จากกรณีที่กรุงเทพฯ เตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน สามารถเที่ยวได้เลย แต่มีเงื่อนไขคือ นักท่องเที่ยวคนนั้นต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้ว ส่วนโครงการคาดว่าน่าจะเริ่ม 15 ตุลาคม 2564 ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจสำคัญคือ การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ 70% ของประชากรแล้ว มีโมเดลคล้ายภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์
.
ล่าสุด ศ. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงการเปิดประเทศดังกล่าวว่า สถานการณ์โควิดสายพันธุ์เดลตา ไม่น่ากลัว เพราะทั่วประเทศเป็นสายพันธุ์นี้เกือบหมด ที่น่าห่วงคือ สายพันธุ์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลต่อประสิทธิภาพวัคซีน
.
เรื่องการเปิดประเทศให้มีการท่องเที่ยว เข้าใจว่า น่าจะเป็นการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ แต่ก็อยากให้นำบทเรียนของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์มาพิจารณาด้วย เพราะแม้ฉีดวัคซีนครบหมด ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อ และหากยกเลิกมาตรการกักตัวก็น่าห่วง
.
เพราะการทำแซนด์บ็อกซ์ หมายถึงการดำเนินการบางพื้นที่ ไม่ใช่ทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบวงกว้าง เวลามีการเปลี่ยนแปลงอะไรก็สามารถตัดสินใจได้ง่าย
.
ถ้าหากมองในเชิงวิชาการ ถือว่าไทยเปิดเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ เพราะการเปิดในต่างประเทศ หมายถึง ประเทศนั้นมีการฉีดวัคซีนเกิน 70% แต่สำหรับประเทศไทยคือ เข็มที่ 1 แค่ 38% เข็มที่ 2 เพียง 18% ยังขาดไปอีกเยอะ ถ้าจะเร่งฉีดตอนนี้ก็คงทำไม่ได้
.
ถ้าหากจะเปิดประเทศจริง ๆ รออีกสัก 1 เดือนก็ได้ เพื่อให้ทุกอย่างพร้อม ดังนั้นใครทำอะไร ต้องรับผิดชอบด้วย
.
จากนี้ไป การทำงานของแพทย์ก็ยังคงต้องเหนื่อยกันอีก ยังแทบไม่ได้พักกันเลย สิ่งที่น่าห่วงคือ การกลับมาระบาดอีก เตียงผู้ป่วย เตียงไอซียูต้องเพียงพอ ไม่ควรเจอสภาวะเตียงเต็ม และหวังว่าจะไม่เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้ออีก
.
.