะเอาจริงแค่ไหน? หรือจะเป็นแค่คดีที่ถูกดึงยาวออกไปจนหมดแรงกดดัน? ส.ว. คือกุญแจสำคัญ ป.ป.ช. ชุดใหม่ อาจเปลี่ยนเกม? ปัจจุบัน ป.ป.ช. กำลังจะมีกรรมการใหม่ 3 คน ซึ่งต้องผ่านการคัดเลือกจากวุฒิสภา (ส.ว.) ทำให้เกิดคำถามว่า ชุดใหม่ที่เข้ามา จะมีอิสระแค่ไหน หรือจะเอียงข้างใคร? ถ้าป.ป.ช. ชุดใหม่ “อิสระจริง” อาจทำให้คดีเดินหน้าเร็วขึ้น และ การสอบสวนป่วยทิพย์จะได้รับคำตอบที่ชัดเจน สังคมอาจได้เห็นการดำเนินคดีอย่างจริงจัง ถ้าป.ป.ช. ชุดใหม่ “มีดีลลับ” ? อาจมีความพยายามทำให้คดีเงียบ และ ลากเรื่องยาว จนอาจเห็นการเปลี่ยนแนวทางสอบสวน หรือ การพิจารณาคดีถูกดึงให้ช้าออกไปหรือไม่ คดีพลิกได้จริงไหม? โอกาสที่คดีจะ “พลิก”…

Read More

ป.ป.ช. สนธิกำลังตำรวจ บุกรวบ “คมกริช พิชิตสุวรรณ” อดีตนักวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยพะเยา ทุจริตโกงเงินมหาวิทยาลัยกว่า 10 ล้านบาท แถมยังมีหมายจับติดตัวอีก 2 คดี! ถูกจับได้ขณะโผล่โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน แผนฉ้อโกงเงินทุนการศึกษา – ทำรัฐเสียหาย 10 ล้านบาท! วานนี้ (3 มีนาคม 2568) สำนักงาน ป.ป.ช. นำโดย นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการ ป.ป.ช. และ นายวิวัฒน์ เจริญฉ่ำ รองเลขาธิการฯ ได้สั่งการให้ หน่วยสืบสวนคดีทุจริต ภาค 5 และ ภาค 7 สนธิกำลังร่วมกับ ตำรวจ สน.เทียนทะเล เข้าจับกุม นายคมกริช พิชิตสุวรรณ อายุ 48 ปี อดีตนักวิชาการและบัญชี มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีหมายจับ ศาลอาญาคดีทุจริต ภาค 5 ในข้อหาทุจริตเงินมหาวิทยาลัย โดยมีพฤติกรรมฉ้อโกงขณะดำรงตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี ม. พะเยา นายคมกริช เป็นผู้มีหน้าที่ จัดการจ่ายเงินทุนการศึกษาและงบประมาณของมหาวิทยาลัย ใช้อำนาจในหน้าที่ เบียดบังเงินทุนเป็นของตัวเอง ผ่านช่องทางเบิกจ่ายที่ผิดกฎหมาย ทำให้มหาวิทยาลัยพะเยา เสียหายกว่า 10,005,000 บาท! ไม่ใช่แค่คดีเดียว! หมายจับติดตัวอีกเพียบ! โดยนายคมกฤช มีหมายจับติดตัวถึง 2 หมาย ประกอบด้วยหมายจับที่ 1 ศาลจังหวัดกาญจนบุรี คดีลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง หมายจับที่ 2 ศาลจังหวัดนครสวรรค์ คดีร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ หลังหลบหนีนานหลายเดือน เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. และตำรวจสืบทราบว่า นายคมกริชอยู่ในกรุงเทพฯ และปรากฏตัวที่โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โดยเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตาม ก่อน เข้าจับกุมได้ทันควัน ขณะกำลังเดินออกจากโรงพยาบาล! หลังจากจับกุม ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหา และนำตัวส่งอัยการคดีปราบปรามการทุจริต ภาค…

