• Hero
  • Original
  • Writer
  • About us
  • คุยกับสส
  • The Persona
  • Interview
  • Thai Treasure
  • Homeland
  • On this day
  • News
  • Home
  • Editor Picks
  • Goods
  • Good Business
  • Good Product
  • Good Society
  • Business
  • Politics
  • Lifestyle
  • Home
  • Technology
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
  • Culture
  • Social
  • Enviroment
  • Sport

Subscribe to Updates

Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

What's Hot

สถานทูตจีน ประจำประเทศไทย ฉลอง 73 ปี สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

27/09/2022

ดึงเยาวชนภาคอีสาน “เปลี่ยนแปลงท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์” ในโครงการ SEED PROJECT ปีที่ 2

23/09/2022

เปิดโลกของวงการเกมไทย กับ Startup ด้าน Web3 Tech Company ชั้นนำของไทย กับ “ฝ้าย – ชนัตฐา ธรรมศยาธร” CMO (chief marketing officer) Terosoft

21/09/2022
Facebook Twitter Instagram
Facebook Twitter Instagram
The PublisherThe Publisher
  • News
    • Politics
    • Business
    • Lifestyle
    • Technology
    • Culture
    • Social
    • Enviroment
    • Sport
  • Good
    • Good Business
    • Good Product
    • Good Society
  • Hero
  • Interview
  • Original
    • The Persona
    • Thai Treasure
  • Writer
    • Homeland
    • On this day
  • About us
The PublisherThe Publisher
You are at:Home » Blog » มหา’ลัยไม่เท่ากัน | คนจึงแบกฝันบนฝาบ้าน มาเป็นดอกหญ้ากลางเมืองใหญ่
Interview

มหา’ลัยไม่เท่ากัน | คนจึงแบกฝันบนฝาบ้าน มาเป็นดอกหญ้ากลางเมืองใหญ่

01/09/20222 Mins Read
Facebook Twitter
มหาลัยไม่เท่ากัน

“ในมุมของการเป็น HR นะคะ คือ ต้องบอกน้องแบบนี้ว่าโลกธุรกิจเราหมุนเงินต่อวันหลายแสนบาท อันนี้คือพูดในมุมปัจจุบันที่โลกมันกำลังต้องคนที่เป็นรูปตัวที คือ ต้องรู้กว้างและรู้ลึก เราเคยจ้างเด็กราชภัฏมาทำงาน เราค่อนข้างต้องใช้เวลาในการเทรนงานสูงมาก บางครั้งเมื่อเทียบกับมหา’ลัยอื่น เราเห็นความต่างอย่างมาก เช่น เรามอบหมายงานไป 1 อย่าง มหา’ลัยอื่น เขาจะสามารถรันงานต่อ 2 3 4… คือสามารถคิดเองต่อได้ แต่พอมาเป็นราชภัฏเรารู้สึกว่ามันเหนื่อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมด ปัจจุบันเราก็มีเด็กราชภัฏสิบกว่าคนในโรงงาน แต่ส่วนใหญ่เป็นงานที่ไม่ได้ใช้ทักษะมาก”

_____[#จับเข่าเกริ่นเรื่อง]

#เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ดูเหมือนจะเป็นความเชื่อประหนึ่งเรื่องราวทางไสยศาสตร์ที่ไม่รู้มีจริงหรือเป็นจริงแค่ไหน กลายมาเป็นประเด็นดราม่าสาวความยาวเล่าความยืดกันอีกครั้ง เมื่อมีผู้ใช้ทวิตเตอร์แคปภาพความคิดเห็นจากโลกออนไลน์ เปิดไอเดีย “โครงการแลกเปลี่ยนราชภัฏ-จุฬาฯ”
_
“อยากให้มีโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน เอาเด็กจุฬาฯ ไปเรียนราชภัฏเทอมหนึ่ง ใช้ข้อสอบของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ สอบตัดเกรดกันที่มหาวิทยาลัยที่ตัวเองไปแลกเปลี่ยน พวกคุณจะได้รู้ว่าเด็กราชภัฏไม่ได้โง่ เด็กราชภัฏก็มีคุณภาพไม่เชื่อลองทำดูสิ”

สานต่อประเด็นให้เกิดความระอุเมื่อมีคนแคปมาโพสต์ต่อว่า “เรื่องแลกเปลี่ยนจะไม่ต้องเกิดขึ้นเลยจ้า ถ้าหล่อนสอบติดจุฬาฯ แต่แรก”
.
แน่นอนว่าเกิดการถกเถียงไปในแวดวงคนวงการศึกษา ทั้งนักศึกษา ผู้ประกอบการต่อประเด็นเรื่อง ‘ราชภัฏ’ พุ่งไปถึงประเด็นอย่าง ‘เหลื่อมล้ำ’ และ ‘ความไม่เท่าเทียม’” ที่ทรัพยากรกระจุกอยู่ในเมืองกรุงแต่ต่างจังหวัดนั้นกลับกลายให้ความหมายการเรียนในอีกนิยามหนึ่ง
.
_____[#มุมจากผู้ประกอบการ]

