“ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” โครงการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท ที่ประสบความสำเร็จที่สุดโครงการหนึ่ง
.
โครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” เป็นหนึ่งในโครงการหลักของ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาลขับเคลื่อนงานในด้านต่าง ๆ
.
โดยมีคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้รับภารกิจสำคัญให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชน ร่วมกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาครัฐ ขับเคลื่อนงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งทางรัฐบาลได้มีนโยบายการจับคู่กันระหว่างกระทรวงกับบริษัทขนาดใหญ่ของประเทศไทย


คุณต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า การจะพัฒนาอย่างไรให้ยั่งยืนจำเป็นต้องมีตัวกลางผู้ประสานงานซึ่งก็คือ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด
ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับเครือข่าย “ประชารัฐรักสามัคคี” ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นภายใต้การบริหารองค์กรแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (Social Enterprise) ทั้ง 76 แห่งทั่วประเทศ “โดยเราได้สร้างโครงการผ่าน 3 กลุ่มงานได้แก่
1.กลุ่มงานเกษตร
2.กลุ่มงานแปรรูป
3.กลุ่มงานท่องเที่ยวโดยชุมชน
นี่คือภาพใหญ่ที่เราใช้กับทุกจังหวัด แต่ขณะเดียวกัน เราก็ให้โอกาสทางท้องถิ่นไปเลือกหาโครงการที่เขาอยากจะทำจริง ๆ มาด้วย ทว่าเราเองก็ต้องมีโครงการระดับประเทศเข้ามารองรับด้วยเช่นกัน”
จุดเริ่มต้นของโครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” มาจากการที่ลงพื้นที่กว่า 60 จังหวัด ทั่วประเทศแล้วค้นพบว่า ไปที่ไหนก็จะมีแต่คนทอผ้าลายตาราง
“เราจึงมานั่งคิดว่า ถ้าอย่างนั้นจะปรับปรุง ‘ผ้าขาวม้า’ ที่ดูเรียบง่ายให้มีคุณภาพ และมีคุณค่าในสายตาของผู้บริโภค รวมถึงสามารถสร้างรายได้ในจำนวนที่มากพอสำหรับชาวบ้านได้อย่างไร จึงเกิดเป็นไอเดียจนนำไปสู่การเปิดตัวครั้งแรกในปี 2559”
ปัญหาที่พบในการพัฒนาผ้าขาวม้าก็คือ มุมของผู้บริโภคมองว่าเป็นของเชย ของราคาถูก เป็นของของคนรุ่นเก่า รวมไปถึงด้านคุณภาพด้วย ไม่ว่าจะเป็นชายผ้าหลุดรุ่ย ซักไปนานวันแล้วสีตก ทำให้ตัวมันเองมีปัญหาจากทั้งฝั่ง ผู้ซื้อและผู้ผลิต
ในมิติการเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภค จึงได้ดึง ณเดชน์ คูกิมิยะ และน้ำตาล – ชลิตา ส่วนเสน่ห์ มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ปี 2559 มาเป็นนายแบบและนางแบบใส่ผ้าขาวม้า รวมไปถึงการนำผ้าขาวม้าไปเปิดตัวในงานโตเกียวแฟชันวีกที่ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ในมุมผู้บริโภคตอนนี้ก็กำลังค่อย ๆ พัฒนาและปรับมุมมองที่มีต่อสินค้าเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตสินค้าเหล่านี้จะได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ จากผู้บริโภค
ปัจจุบันเราสามารถดึงชุมชนที่ทำงานด้านผ้ามาได้กว่า 700 แห่งทั่วประเทศ
กลุ่มที่ทำยอดขายได้ดีมีจำนวนมาก โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่กับเรามาตั้งแต่ปี 2559 ที่เก่งที่สุดเป็นชุมชนที่อำนาจเจริญ แบรนด์ของเขาชื่อว่า นุชบา ผลิตภัณฑ์ของเขามียอดขายที่ค่อนข้างดี โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจงานสัมมนา หรืออีเวนต์ต่าง ๆ โดยสินค้าของเขาเป็นสินค้าที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และสามารถเป็นของฝากได้ด้วย
“พวกเขาสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนปีหนึ่งหลายล้านบาท แม้งานทอผ้าขาวม้าจะเป็นเพียงอาชีพเสริม แต่รายได้จากผลิตภัณฑ์กลายเป็นรายได้หลัก นี่คือสิ่งที่ชุมชนได้ประโยชน์
ในช่วงปี 2561-2562 เป็นเรื่องของการออกแบบสินค้าในปีนี้ 2563-2564 เราจะมุ่งเน้นสอนเรื่องการตลาดเป็นหลัก รวมไปถึงการจัดการและการทำบัญชีเพื่อบริหารธุรกิจ เช่นการบริหารต้นทุนและการตั้งราคา อีกหนึ่งภาคส่วนที่มาช่วยเราเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ก็คือสโมสรฟุตบอล เพื่อขยายช่องทางจัดจำหน่ายให้เพิ่มขึ้น
แหล่งข่าว
.
https://www.thansettakij.com/pr-news/business/497812
.
#ThePublisher #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม
– – – – – – – – – – – – – – – – – –
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.thepublisherth.com ดูน้อยลง