Read More

ตลาดหุ้นไทยยังคง “แดงเถือก” ไม่เห็นแววจะฟื้น แม้ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ จะเคย “เป่ามนต์” ปลุกตลาดหุ้น ก็ยังทำอะไรไม่ได้! รอบนี้…มนต์เสื่อม หรือหมดศรัทธา? “หุ้นไทยทรุด” – นักลงทุนหนี กองทุนใหญ่เทขาย ความเชื่อมั่นหดหาย!SET Index รูดหนัก ดิ่งต่ำสุดรอบหลายปี ไม่มีแรงซื้อพยุง หุ้นไทยอาการหนัก นักลงทุนต่างชาติถอนทุนต่อเนื่อง บาทอ่อน ศรัทธาตลาดหาย นักลงทุนมองว่าประเทศขาดเสถียรภาพ “การเมืองไม่นิ่ง เศรษฐกิจไม่เดิน” ทักษิณคัมแบ็ก เป่ามนต์ปลุกหุ้น – แต่ดัชนีไม่สนใจ! ย้อนกลับไปในยุคที่ทักษิณเรืองอำนาจ ตลาดหุ้นไทยเคยทะยานขึ้นจากนโยบายเศรษฐกิจที่ชัดเจน (หรืออย่างน้อยก็ทำให้นักลงทุนเชื่อว่ามีแผนจริง!) แต่วันนี้ ตัวพ่อมาแล้ว หุ้นก็ยังดิ่ง…เพราะอะไร? “มนต์เสื่อมหรือหมดยุค?”อาจเป็นไปได้ว่านักลงทุนไม่อินกับคำพูดแล้ว “ต้องการการกระทำ ไม่ใช่แค่สัญญา” ศรัทธาในฝีมือทักษิณยังพอมี แต่ “ศรัทธาในทีมบริหาร?” นักลงทุนส่ายหัว! นายกฯ – หุ้นลงเหว! ผู้นำ Gen Y หรือ Gen Why? การเมืองไทยเข้าสู่ยุค “นายกฯ ลูกทักษิณ” แต่ตลาดหุ้นกลับให้คำตอบชัดเจนว่า “ตลาดทุนไม่เชื่อมั่น” สาเหตุเป็นเพราะ ไร้แผนเศรษฐกิจที่ชัดเจนพูดเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ แต่ผลงานยังไม่เห็น ปัญหาแรงงาน-ค่าครองชีพหนักขึ้น ตลาดหุ้นไม่ได้ต้องการแค่ภาพลักษณ์ Gen Y แต่ต้องการผู้นำที่มีความสามารถบริหารเศรษฐกิจ! จากยุคหุ้นพุ่งสู่ยุคหุ้นฟุบ – เพราะลูกสาวบริหาร หรือเพราะยุคของพ่อมันจบแล้ว? สุดท้าย…นักลงทุนไม่ได้ดูว่า “ใครเป็นพ่อ” แต่ดูว่า “ใครบริหารประเทศ!”วันนี้ตลาดหุ้นไทยกำลังส่งสัญญาณชัดเจนว่า มนต์ทักษิณปลุกหุ้นไม่ขึ้นแล้ว! ศรัทธาในรัฐบาลลูกสาว…ไม่มี! ถ้าทีมเศรษฐกิจยังเดินแบบไม่มีแผน นักลงทุนนั่งมองหุ้นแดงต่อไปแน่นอน! ศรัทธาตลาดทุน ไม่ได้อยู่ที่ “ชื่อ” หรือ “สกุล” แต่มันอยู่ที่ “ฝีมือ”…ร่ายมนต์ก็แล้ว…ไม่ได้ผล ลองเปลี่ยนนายกฯ ดูมั้ย? เผื่ออะไร ๆ จะดีขึ้น!

Read More