ทีมข่าวสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงงานแห่งหนึ่ง ในแถบจังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากที่มีประเด็นเรื่องเด็กราชภัฏเกิดขึ้นในโลกออนไลน์
.
“เราต้องยอมรับนะครับว่าศักยภาพเด็กจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ หรือมหา’ลัยระดับ TOP มันต่างจากราชภัฏจริง ผมว่าตัวน้องที่เรียนราชภัฏก็รู้และยอมรับว่าสังคมมีประเด็นนี้อยู่ เชื่อว่าหลายคนมีการปรับตัว พยายามทำให้ตนเองไม่เป็นข้อด้อยว่าเรียนราชภัฏฯ ฉันก็เก่งเท่ากันได้นะ คือเท่าที่อ่านคร่าว ๆ พี่ก็ไม่ได้ลงลึก เพราะอย่างโรงงานที่น้องเห็นเนี่ย พี่ก็มีเด็กราชภัฏ พี่ก็ให้โอกาส พยายามเข้าใจว่าเขาไม่ได้อยู่ใน… เรียกว่าอะไร ระบบการศึกษาที่มันแข่งขัน มีศักยภาพสูง เราก็มาช่วยสอนงานเขาเหมือนลูกหลาน”
.
เสียงจากผู้ประกอบการของโรงงานแห่งนี้พูดด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี สายตาพลางมองไปรอบ ๆ พร้อมชี้ท่าทางไปยังกลุ่มพนักงานที่กำลังทำงานอย่างขมักเขมัน
.
หากจะพูดกันแบบจับเข่าคุย ‘ราชภัฏ’ มีรากคิดที่ดีมาก เกิดจากแนวคิดที่ต้องการวาง ‘รากการศึกษา’ เพื่อพัฒนาประเทศ ในแบบตะวันตกตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการสร้างโรงเรียนกระจายไปตามหัวเมืองเป็นจำนวนมากจนลูกหลานราษฎรได้รับการศึกษา กลายเป็นค่านิยมใหม่ในสังคมไทยที่ผู้คนต้องการให้บุตรหลานตนเองเข้าเรียน เพียงเพื่อหวังจากใช้การศึกษาเป็นกุญแจปลดโซ่ตรวนที่คองคอไว้พอให้ได้ยกระดับฐานะจากไพร่ฟ้าได้บ้าง
.
แน่นอนว่าสถานการณ์เช่นนี้ย่อมมีผลตามมานั้นคือ เมื่อนักเรียนมีจำนวนเยอะขึ้น โรงเรียนก็ต้องการบุคลากรอย่าง ‘ครู’ เช่นกัน นั้นจึงเป็นที่มา ที่ทำให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ของบประมาณเพื่อการฝึกหัดครู เกิดเป็น ‘โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์’ ก่อนที่ปี พ.ศ. 2518 จึงได้ยกฐานะเป็น ‘วิทยาลัยครู’ มีทั้งหมด 17 แห่ง และต่อมาเพิ่มอีก 19 แห่ง รวมทั้งหมด 36 แห่ง

.
‘วิทยาลัยครู’ มีการเปลี่ยนชื่อจำนวนมาก ในเวลาต่อมาคณะกรรมการจากกรมฝึกหัดครู (ชื่อ ณ ขณะนั้น) ได้เสนอชื่อ ‘สถาบันราชพัฒนา’ ก่อนจะขอพระราชทานนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวฯ ให้พระองค์ทรงทราบ และขอพระราชทานนามใหม่ว่า ‘สถาบันราชพัฒนา’ หรือชื่ออื่นใดสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 โดยมีความหมายว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน”


.
[#รั้วสีชมพูขอพูดบ้าง]

ในขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันเป็นต้นเรื่องราวของการเปิดประเด็นครั้งนี้ ทีมข่าวได้สัมภาษณ์นักศึกษาที่พึ่งเรียนจบและกำลังอยู่ในสมรภูมิคนทำงาน ยอมรับกับทีมข่าวว่ามหา’ลัยมีส่วนอย่างมากต่อการเลือกของบริษัท ซึ่งตนมีประสบการณ์โดยตรงตอนสมัครงาน
.
“อย่างเราเรียนจุฬาฯ โอกาสมันมีมากกว่าอยู่แล้ว ต้องเข้าใจบริบทความเป็นจริงว่าเด็กจุฬามาจากโรงเรียนที่ดี มีทุนสูง มันกลายเป็นการผลิตคนเก่งออกมารวมกัน คือเราพูดในมุมของฐานะทางสังคมนะ ไม่รวมเมื่อเด็กที่มีทุนทางสังคมสูงแบบนี้ มาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่มีทรัพยากร มีห้องสมุด มีหนังสือ งานวิจัยที่เราเข้าถึงได้ง่าย มีอาจารย์ที่สอนตั้งแต่วิธีการคิดปรับกระบวนการเรียนรู้ ไม่แปลกที่แบรนด์ดิ่งแบบจุฬาฯ หรือ มหา’ลัย จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเพราะมันคือมหา’ลัยที่มีโครงสร้างในการดึงศักยภาพเด็กออกมา”
.
[#เด็กราชภัฏขอแจง]

ด้าน ‘เด็กราชภัฏ’ ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวอย่างตรงไปตรงมาว่าการเรียนราชภัฏไม่ได้ด้อยไปกว่าจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หากผู้เรียนขนขวายที่จะพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ

“คืออย่างผมเป็นครูที่จบจากราชภัฏ มหา’ลัยเราไม่ได้ด้อย เรามีทั้งคนที่สอบติดข้าราชการ มีหน้าที่การงานที่ดี คือต้องพูดว่าจบจากสถาบันไหนก็มีสิทธิ์ที่จะมีการงานที่ดี อย่างคุณอยู่จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ มีระบบที่ทันสมัย มีหนังสือมาก มีอาจารย์ที่ดีมาก แต่คุณไม่สนใจ ผู้เรียนไม่เอาก็ไม่มีประโยชน์”
.
“ภาพลักษณ์ราชภัฏมันมีภาพจำมาจากตรงไหนผมก็ไม่รู้ ไม่รู้เกิดจากตอนไหน ที่พอรู้ว่าจบมาจากราชภัฏก็กลายเป็นด้อยค่าว่าทำงานไม่ได้ อย่างคุณเห็นจุดดำบนกระดาษ เวลาถามคนว่าคุณเห็นอะไร คนก็บอกว่าเห็นจุดดำ ทั้งที่กระดาษมันกว้างมาก ราชภัฏไม่ได้ด้อยคุณภาพ”

ก่อนที่คุณครูผู้นี้จะปิดท้ายไปยังสังคมที่กำลังพูดคุยเรื่องราวนี้อยู่ว่าสถาบันทุกที่พยายามเร่งผลิตบุคลากรให้มีคุณภาพ หากมีการพัฒนาตนเอง ก็จะสามารถมีงานทีดีได้ อยู่ที่เรากำหนดชะตาชีวิตตนเองที่จะเก่งไม่เก่ง”
.
ในขณะที่เรื่องราวของการศึกษาที่ดูเหมือนว่าเรื่องราวจะไปไกลกว่าเรื่องแบรนด์ดิ้งสถาบันอย่างความเหลื่อมล้ำและการกระจายทรัพยากรที่รัฐไทยไม่เคยไปถึง ไม่รวมว่าเมื่อพูดถึงฐานะของคนไทยส่วนใหญ่ที่การหาข้าวประทังชีวิตในปัจจุบันก็เป็นเรื่องที่ท้าทายค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ต้องพูดถึงการเหลือเงินไปช่วยลูกน้อยในการเรียน หรือส่งเสียเรียนพิเศษ ตรงนี้กลายเป็นวัฏจักรของความจนที่ส่งต่อกันโดยมีสังคมที่เหลื่อมล้ำเป็นกรงขัง ที่ในวันนี้เราคงเถียงกันเรื่อง วนเวียนอยู่แบบนี้ เพราะแท้จริงเบื้องหลังจากเรื่องเล่าปนเคล้าน้ำตาภายใต้ปริญญาตรีของหลายคนอาจไม่ได้มีความภูมิใจต่อสิ่งที่แลกมานัก

ในส่วนงบประมาณ10 มหาวิทยาลัยรัฐที่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด 10 อันดับ

1.มหาวิทยาลัยมหิดล 13,146.5 ล้านบาท (ปี 63 12,023.4 ล้านบาท)
2. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5,607.2 ล้านบาท (ปี 63 5,607.2 ล้านบาท)
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5,501.1 ล้านบาท (ปี 63 5,525.3 ล้านบาท)
4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5,383.3 ล้านบาท (ปี 63 5,119.6 ล้านบาท
5.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5,193.5 ล้านบาท (ปี 63 5,059.3 ล้านบาท)
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5,139 ล้านบาท (ปี 63 4,919.9 ล้านบาท)
7. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4,845.9 ล้านบาท (ปี 63 4,463.4 ล้านบาท)
8. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3,879.6 ล้านบาท (ปี 63 3,816.5 ล้านบาท)
9. มหาวิทยาลัยนเรศวร 2,358.3 ล้านบาท (ปี 63 2,296.9 ล้านบาท)
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2,119.9 ล้านบาท (ปี 63 2,091.1 ล้านบาท)

