• Hero
  • Original
  • Writer
  • About us
  • คุยกับสส
  • The Persona
  • Interview
  • Thai Treasure
  • Homeland
  • On this day
  • News
  • Home
  • Editor Picks
  • Goods
  • Good Business
  • Good Product
  • Good Society
  • Business
  • Politics
  • Lifestyle
  • Home
  • Technology
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
  • Culture
  • Social
  • Enviroment
  • Sport

Subscribe to Updates

Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

What's Hot

การแพทย์สุดก้าวหน้า มนุษย์ไร้หัวใจคนแรกของโลก ดำรงชีพได้แม้ปราศจากชีพจร

13/01/2022

เซฟอย่างสวย ! หนุ่มสวมวิญญาณ ผู้รักษาประตู พุ่งปัดบอล ไม่ให้โดนผู้หญิง

13/01/2022

รวมพลคนรัก “ในหลวง ร.9” ในงาน “หัวหินบ้านของพ่อ” ที่อุทยานราชภักดิ์ 5 ธ.ค.นี้

30/11/2021
Facebook Twitter Instagram
Facebook Twitter Instagram
The PublisherThe Publisher
  • News
    • Politics
    • Business
    • Lifestyle
    • Technology
    • Culture
    • Social
    • Enviroment
    • Sport
  • Good
    • Good Business
    • Good Product
    • Good Society
  • Hero
  • Interview
  • Original
    • The Persona
    • Thai Treasure
  • Writer
    • Homeland
    • On this day
  • About us
The PublisherThe Publisher
You are at:Home » Blog » ครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
On this day

ครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

06/10/20211 Min Read
Facebook Twitter
เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 หรือ การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการปราบปรามอย่างรุนแรงถึงชีวิตของตำรวจและการลงประชาทัณฑ์ของกำลังกึ่งทหารและคนมุงฝ่ายขวา ต่อนักศึกษาและผู้ประท้วงฝ่ายซ้าย ในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง
 
เป็นการปิดฉากการประท้วง การเดินขบวนและการยึดพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของนักศึกษา กรรมกรและผู้ประท้วงซึ่งต่อต้านการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2519
 
ในวันที่ 6 ตุลาคม ตำรวจใช้อาวุธสงครามปราบปรามการประท้วง ตามด้วยกลุ่มฝ่ายขวาที่ลงประชาทัณฑ์ในลักษณะร่วมมือกับตำรวจ
 
เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ สถิติพบผู้เสียชีวิต 46 คนที่มีการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี และถูกเผา
 
แต่สถิติไม่เป็นทางการจากมูลนิธิป๋วยคาดว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน ภายหลังโครงการบันทึก 6 ตุลา พบว่าหนึ่งใน 41 ผู้ประท้วงนั้นเสียชีวิตหลังจากถูกคุมขัง ทำให้จำนวนผู้ประท้วงเสียชีวิตเป็น 40 คน และ ผู้ก่อการเสียชีวิต 5 คน
 
หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา (พ.ศ. 2516) ทำให้รัฐบาลทหารหมดอำนาจ บ้านเมืองมีบรรยากาศเสรีภาพ และเกิดการเฟื่องฟูของความคิดฝ่ายซ้ายต่าง ๆ ตลอดจนการประท้วงของกรรมกรและชาวนาอยู่เนือง ๆ ร่วมกับความไร้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง
 
กลุ่มฝ่ายขวาต่าง ๆ ซึ่งรู้สึกกังวลกับชัยของคอมมิวนิสต์ในประเทศเพื่อนบ้าน ใช้วิธีการก่อกวนขบวนการฝ่ายซ้ายจนมีผู้เสียชีวิตอยู่หลายโอกาส ขณะเดียวกัน มีฝ่ายกองทัพอย่างน้อยสองฝ่ายพยายามวางแผนให้เกิดรัฐประหารอีกครั้ง
 
โดยฝ่ายหนึ่งใช้วิธีการนำตัว “สามทรราช” กลับประเทศเพื่อหวังให้เกิดสถานการณ์บานปลาย วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 จอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับประเทศ และบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหารโดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จฯ เยี่ยม นักศึกษาปักหลักประท้วงที่สนามหลวง และย้ายไปมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน
 
ในวันที่ 4 ตุลาคม นักศึกษาจัดการแสดงล้อเหตุฆ่าคนงานฝ่ายซ้ายที่จังหวัดนครปฐม วันที่ 5 ตุลาคม มีการตีพิมพ์ข่าวการแสดงดังกล่าว โดยมีสื่อฝ่ายขวาลงว่าบุคคลที่ถูกแขวนคอนั้นมีใบหน้าคล้ายกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เป็นผลให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น ท่ามกลางสื่อฝ่ายขวาที่โหมปลุกความเกลียดชังอยู่ต่อเนื่อง มีผู้ประท้วงอยู่ในมหาวิทยาลัยราว 4,000 คน และมีตำรวจและคนมาล้อมไว้ราว 8,000 คน
 
เหตุการณ์ 6 ตุลาและรัฐประหารเป็นจุดสิ้นสุดของ “ยุคการทดลองประชาธิปไตย” ซึ่งมีอายุไม่ถึงสามปี และกระแสสังคมนิยมเสื่อมลง มีการตั้งรัฐบาลใหม่ที่มี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลมีความคิดขวาจัดและเกิดการกวาดล้างฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรงทำให้บางส่วนหนีไปเข้ากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
 
ทำให้การก่อการกำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น การเมืองต่อจากนี้ไม่มีกระทบผลประโยชน์ของชนชั้นนำอีก ไม่มีกระบวนการสอบสวนความจริงและชดเชยแก่ญาติผู้เสียหายของรัฐ มีแกนนำผู้ประท้วง 19 คนถูกฟ้องฐานพยายามก่อจลาจล แต่สุดท้ายรัฐบาลนิรโทษกรรมในปี 2521 รัฐบาลใช้วิธีการปล่อยให้สังคมลืม
 
เมื่อถึงประมาณพุทธทศวรรษ 2530 มติมหาชนเปลี่ยนมาเห็นใจนักศึกษามากขึ้นแล้วแต่สังคมยังคาดหวังให้เงียบเพื่อความสมานฉันท์ของบ้านเมือ
 
#OnThisDay
#ThePublisher #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม
#picks #Onthisday #ThePublisher
admin
  • Website

Related Posts

UNESCO รับรอง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ-พระยาศรีสุนทรโวหาร ขึ้นเป็นบุคคลสำคัญของโลก

By admin17/11/2021

ต้อนรับเปิดประเทศ !! เยาวชน SEED Thailand ไอเดียสร้างสรรค์ แต่งเพลง “คิดถึงหัวหิน”

By admin01/11/2021

สร้างประวัติศาสตร์นักกีฬาไทยคนแรก พงศกร แปยอ คว้าทองที่ 3 800 เมตรชาย รุ่น T 53 ทำลายสถิติพาราลิมปิก

By admin08/10/2021

สืบ นาคะเสถียร วีรบุรุษผู้ใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่ออนุรักษ์สัตว์ และผื่นป่า

By admin08/10/2021

Leave A Reply Cancel Reply

Demo
Editor Choices

คนไทยรู้หรือไม่ ?เทศกาล กินเจไม่มีในประเทศจีน!เปิดประวัติการถือศิลกินเจในประเทศไทย

Culture 08/10/2021

“ขอให้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรือง สถาพร สืบไป” นักเรียนไทยในจีน โพสต์คลิปอวยพร วันชาติจีน เนื่องในโอกาสครบรอบ 72 ปี ส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน

Culture 07/10/2021

ศาสตร์พระราชา ‘โคกหนองนา’ สุโขทัย รอดพ้นวิกฤติน้ำท่วม จากการจัดการพื้นทึ่ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่

News 06/10/2021

ในหลวง โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง “มูลนิธิภูบดินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์”เป้าหมายพัฒนาความเป็นอยู่ให้กับประชาชน ในเขตพื้นที่ที่ดินของรัฐทุกประเภท

Good Society 06/10/2021
Trendy

การแพทย์สุดก้าวหน้า มนุษย์ไร้หัวใจคนแรกของโลก ดำรงชีพได้แม้ปราศจากชีพจร

Hero 13/01/2022
Facebook Twitter Instagram TikTok

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

The publisher ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ทําความเข้าใจ นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว อ่านเพิ่มเติม
ปฎิเสธ ตั้งค่าคุกกี้ ยอมรับ
Manage consent

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ที่จําเป็น
Always Enabled
คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
CookieDescription
cookielawinfo-checkbox-analyticsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functionalThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessaryThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-othersThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performanceThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policyThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo