.
ในทุก ๆ วันที่ 30 เมษายนของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็น “วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย” ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภคในปี 2522 ประชาชนในฐานะผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองสิทธิ ให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ถูกหลอก หรือถูกชักจูงด้วยการโฆษณาเกินจริง
.
โดยมีสิทธิดังนี้
สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร โฆษณา ฉลาก คำบรรยายเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องและเพียงพอ
สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าหรือบริการด้วยความสมัครใจ ปราศจากการชักจูงอันไม่เป็นธรรม
สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า หรือบริการ
สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาโดย ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ
สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายเมื่อถูกละเมิด
.
โดย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายด้านสังคมที่กำหนดขึ้นมาเพื่อป้องกันผู้บริโภคจากพฤติกรรมที่ฉ้อฉลอันเกี่ยวเนื่องจากธุรกิจโดยทั่วไป เนื่องจากปัจจุบันนี้ มีการนำความรู้ด้านการโฆษณามานำเสนอขายสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค ซึ่งอาจมีการกล่าวอ้างถึงสรรพคุณของสินค้า หรือบริการที่เกินความเป็นจริง จึงเกิดเป็นการร่างกฎหมายนี้ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างยั่งยืน
.
โดย “ประเทศไทย” ถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน ที่มีสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่ทำหน้าที่ช่วยให้การคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยทำงาน 8 ด้านและอีก 1 คณะทำงาน ได้แก่ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านการขนส่งและยานพาหนะ ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้านบริการสุขภาพ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม และคณะทำงานด้านการศึกษา
.
สำหรับประชาชนผู้ประสบปัญหา ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการสามารถยื่นเรื่องต่อสภาองค์กรของผู้บริโภคได้โดยตรง เพื่อให้ช่วยไกล่เกลี่ยหรือฟ้องคดีแทนผู้บริโภค พร้อมดำเนินการอื่น ๆ จนกว่าจะสิ้นสุด
.
สภาผู้บริโภคเป็นตัวแทนของผู้บริโภคทุกด้าน เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน รวมทั้งเป็นตัวแทนผู้บริโภคในการให้ความคิดเห็น เสนอแนะนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน “เพราะทุกคน คือ ผู้บริโภค”
.
ขอบคุณที่มาข้อมูล : พัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ , กรมประชาสัมพันธ์
#ThePublisherth #สำนักข่าวออนไลน์เพื่อสังคม #OnThisDay #วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย #ในหลวงรัชกาลที่9