เมื่อเทียบกับสัดส่วนของกลุ่มราชภัฏฯได้รับการจัดสรรงบประมาณ น้อยที่สุด 10 อันดับได้แก่

1.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 291.8 ล้านบาท (ปี 63 259.4 ล้านบาท)
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 272.7 ล้านบาท (ปี 63 270.7 ล้านบาท)
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 316.6 ล้านบาท (ปี 63 327 ล้านบาท)
4. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 317.4 ล้านบาท (ปี 63 258.2 ล้านบาท)
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 372.9 ล้านบาท (ปี 63 379.1 ล้านบาท)
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 392.8 ล้านบาท (ปี 63 346.6ล้านบาท)
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 393.5 ล้านบาท (ปี 63 400.4 ล้านบาท)
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 423.5 ล้านบาท (ปี 63 444 ล้านบาท)
9. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 425.1 ล้านบาท (ปี 63 508 ล้านบาท)
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 440.2 ล้านบาท (ปี 63 397.1 ล้านบาท)
.
ไม่แปลกเลยที่คนจะถวิลหาโอกาสที่ดีในเมืองกรุง เมื่อปากท้องยังร้องหิวโหยและเม็ดเงินจำนวนมากมากระจุกตัวในมหา’ลัยที่สามารถเปลี่ยนระดับฐานะของตนได้ ภาครัฐที่ไม่เคยเอื้อมมือมาถึง หลายทศวรรษที่ผ่านมาเราจึงมักพบเห็นเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตาของดอกหญ้าในเมืองกรุง ที่แบกเป้เต็มไปด้วยความหวัง มาไถ่ถอนตนเองในป่าปูนแห่งนี้
.
#ThePublisher#สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม
– – – – – – – – – – – – – – – – – –
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.thepublisherth.com

#GoodSociety lifestyle
Writer Publisher

Related Posts

ดึงเยาวชนภาคอีสาน “เปลี่ยนแปลงท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์” ในโครงการ SEED PROJECT ปีที่ 2

By Writer Publisher23/09/2022

เปิดโลกของวงการเกมไทย กับ Startup ด้าน Web3 Tech Company ชั้นนำของไทย กับ “ฝ้าย – ชนัตฐา ธรรมศยาธร” CMO (chief marketing officer) Terosoft

By Writer Publisher21/09/2022

ไทยควรยืนตรงไหน ในความขัดแย้ง “จีน-ไต้หวัน”

By Writer Publisher01/09/2022

‘คน’ กับ ‘ลิง’ ใครครองเมือง – ส่องลิงลพบุรีกับ ‘หมอเตย’ สัตว์แพทย์ผู้อยู่กับลิงมา 20 ปี

By Writer Publisher01/09/2022

Leave A Reply Cancel Reply

Demo
Editor Choices

คนไทยรู้หรือไม่ ?เทศกาล กินเจไม่มีในประเทศจีน!เปิดประวัติการถือศิลกินเจในประเทศไทย

Culture 08/10/2021

“ขอให้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรือง สถาพร สืบไป” นักเรียนไทยในจีน โพสต์คลิปอวยพร วันชาติจีน เนื่องในโอกาสครบรอบ 72 ปี ส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน

Culture 07/10/2021

ศาสตร์พระราชา ‘โคกหนองนา’ สุโขทัย รอดพ้นวิกฤติน้ำท่วม จากการจัดการพื้นทึ่ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่

News 06/10/2021

ในหลวง โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง “มูลนิธิภูบดินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์”เป้าหมายพัฒนาความเป็นอยู่ให้กับประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ดินของรัฐทุกประเภท

Good Society 06/10/2021
Trendy

สถานทูตจีน ประจำประเทศไทย ฉลอง 73 ปี สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

News 27/09/2022
Facebook Twitter Instagram TikTok

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

The publisher ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ทําความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว อ่านเพิ่มเติม
ปฎิเสธ ตั้งค่าคุกกี้ ยอมรับ
Manage consent

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ที่จําเป็น
Always Enabled
คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
CookieDescription
cookielawinfo-checkbox-analyticsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functionalThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessaryThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-othersThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performanceThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policyThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo