Browsing: Issues

“ยืนงงในดงทุจริต” เมื่อกระบวนการยุติธรรมเปิดช่องให้โกงแล้วรอด ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง 26 โครงการ มูลค่ากว่า 81 ล้านบาท ศาลสั่งจำคุก 50 ปี…แต่ให้รอลงอาญา! นี่คือความจริงของระบบยุติธรรมไทยที่ทำให้หลายคนต้องตั้งคำถามว่า แบบนี้จะไม่เป็นการเปิดช่องให้คนโกงกล้าทุจริตกันมากขึ้นหรือ? คดีทุจริตใหญ่ แต่โทษเบาหวิว ย้อนกลับไปดูเส้นทางของ นายกิตติทัศน์ วิศาลนพศักดิ์ หรือ วัทธิกร…

ในช่วงนี้เราจะเห็นคนดังเดินพาเหรดเข้าคุกกันเป็นแถวจากกรณี “ฉ้อโกง” รวมถึงคนที่มีบทบาทในทางการเมืองแม้ไม่มีตำแหน่งใหญ่โต แต่กลับปรากฏข้อมูลว่า อาจมีการอ้างอำนาจการเมืองไปแสวงหาประโยชน์ ก็เกิดคดีความไม่ต่างกัน เช่นกรณีล่าสุด นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ที่ถูกดีเอสไอแจ้งข้อกล่าวหาฟอกเงิน หลังพบเส้นเงินพันไปถึงบอสพอล และบอสปีเตอร์ ที่น่าสนใจคือการพบเงินในบัญชีมารดาของนายสามารถ มากกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งมีที่มาหลากหลายด้วย ดร.มานะ นิมิตรมงคล…

“เชาว์” ฟันธง “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัตินั่ง ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ แนะฟ้องศาลฯ เอาผิด คกก.คัดเลือก จงใจเลือกคนมีลักษณะต้องห้าม เหตุพ้นตำแหน่งทางการเมืองไม่ถึงหนึ่งปี เชื่อมีคนติดคุก ชี้ “ที่ปรึกษาของนายกฯ” แม้ไม่ใช่ ขรก.การเมือง แต่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นายเชาว์ มีขวด ทนายความ โพสต์…

หลังมีรายงานว่าการประชุมคณะกรรมการคัดเลือก เมื่อวานนี้ (11 พ.ย.67) มีการเคาะชื่อ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ และตั้งนางสาวชุณหจิต สังข์ใหม่ กับนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไปแล้ว เริ่มมีกระแสเคลื่อนไหวในทางกฎหมายว่า นายกิตติรัตน์ มีคุณสมบัติต้องห้าม มิอาจดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติได้ เนื่องจากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและยังพ้นตำแหน่งไม่ถึงหนึ่งปี กรณีเป็นที่ปรึกษาของนายกฯ…

หลังมีการเคลื่อนไหวจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ในการให้นักวิชาการและประชาชนร่วมลงชื่อ คัดค้านการเมืองแทรกแซงแบงก์ชาติ โดยมีประเด็นสำคัญอยู่ที่การแต่งตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ที่ฝ่ายการเมืองเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้คณะกรรมการคัดเลือก โดยมีผู้สนับสนุนมากกว่า 600 คน ยังไม่รวมที่ลงชื่อกับกองทัพธรรมมากกว่า 3 หมื่นคน ล่าสุดมีกลุ่มสนับสนุนนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ว่ามีความรู้ความสามารถ เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติผุดขึ้นมาล่ารายชื่อสู้…

เรียกว่าเป็นช่วงเรียงหน้าชี้แจงประเด็นที่ตอนแรกพวกเขาคิดว่าคงจะซาหายไปเอง แต่ยิ่งปล่อยไว้กลับยิ่งมัดแน่นขึ้นไปอีก นั่นคือกรณีนโยบายรัฐบาลเดินหน้าเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เพื่อนำทรัพยากรใต้ทะเลขึ้นมาใช้ตามวิสัยทัศน์ ทักษิณ ชินวัตร เพราะมันลุกลามผูกโยงไปที่ข้อตกลง หรือ MOU 2544 และไหลเลยไปถึงข้อหาเสี่ยงเสียเกาะกูด จังหวัดตราดกันเลยทีเดียว จึงมีปรากฎการณ์ที่รัฐบาลอยู่เฉยไม่ไหว ต้องจัดขบวนทัพออกมาตอบโต้ข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลเจือสมกับกัมพูชา ใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างตระกูลชินวัตร กับฝ่ายฮุนเซน เพื่อฮุบ-ฮั้วผลประโยชน์ทางทะเล โดยใช้ MOU 2544…

ช้างป่า… สัตว์คู่แผ่นดินไทย ที่บ่อยครั้งต้องเผชิญกับภัยอันตรายจากน้ำมือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการล่า หรือบ่วงแร้ว ที่พรากอิสรภาพ ทำลายชีวิตจนกลายเป็นสัตว์พิการ วันนี้ The Publisher จะพาไปติดตามเรื่องราวของช้างป่า 2 เชือก “พลายขุนเดช” และ “พังฟ้าแจ่ม” ที่ต่างมีจุดเริ่มต้นชีวิตคล้ายกัน คือได้รับบาดเจ็บจากบ่วงแร้ว แต่กลับมีเส้นทางชีวิต และการรักษาที่แตกต่างกัน…

กลายเป็นประเด็นร้อนทันทีเมื่อกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม พร้อมด้วย 4 อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ร่วมลงชื่อคัดค้านการเมืองครอบงำแบงก์ชาติ โดยแสดงความกังวลต่อการเลือกประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบอร์ดแบงก์ชาติ ที่จะคัดเลือกในวันที่ 4 พ.ย.67 เนื่องจากฝ่ายการเมืองมีความพยายามจะส่งคนของตัวเองเข้าไปเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการเมืองระยะสั้น แต่เสี่ยงกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว ที่เมื่อเสียหายแล้วยากที่จะแก้ไข ที่มาที่ไปเรื่องนี้เป็นอย่างไร “รายการเที่ยงเปรี้ยงปร้าง” ได้สัมภาษณ์ รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เล่าให้ฟังถึงความกังวลของกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคมว่า…

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือ CIB ออกแคมเปญรับวันฮาโลวีน โดยระบุ ตุลาหลอน ต้อนรับวันฮาโลวีน เหล่ามิจฉาชีพมักฉวยโอกาสสร้างหลุมพรางหลอกเหยื่อด้วยเลห์เลี่ยมกลอุบายมากมาย แบ่งเป็น 4 ผีคือ ◾️ เพจผีหลอกขายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นชุดเสื้อผ้า ของตกแต่ง หรือ Accessory ต่างๆ ขายราคาถูกในสื่อออนไลน์ มิจฉาชีพยิ่งโผล่มาหลอกให้หลงเชื่อโอนเงิน…

เป็นข้อความและหลักฐานที่นายคำนูน สิทธิสมาน อดีต สว.ได้ค้นคว้าและโพสต์ไว้ในเพจเฟซบุ๊ก รวมถึงฝากให้ The Publisher ร่วมบันทึกไว้ชื่อ “เกาะกูดเป็นของไทยทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” โดยไล่เรียงเริ่มจากระบุเกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1907 และไม่ใช่เพียงตัวเกาะ แต่รวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขต,เขตต่อเนื่อง,เขตเศรษฐกิจจำเพาะ หรือไหล่ทวีปด้วย…